泰国医院的远程医疗

目前,泰国有 2 家医院使用远程医疗提供医疗服务: 奥禄医院 甲米府——依靠泰国通信管理局的电话信号和互联网传输患者信息。美莎良医院 夜丰颂府 – 使用卫星广播系统 两个地点都通过同一个视频会议系统使用,两者都是东道医院。和负责作为客户的卫生站 (现卫生站更名为街道健康促进医院) 远程医疗和私立医院 为私营部门 有许多私立医院已经实施了远程医疗系统。 曼谷医院的远程医疗 最新的是曼谷医院集团,它带来了来自美国的创新 ROBO DOCTOR 或机器人医生。提升医疗潜力 这将开始适用于曼谷医院集团的 4 家医院,即 曼谷医院医疗中心 (索伊研究中心)曼谷芭堤雅医院曼谷医院华欣曼谷医院普吉岛 它最初是作为护理大脑和神经系统疾病患者的试点项目。尤其是中风(Stroke)因为这组疾病,在正确诊断和迅速治疗的情况下,它将帮助患者有机会更快地恢复并恢复到更好的生活质量(6),其中包括来自中心的专家医生团队,来自网络医院的医生团队。包括患者和亲属 能够提问和面对面互动 以及在实时交互中交换治疗信息,这是远程医疗的好处。 三美泰医院远程医疗 Samitivej 虚拟医院就像一个在线医院,提供远程医疗服务,利用技术帮助患者和医疗保健专业人员进行实时对话,旨在为患者提供便利。所有服务均由 Samitivej 的专业医生、护士和多学科团队提供。自 2019 年起成为美国远程医疗协会会员,符合国际服务标准 这些新服务将支持消费者在更加关注健康的新时代的行为。该服务允许患者随时看医生。从去年4月初开始,第一阶段将有10名医生组成的团队,24小时提供医疗建议。预计以500泰铢的价格运行大约需要15分钟。最初估计平均每天会有30-50名游客。 康民医院的远程医疗 康民医院是最早进入这个市场的私立医院之一。它从投资新加坡软件和应用程序开发商iDoctor Pte. Ltd.开始,开始制作应用程序。此应用程序的“Raksa-sick, talk to愈”现已在泰国开放服务。在 Dr. Raksa Co., Ltd. 的运作下,提供由专科医生团队提供的健康咨询服务。服务费分为2种,15分钟语音通话或视频通话300-500泰铢/次,聊天200泰铢/次。 吞武里医院的远程医疗 有计划引入远程医疗系统。该实验是在 Rangsit 和 Prachauthit 地区的 2 家社区医院进行的。建设中 如果成功的话,以后还会继续推广。远程医疗系统将节省流感患者等医疗专业人员的费用。通过这个系统接受治疗的人只需支付700泰铢的治疗费用,而去医院的情况下,费用约为3000泰铢。

4 ชนิด Telemedicine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

ในอนาคตการรักษาทางการ การแพทย์จะเป็นสิ่งที่ง่าย ประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยและแพทย์ที่ไม่จำเป็นจะต้องอยู่แต่ภายในโรงพยาบาลอีกต่อไป การหาหมอผ่านจอ คอมพิวเตอร์ หรือ Telemedicine คือ การที่คนไข้ได้ปรึกษากับแพทย์ทั้งๆ ที่คนไข้อยู่บ้านและแพทย์เองอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง Telemedicine ที่ได้รับความนิยมสูงสุดมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ 1. Teleradiology เป็น Telemedicine ที่นิยมนํามาใช้มากที่สุด โดยการส่งต่อ ภาพถ่ายทางรังสีหรือภาพเอกซเรย์แบบดิจิตอล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อให้แปลผล วินิจฉัย และขอคำปรึกษา 2. Telepathology เป็น Telemedicine ในการส่งภาพชิ้นเนื้อจากกล้องจุลทรรศน์หรือส่งรายงานผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา เพื่อให้แปลผลวินิจฉัยหรือเพื่อขอปรึกษาความเห็นเพิ่มเติม 3. Teledermatology เป็น Telemedicine ในการส่งข้อมูลทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคผิวหนังหรือ ความผิดปกติของผิวหนัง เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังได้ทําการแปลผล วินิจฉัย หรือ เพื่อขอปรึกษาเพิ่มเติม 4. Telepsychiatry เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Telemedicine เพื่อการประเมินทางจิตเวช และการขอปรึกษาผ่านระบบวีดีโอและโทรศัพท์

Telemedicine จะมีผลอย่างไร ต่อ Medical tourism ของไทย

ปัจจุบัน นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) จากภาครัฐทำให้เราได้เห็นชาวต่างชาติหลากหลายสัญชาติเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยไทยมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ได้รับมาตรฐานสากลอย่างมาตรฐาน “คณะกรรมการร่วมรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล (Joint Commission International-JCI)” มากถึง 64 แห่งในปีนี้ ซึ่งถือว่าสูงในลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ประเทศไทยก็ยังมีสินค้าและบริการที่ส่งเสริมสุขภาวะ (Wellness) มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการนวดแผนไทย สปา สินค้าสมุนไพรแปรรูป เป็นต้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสนใจเดินทางเข้ามาใช้บริการ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการรักษาพยาบาลก็ไม่เคยหยุดพัฒนาเพื่อให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้มากยิ่งขึ้น และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากระยะทางที่ห่างไกลกันระหว่างผู้ป่วยและสถานพยาบาล จึงเป็นที่มาของระบบการรักษาทางไกล (Telemedicine) ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ผู้ประกอบการไทยในสาขาที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตอนหน้าพบกับความก้าวหน้าของ Telemedicine ในเยอรมนีซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศต้นแบบที่มีพัฒนาการในเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน และโอกาสในการที่จะต่อยอดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยthansettakij

5 ประโยชน์ของ Telemedicine

การให้บริการ Telemedicine (โทรเวชกรรม) ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และตัวผู้ป่วยเอง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา เรามาดู 5 ประโยชน์ของ Telemedicine กัน ความประหยัดและคุ้มค่า โทรเวชกรรมสามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางไปรับการ รักษาจากแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิค หรือในการปรึกษากับแพทย์เฉพาะด้าน สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องพักในโรงพยาบาล หรืออาจพักในโรงพยาบาล ในระยะเวลาที่สั้ นลง เพราะว่าผู้ป่วยสามารถรับการวินิจฉัยและบําบัด รักษาได้จากทางไกล หรือเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้ว แพทย์สามารถ ตรวจดูอาการได้จากที่พักของผู้ป่วย โดยไม่ต้องอยู่เพื่อดูอาการที่โรงพยาบาล ผู้ให้การบริการสามารถลดค่าใช้จ่ายได้โดยการรวมศูนย์ และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ผู้ชํานาญการ ห้องทดลอง อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพง ลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคคลากรทางการแพทย์ ให้ทันสมัยเนื่อง จากแพทย์ผู้ฝึกสอนสามารถให้การฝึกสอนอบรมแก่บุคคลากรทางการ แพทย์ได้จากทางไกล รวมทั้งแพทย์สามารถเข้าสู่ฐานข้อมูลทางการ แพทย์ได้จากทุกที่ที่ การคมนาคมสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ติดต่อได การฝึกอบรมและให้การศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาโดยรวมของการให้การบริการทางการแพทย์ โดยการรวมศูนย์ของทรัพยากรที่เกี่ยวของทางโทรเวชกรรม เกิดพัฒนาการของ แพทย์เฉพาะด้าน และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จากการใช้ฐานข้อมูลทางการ แพทย์ระหว่างประเทศ จึงทําให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องมีความทันสมัยใน ข้อมูลอยู่เสมอ ประโยชน์ของ Telemedicine สังคมเศรษฐกิจ继续阅读”5继续阅读“5 ประโยชน์ของ Telemedicine”

Telemedicine: ดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยวิกฤต  ระหว่างการส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาล  เจ้าหน้าที่พยาบาลประจำรถพยาบาล ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ถูกต้อง และรวดเร็ว  โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หลายแห่ง จึงได้นำเทคโนโลยี Telemedicine มาใช้เพื่อดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล เทคโนโลยี “การดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลด้วยการควบคุมจากระยะไกล” หรือ Telemedicine คือ การนำเทคโนโลยี มาใช้บริหารจัดการระบบ เปลี่ยนรถพยาบาลธรรมดาให้เป็น “รถพยาบาลอัจฉริยะ” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย โดยรถพยาบาลอัจฉริยะ จะได้รับการติดตั้ง  เครื่องส่งสัญญาณต่างๆ เช่น ความดันโลหิต ค่าออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นหัวใจ  GPS ระบุตำแหน่งรถ และตำแหน่งผู้ป่วย  กล้อง CCTV ติดตามภาพการรักษา   เมื่อรถพยาบาลอัจฉริยะไปรับผู้ป่วยวิกฤต แพทย์ประจำศูนย์สั่งการ สามารถติดตามข้อมูลผู้ป่วยที่ถูกส่งเข้ามา ได้ แบบ Real time  ช่วยให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีก่อนถึงโรงพยาบาล เสมือนมีแพทย์ฉุกเฉินเดินทางไปในรถด้วย  ประโยชน์ของการนำระบบ Telemedicine มาดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล ประโยชน์ของการนำระบบ“การดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลด้วยการควบคุมจากระยะไกล”  หรือ Telemedicine มาใช้ มีดังนี้  เพิ่มขีดความสามารถของรถพยาบาลระดับสูงให้สามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์ประจำศูนย์สั่งการของโรงพยาบาลได้รู้ข้อมูลผู้ป่วยแบบ Real time ทำให้มีการรักษาอย่างถูกจุด ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ช่วยลดอัตราตายและพิการได้ทางโรงพยาบาลได้ทราบข้อมูล ตำแหน่งของรถพยาบาลระหว่างปฏิบัติภารกิจ ทำให้สามารถควบคุมเส้นทาง继续阅读”Telemedicine:继续阅读“Telemedicine: ดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล”

Telemedicine: เร่งปฏิรูประบบสาธารณสุข

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อดีต รองประธาน กสทช. จากการที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล และปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข โดยนายอนุทิน ได้มอบหมายให้พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และยังควบตำแหน่งโฆษกของพรรคอีกด้วย ให้ช่วยงานผลักดันนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข คือ การปฏิรูประบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine มาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงาน พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขถือว่า เป็นแหล่งรวบรวมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็นผู้ช่วยชีวิตผู้คนและเป็นวีรบุรุษที่เสียสละ และต้องทำการตอบสนองผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา แต่ในปัจจุบันในประเทศไทยและในหลายๆประเทศทั่วโลก ล้วนประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยต่อแพทย์มากเกินไป ทำให้แพทย์มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาต้องใช้เวลารอคอยเป็นเวลานานหลายชั่วโมง และแพทย์เองก็อาจมีความเสี่ยงที่จะตัดสินใจผิดพลาด เนื่องจากความเหนื่อยล้า พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต่อจำนวนประชากร 439 คน แต่ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต่อจำนวนประชากร 2,065继续阅读”Telemedicine:继续阅读“Telemedicine: เร่งปฏิรูประบบสาธารณสุข”

Telemedicine: แพทยสภาเตรียมออกคู่มือชี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยผู้ป่วย

แพทยสภาแจงระหว่างที่กำลังเตรียมออกคู่มือและแนวทางการให้คำปรึกษาทางไกล รวมถึงปรับปรุงกฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องการให้บริการโทรเวช (Telemedicine) ขอให้แพทย์ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมโครงการให้คำปรึกษาทางไกลต่างๆ โปรดใช้วิจารณญาณด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้ประกาศถึงข้อควรระวังในการให้บริการโทรเวช (Telemedicine) โดยระบุว่า ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ตอบสนอง และโดนใจผู้ใช้งานอย่างมาก ทำให้มีผู้สนใจจำนวนมากหันมาเลือกพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินการทางด้านการแพทย์ ในลักษณะของ โทรเวช หรือ Telemedicine ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งอาจจะช่วยลดปัญหาความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วยในแต่ละวันในสถานพยาบาลของรัฐ ไม่ว่าจะในเขตเมืองหรือต่างจังหวัด ลดเวลาในการเตรียมตัว เดินทาง และรอคอยในการใช้บริการสุขภาพแต่ละครั้ง แนวคิดในการให้บริการทั้งภาครัฐและเอกขน ในบริการโทรเวช จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการที่แพทย์จะมีส่วนร่วมในฐานะผู้ให้บริการ ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย และแพทย์มีความรับผิดชอบเกี่ยวพันกับกฎหมายหลายฉบับ ขณะเดียวกัน แพทย์ที่ดำเนินการทางเวชกรรมผ่านระบบโทรเวช ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการที่มิได้ทำการตรวจผู้ป่วยหรือขอคำปรึกษาโดยตรง ทำให้มีข้อจำกัดของข้อมูลในการให้คำปรึกษาปัญหาในการให้บริการโทรเวชดังกล่าว ถือเป็นความท้าทายของทุกประเทศที่ใช้ระบบโทรเวช แพทยสภาได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากต่อการเข้าใจผิดจากการสื่อสารที่มีข้อจำกัด ในการให้คำปรึกษาทางไกล จึงได้แต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการใช้สื่อสารสนเทศทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้มีความปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดกับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้รับบริการหรือผู้ป่วย แต่เนื่องจากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลากหลาย และมีหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานทำให้ต้องใช้เวลาในการพิจารณาเพื่อความรอบคอบ ในระหว่างที่แพทยสภากำลังจัดทำคู่มือและแนวทางการให้คำปรึกษาทางไกล รวมถึงปรับปรุงกฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จึงขอให้แพทย์ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมโครงการให้คำปรึกษาทางไกลต่างๆ โปรดใช้วิจารณญาณด้วยความรอบคอบ

โรงพยาบาลกรุงเทพ: การนำ Telemedicine นวัตกรรมหุ่นยนต์มาใช้

การนำ Telemedicine นวัตกรรมหุ่นยนต์โทรเวชกรรม เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลกรุงเทพว่า “โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลชั้นนำ ที่ให้บริการโดยอาศัยหลัก “Advanced and Caring” คือ ความก้าวหน้าในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานสูงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย กอปรกับความห่วงใยในการรักษาเพื่อดูแลผู้รับบริการดุจญาติมิตร เล็งเห็นว่าการเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงทีมีผลดีต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ที่ต้องได้รับการรักษาหลังจากเกิดอาการภายใน 3 ชั่วโมง ROBODOCTOR คืออะไร จึงได้นำเทคโนโลยี ROBODOCTOR : Remote Presence System จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาช่วยแพทย์ในการรักษาคนไข้ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลทางการแพทย์และมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายมลรัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนนาดารวมทั้งเอเซียและยุโรปประเทศต่างๆ อาทิเช่น จีน อินเดีย ไต้หวัน อังกฤษซึ่งจะทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าถึงการรักษาไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายได้ทันท่วงที และมั่นใจถึงความถูกต้อง และแม่นยำในการสื่อสารผ่านระบบ Remote Presence System และด้วยความห่วงใยในทุกรายละเอียดของการรักษาผู้ป่วยด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อันเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการขยายบริการไปสู่ระดับนานาชาติ สอดรับกับนโยบายของประเทศที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้ รูปแบบเทคโนโลยี Telemedicine ที่นำมาใช้ เทคโนโลยีที่ทางโรงพยาบาล นำมาใช้เรียกว่า เทคโนโลยี Remote Presence System继续阅读”โรงพยาบาลกรุงเทพ:继续阅读“โรงพยาบาลกรุงเทพ: การนำ Telemedicine นวัตกรรมหุ่นยนต์มาใช้”