ความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Diisablility) คือ สมองคนเหล่านั้นยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หรือสมองได้รับบาดเจ็บ สมองจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติในเรื่องของสติปัญญาและการปรับตัว เมื่อก่อนทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า“ ภาวะปัญญาอ่อน”
ความบกพร่องทางสติปัญญามี 4 ระดับ ดังนี้
- ไม่รุนแรง
- ปานกลาง
- รุนแรง
- รุนแรงมาก
บางครั้งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
- อื่นๆ
- ไม่สามารถระบุได้
ความบกพร่องทางสติปัญญาเกี่ยวข้องกับไอคิวต่ำ และปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวัน และยังอาจมีปัญหาในการพูดสนทนา การปรับตัวเข้าสังคม และอื่นๆ
มีการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่รุนแรงหลังคลอดไม่นาน อย่างไรก็ตามผู้ปกครองก็อาจจะไม่ทราบว่าบุตรหลานมีความบกพร่องทางสติปัญญา จนกว่าจะรู้ว่าไม่สามารถพัฒนาสติปัญญาและร่างกายได้ตามพัฒนาการของเด็กที่ควรเป็น และส่วนมากมักวินิจฉัยพบความบกพร่องทางสติปัญญาเมื่อผู้ป่วยอายุเข้า 18 ปี
สาเหตุ ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ไม่ใช่ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาทุกประเภทที่จะสามารถระบุสาเหตุได้ สาเหตุโดยทั่วไปมีดังนี้
- เด็กได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด เช่น การติดเชื้อ หรือการสัมผัสกับแอลกอฮอล์ ยาหรือสารพิษอื่น ๆ
- เด็กได้รับบาดเจ็บระหว่างการคลอด เช่น การขาดออกซิเจน หรือการคลอดก่อนกำหนด
- ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) หรือโรค Tay-Sachs
- ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม
- สารตะกั่วหรือสารปรอท
- การขาดสารอาหารอย่างรุนแรงหรือปัญหาด้านโภชนาการ
- อาจมีอาการไอกรน โรคหัด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ได้รับบาดเจ็บที่สมอง
อาการ ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
อาการของการบกพร่องทางสติปัญญานั้นมีหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียของเด็ก อาการเหล่านี้ได้แก่
- ความล้มเหลวในพัฒนาการด้านสติปัญญา
- นั่งคลานหรือเดินช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ
- ยากที่จะเรียนรู้การพูดจาให้ชัดเจน
- มีปัญหาความจำ
- ไม่สามารถเข้าใจเหตุ และผล
- ไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล
- พฤติกรรมเด็กไม่สอดคล้องกับอายุจริง
- ไม่มีความสนใจ ใฝ่รู้
- มีปัญหาการเรียนรู้
- มีไอคิวต่ำกว่า 70
- ชีวิตไม่เป็นอิสระ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการสื่อสารดูแลตัวเอง หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
หากบุตรหลานมีความบกพร่องทางสติปัญญา จะมีนิสัยดังต่อไปนี้
- ก้าวร้าว
- ต้องการความช่วยเหลือ
- ออกจากกิจกรรมทางสังคม
- เรียกร้องความสนใจ
- ภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยรุ่น
- ขาดการควบคุมแรงกระตุ้น
- เฉยเมย
- มักจะทำร้ายตัวเอง
- ดื้อรั้น
- ไม่นับถือตนเอง
- ความอดทนต่ำ
- โรคจิต
- ไม่มีสมาธิ
บางคนที่บกพร่องทางสติปัญญาจะมีลักษณะทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจง อาจจะเป็นส่วนสูงที่เตี้ย หรือใบหน้าที่ผิดรูป
การรักษา ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กๆ ที่บกพร่องทางสติปัญญานั้นต้องการคำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้พวกเขารับมือกับความบกพร่องเหล่านี้ได้
ผู้ปกครองจะได้รับแผนการรักษาสำหรับครอบครัวที่เหมาะสมกับเด็กๆ แผนดังกล่าวจะระบุแนวทางการช่วยพัฒนาเด็กๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว
เมื่อเด็กๆ พร้อมที่จะเข้าโรงเรียนการศึกษาเฉพาะทาง แผนการรักษาจะถูกนำมาใช้ เพื่อช่วยให้พวกเขามีความได้รับประโยชน์จากการศึกษาพิเศษนี้
เป้าหมายหลักของการรักษา คือ ช่วยให้เด็กๆ ได้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
- การศึกษา
- การเข้าสังคม
- การใช้ชีวิตประจำวัน
การรักษาประกอบไปด้วย
- พฤติกรรมบำบัด
- กิจกรรมบำบัด
- การให้คำปรึกษา
- ยา