มะเร็งปากมดลูก: ใช้ผ้าอนามันซ้ำทั้งวัน เสี่ยงโรคหรือไม่

หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า หากไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจริงๆ แล้ว การที่เราใช้ผ้าอนามัยแผ่นเดียวซ้ำทั้งวันโดยไม่เปลี่ยน ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกแต่อย่างใด แต่จะทำให้เกิดการอับชื้นและไม่สะอาดกับน้องสาวของเราได้ ดังนั้น ช่วงที่มีประจำเดือน เราควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4-6 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนบ่อยตามปริมาณประจำเดือนที่มี และหากใช้ผ้าอนามัยแบบสอดก็ต้องระวังเรื่องเล็บให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดการขีดข่วนขณะใส่ และไม่แนะนำให้ใช้ในช่วงกลางคืนขณะนอนหลับ เพราะระยะเวลาจะค่อนข้างนานกว่าช่วงกลางวันที่สามารถเปลี่ยนได้บ่อย จึงทำให้เกิดเชื้อโรคได้ง่ายกว่า

ติ่งเนื้อเมือกจมูก: ภูมิแพ้ ไซนัส ปล่อยไว้นานต้องระวัง

เมื่อพูดถึง “ริดสีดวง” เชื่อว่าหลายคนอาจคุ้นเคยกันดีกับก้อนติ่งเนื้อบริเวณทวารหนัก หรือที่เรียกกันว่า ริดสีดวงทวาร แต่รู้หรือไม่? ยังมีอีกหนึ่งบริเวณที่สามารถเกิดริดสีดวงได้ นั่นคือ ริดสีดวงจมูก ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณโพรงจมูกจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเยื่อบุโพรงจมูกหรือโพรงไซนัส เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังเวลานานของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ อาการส่วนใหญ่ที่คุณอาจสังเกตได้ จะรู้สึกแน่นจมูก การรับกลิ่นได้ไม่ดีเท่าที่ควร คัดจมูก คันจมูก จาม น้ำมูกไหลอาจมีลักษณะใส ขุ่นข้น เหนียวสีเหลือง หรือเขียวร่วมด้วย หรือลองสังเกตได้จากก้อนผิดปกติในโพรงจมูก แม้การรักษาริดสีดวงจมูกจะสามารถผ่าตัดได้ แต่โอกาสกลับมาเป็นซ้ำก็มีอีก หากคุณยังปล่อยให้อาการภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบเกิดขึ้น ดังนั้นหากไม่อยากเป็นซ้ำจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่นฝุ่น ควัน หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้คุณเกิดการระคายเคือง รักษาสุขภาพให้แข็งแรงไม่ให้เป็นหวัด เพื่อหยุดการโตของริดสีดวงนั่นเอง

COVID-19: อย. ย้ำ การขึ้นทะเบียนชุดตรวจคัดกรองโควิด 19 เป็นไปตามมาตรฐานสากล

อย. ยืนยัน การพิจารณาขึ้นทะเบียนชุดตรวจโควิด 19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งการพิจารณาเอกสาร และผลทดสอบจริงในห้องปฏิบัติการโดยสภาเทคนิคการแพทย์ รวมถึงเฝ้าระวังติดตามผลการใช้จริงหลังการจำหน่าย ล่าสุด อย. อนุมัติชุดตรวจแล้ว 17 รายการ นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีชุดตรวจ โควิด 19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเองบางยี่ห้อได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. แต่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า กระบวนการในการอนุมัติขึ้นทะเบียนชุดตรวจโควิด 19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเองในประเทศไทยขณะนี้อยู่ภายใต้ภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึง โดยในการพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ซึ่งในต่างประเทศที่มีการอนุมัติให้จำหน่ายชุดตรวจด้วยตนเอง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์การอนามัยโลก จะประเมินโดยการพิจารณาจากเอกสาร สำหรับการดำเนินงานของ อย. จะพิจารณาจากเอกสารและผลทดสอบจริงทางห้องปฏิบัติการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากสภาเทคนิคการแพทย์เป็นผู้ประเมิน นอกจากนี้ ยังดำเนินการ   เฝ้าระวังและติดตามผลการใช้จริงหลังการจำหน่ายอีกด้วย ทั้งนี้ ชุดตรวจโควิด 19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง เป็นชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น ความแม่นยำจะไม่เทียบเท่าการตรวจแบบมาตรฐาน RT-PCR ซึ่งเป็นการตรวจยืนยัน  ถ้ามีเชื้อจำนวนไม่มากหรืออยู่ในช่วงการติดเชื้อระยะแรก ผลที่ได้อาจเป็นลบ ดังนั้นContinue reading "COVID-19: อย. ย้ำ การขึ้นทะเบียนชุดตรวจคัดกรองโควิด 19 เป็นไปตามมาตรฐานสากล"

COVID-19: สถานการณ์เตียงผู้ป่วยโควิด19 แยกตามเขตสุขภาพ

สถานการณ์เตียงแยกตามเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จากเตียงทั่วไปปรับเป็นเตียงผู้ป่วยโควิดรวม 175,000 เตียง ในภูมิภาค 135,000 เตียง ในกทม. 40,000 เตียง อัตราการใช้ 80% กทม.ใช้เกือบ 90% แม้อาจมีเตียงเหลือ แต่จำนวนที่เหลือกับผู้ติดเชื้อใหม่แต่ละวันก็ไม่เพียงพอ จึงต้องใช้แนวทางการรักษาที่บ้านและชุมชน เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 ก.ค. 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เดิมระบบสาธารณสุขมีเตียงดูแลผู้ป่วยทั่วไปประมาณ 1 แสนเตียง เมื่อมีโควิด19 ได้ทำเตียงเป็นเตียงผู้ป่วยโควิด ปัจจุบันในภูมิภาคทำเตียงขึ้นมารองรับผู้ป่วยโควิด 135,000 เตียง ในกทม. 40,000 เตียง ทั่วประเทศประมาณ 175,000 เตียง ซึ่งขณะนี้อัตราการใช้เตียงทั้งหมดประมาณ 80 % พื้นที่กทม.ใช้เกือบ 90 % ต่างจังหวัดใช้เกือบ 80 % จะเห็นว่าอาจจะมีเตียงเหลือแต่จำนวนที่เหลือกับผู้ติดเชื้อใหม่เข้าไปแต่ละวันก็ไม่พอเพียง จะมีผู้ติดเชื้อไม่มีเตียงรองรับContinue reading "COVID-19: สถานการณ์เตียงผู้ป่วยโควิด19 แยกตามเขตสุขภาพ"

COVID-19: ไฟเขียวออก “วัคซีนพาสปอร์ต” รูปแบบดิจิทัล พ.ย. นี้ – ลดวันกักตัวเข้าไทย 14 วันเหลือ 10 วัน

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบร่างประกาศปรับปรุงการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพิ่มรูปแบบเอกสารดิจิทัล อัตรา 50 บาทต่อครั้ง คาดรูปแบบดิจิทัลเริ่มได้ภายใน พ.ย. ส่วนแบบเล่มดำเนินการแล้ว 4 หมื่นราย พร้อมเห็นชอบปรับนิยามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเดินทางโดยเครื่องบิน เป็นผู้นั่งติดกับผู้ติดเชื้อ ไม่สวมหน้ากากนานกว่า 5 นาที ให้ลดกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน ขณะที่ ครม.เห็นชอบนำเข้ายาโมลนูพิราเวียร์ เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 10/2564 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่องการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 พ.ศ. ... ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงแก้ไขจากประกาศเดิมที่กำหนดรูปแบบเป็นเอกสารเล่ม โดยฉบับนี้จะเพิ่มในส่วนของวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัล เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือรับรองในอัตรา 50 บาทต่อเล่มหรือต่อครั้ง มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนนั้น ขณะนี้มีหน่วยงานให้บริการออกหนังสือรับรอง 102Continue reading "COVID-19: ไฟเขียวออก “วัคซีนพาสปอร์ต” รูปแบบดิจิทัล พ.ย. นี้ – ลดวันกักตัวเข้าไทย 14 วันเหลือ 10 วัน"

COVID-19: สมาคมรพ.เอกชน เชื่อจบดราม่าวัคซีน “โมเดอร์นา” หลังจัดส่งให้ไทยภายใน 5 พ.ย.

นายกสมาคมรพ.เอกชน คาดจบดราม่าวัคซีน “โมเดอร์นา” หากจัดส่งได้ตามแผนที่ทางซิลลิคฯ แถลงเริ่ม 5.6 แสนโดสภายใน 5 พ.ย.นี้ จากนั้นทยอยส่งตามจำนวนการสั่งซื้อ ตามที่บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา แถลงการณ์จัดส่งวัคซีนโมเดอร์นา 560,000 โดส ถึงไทยไม่เกินวันที่ 5 พ.ย.2564 โดยยืนยันภาพรวมจัดส่งวัคซีนรวม 1.9 ล้านโดสให้ประเทศไทยภายในไตรมาสสี่ของปี 64 แน่นอน ส่วนที่เหลืออีก 6.8 ล้านโดส ที่ลงนามกับ อภ. จะจัดส่งในไตรมาสแรกของปี 65 นั้น ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2564 นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าว ว่า วัคซีนดังกล่าวเท่าที่ทราบ คาดว่าจะเข้ามาถึงไทยก่อนวันที่ 5 พ.ย. แบบทยอยเข้ามา จากนั้นก็จะกระจายให้กับโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงสภากาชาดไทยอย่างเท่าเทียม อย่างไรก็ตาม วัคซีนโมเดอร์น่า อีก 1.9 ล้านโดส ก็จะมาประมาณเดือน ธ.ค. รวมกับล็อตนี้ก็จะมีวัคซีนโมเดอร์นาจำนวนContinue reading "COVID-19: สมาคมรพ.เอกชน เชื่อจบดราม่าวัคซีน “โมเดอร์นา” หลังจัดส่งให้ไทยภายใน 5 พ.ย."

COVID-19: ผลสำรวจประชาชนห่วงเปิดประเทศ 92.4% หวั่นเกิดระบาดระลอกใหม่

กรมอนามัยเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการเปิดประเทศ พบกังวล 92.4% เรื่องที่กังวลมากที่สุด คือ หวั่นเกิดระบาดระลอกใหม่ถึง 75.8% รองลงมากลัวการ์ดตก ไม่ป้องกันตนเอง และสถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 27 ต.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19ของกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลง “มาตรการUP เปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ”ว่า กรมอนามัยได้ทำความสำรวจความคิดเห็นของประชาชนหรืออนามัยโพลล์ เรื่อง “ความกังวล กับการเปิดเมือง เปิดประเทศ เริ่ม 1 พ.ย.2564” ระหว่างวันที่ 14-25 ต.ค.2564 ในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด พบว่า มีความกังวล 92.4% เรื่องที่กังวลมากที่สุด ได้แก่ เกิดการระบาดระลอกใหม่ 75.8 % รองลงมา ประชาชนการ์ดตกและไม่ป้องกันตนเอง 49.7 % สถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดContinue reading "COVID-19: ผลสำรวจประชาชนห่วงเปิดประเทศ 92.4% หวั่นเกิดระบาดระลอกใหม่"

สายตาสั้น: เทียม โรคที่มาพร้อมกับยุคโซเซียลมีเดีย

รพ.เมตตาฯ เตือน ‘ภาวะโรคสายตาสั้นเทียม’ อันตรายจากฤติกรรม ในโลกยุค social media ส่งผลให้มีการกระตุ้นการทำงานของดวงตาเป็นระยะเวลานาน สาเหตุของโรคที่ไม่ควรละเลย กรมการแพทย์โดยรพ.เมตตาฯ เตือนในโลกยุค social media คนไทยใช้เวลาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงสิ่งบันเทิงการซื้อของออนไลน์เฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 9 ชั่วโมง พฤติกรรมเช่นนี้ ส่งผลให้มีการกระตุ้นการทำงานของดวงตาเป็นระยะเวลานาน อาจมีอาการตามัวบางขณะ มีอาการปวดตา อาจกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ลักษณะนี้อาจเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์เรียกว่า  ‘ภาวะสายตาสั้นเทียม’  การพบจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรักษาเพื่อดูแลสุขภาพตา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคภาวะสายตาสั้นเทียมพบมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมในการใช้ social media ทางสมาร์ทโฟน แท็บเลต การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ใช้สายตาในการเพ่ง หรือจ้องที่มากเกินไป มีผลกระทบต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อในตาอย่างมาก ก่อให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็นได้โดยมีอาการมองไม่ชัดค่อนข้างจะทันที หลังจากการใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานาน ซึ่งจะมีอาการเป็นชั่วคราวในรายที่มีอาการมากอาจปวดตา ปวดหัว บางครั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ในรายที่เป็นมาก อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ร้ายแรงได้ ในกรณีเช่นนี้ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษา รับคำแนะนำการดูแลดวงตาที่ถูกต้อง นายแพทย์เกรียงไกร  นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันและการดูแลโรคภาวะสายตาสั้นเทียมนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยหลังการทำงานใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนในระยะใกล้เป็นเวลาต่อเนื่องนานเกิน 30Continue reading "สายตาสั้น: เทียม โรคที่มาพร้อมกับยุคโซเซียลมีเดีย"

ไซนัสอักเสบ: ไม่ธรรมดา ทำตาบอดได้

ไซนัสอักเสบ มีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและอันตรายมากหากปล่อยทิ้งไว้ เพราะไซนัสบางชนิดสามารถลุกลามไปสู่ลูกตาจนถึงขั้นทำให้ตาบอดได้! หรืออีกกรณีหนึ่ง เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบจากหน้าผากลามเข้าไปทำให้เกิดฝีในสมอง ซึ่งก็อันตรายเช่นกัน โดยปกติแล้วโรคไซนัสอักเสบมักไม่ค่อยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ส่วนใหญ่รักษาด้วยการใช้ยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ก็อาการดีขึ้นได้ แต่ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น ป่วยเป็นโรคเบาหวาน คนที่เคยผ่าตัดแล้วต้องกินยากดภูมิคุ้มกันไว้ คนที่มีโครงสร้างในจมูกไม่ดี อย่างการมีผนังจมูกคด มีเนื้องอก มีริดสีดวงในจมูกไปอุดตันช่องระบายอากาศของโพรงไซนัส เหล่านี้ก็อาจทำให้การรักษาตามวิธีปกติไม่ค่อยได้ผล

Probiotic: ดูแลสุขภาพลำไส้ เพราะนี่คือสมองที่สองของร่างกาย

รู้หรือไม่? “ลำไส้” เปรียบเสมือน สมองที่สองของร่างกาย เพราะมีระบบสั่งการประสาทอัติโนมัติเป็นของตัวเอง (Enteric Nervous System) อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย ดังนั้นถ้าอยากให้ลำไส้แข็งแรง ต้องเติมจุลินทรีย์ตัวดีที่เป็นมิตรกับลำไส้อย่าง “Probiotic” ที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ปรับสมดุลลำไส้ให้เป็นปกติ นากจากนี้การเติมจุลินทรีย์ที่ดีให้ร่างกายก็เท่ากับการเติมทหารภูมิคุ้มกัน โดยสายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium สายพันธุ์ Lactobacillus plantarum และ Lactobacillus rhamnosus ยังช่วยลดอาการในทางเดินหายใจได้ดี ป้องกันโรคภูมิแพ้ มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุล เราสามารถเพิ่มปริมาณ Probioti ในลำไส้ ด้วยอาหารเหล่านี้ เช่น กิมจิ นัตโต๊ะ โยเกิร์ต หรือจะทานเป็น probiotic 10,000 ล้านตัวต่อวันก็ได้เช่นกัน

แค่ขยับ ก็เท่ากับพัฒนาสมอง

“แค่ขยับ ก็เท่ากับออกกำลังกาย” เคยได้ยินกันใช่ไหมคะ? รู้หรือเปล่า คำกล่าวนี้เป็นการพูดถึงร่างกายทุกส่วน รวมถึง “สมอง” ด้วยนะ จากการศึกษาของ Wendy Suzuki ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา ได้สรุปผลการศึกษาจากการออกกำลังกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองว่า แค่คุณออกกำลังกาย ก็จะช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทอย่างโดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) และเพิ่มปริมาณของสมอง ซึ่งจะช่วยให้อารมณ์ดี มีสมาธิ ปฏิกริยาร่างกายตอบสมองไว และยังพัฒนาความทรงจำระยะยาวได้อีกด้วย นอกจากนี้ Karin Rosenkranz รองศาสตราจารย์ University Clinic for Psychiatry and Psychotherapy ยังพบอีกว่า ในกลุ่มคนที่ออกกำลังกายจะมี ความยืดหยุ่นของสมอง หรือ Neuroplasticity ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเด่นชัด แม้จะเป็นเพียงการออกกำลังกายเบาๆ อย่างการเดินขึ้น-บันได หรือการเดินเล่นในสวนสาธารณะ ก็ช่วยให้สมองของเราได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้นแล้ว เพื่อให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ แค่ขยับร่างกายบ่อยๆ นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแขน ขาหรือส่วนต่างๆของร่างกายแล้ว สมองของคุณยังได้ออกกำลังไปด้วย

COVID-19: 3 ข่าวลวงข่าวหลอกเกี่ยวกับวัคซีนชนิด mRNA

หากคุณมีเวลาอยากให้คุณได้อ่านข้อมูลเหล่านี้สักนิด เราจะบอกคุณถึงข้อมูลที่ผิดที่พบบ่อยที่สุด เกี่ยวกับวัคซีนเทคโนโลยี mRNA  อย่าง โมเดอร์นา และ ไฟเซอร์ วัคซีน Comirnaty เป็นวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการไฟเซอร์ของอเมริกาและ BioNTech (ไบโอเอ็นเท็ค) คือบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของเยอรมัน ซึ่งได้รับการอนุมัติใช้ใน 98 ประเทศ และมีประสิทธิภาพถึง 95% ตามผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine : NEJM) ในกรณีของวัคซีน mRNA-1273 Z (ชื่ออย่างเป็นทางการ) ได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการของอเมริกัน วัคซีน โมเดอร์น่า ร่วมกับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้รับการอนุมัติใช้ใน 69 ประเทศและมีประสิทธิภาพ 94.1% ตามผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์  วัคซีนทั้งสองชนิดใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า messenger RNA (mRNA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ล่าสุดที่นำมาผลิตวัคซีนและยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นำไปสู่การเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆContinue reading "COVID-19: 3 ข่าวลวงข่าวหลอกเกี่ยวกับวัคซีนชนิด mRNA"

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย: เช็คให้ชัวร์ ปวดเมื่อยตัวเรื้อรังเป็นแน่นอน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มักมีอาการปวดเมื่อยตามตัว อ่อนแรงในบางที หรือมียกแขนขาไม่ขึ้นอยู่บ่อยๆ อยากให้ลองสังเกตอาการและอย่าวางใจ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณของ #โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรือ โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วตัว แม้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุ 30-40 ปี อาการของโรค คือเจ็บปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและทรมานตลอดเวลา เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง อารมณ์แปรปรวน หรืออาจนอนไม่หลับ ซึ่งมักเริ่มจากการปวดแค่จุดเดียว และพอนานวันเข้าจุดปวดจะค่อยๆกระจายออกไปทั่วร่างกายและมีระยะการปวดเรื้อรังถึง 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งสาเหตุของอาการยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แพทย์ส่วนใหญ่พุ่งความสนใจไปในเรื่องของเซลล์สมองที่รับรู้ด้านความเจ็บปวด ว่าน่าจะมีการทำงานที่มากกว่าปกติ หรือน่าจะมีแนวโน้มจากการส่งต่อทางพันธุกรรม และอีกสาเหตุหนึ่งที่พบในผู้ป่วยหลายๆราย คือ เป็นโรคนี้หลังจากประสบอุบัติเหตุ ได้รับการกระแทกหนักบริเวณร่างกาย หากใครที่พบว่าตัวคุณเองอาจเข้าข่าย แนะนำให้เข้าพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจสาเหตุที่แน่ชัด และทำการรักษาที่เหมาะสมกับอาการต่อไป

เบาหวาน: ในเด็กภัยเงียบที่พ่อแม่ควรสังเกต

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจคาดไม่ถึงว่าเด็กก็เป็นเบาหวาน ได้ โดยเบาหวานที่เกิดขึ้นกับเด็กมักเป็น “เบาหวานชนิด 1” ที่เกิดจากภาวะขาดอินซูลิน เป็นความผิดปกติของยีน ส่งผลให้เซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 ปีโดยผู้ปกครองสามารถสังเกตจากอาการของน้องได้ดังนี้ ปัสสาวะบ่อยดื่มน้ำเยอะน้ำหนักลด แต่กินเก่ง กินจุพลังในการเล่นหรือทำกิจกรรมดูลดน้อยลงบางรายอาจมีลมหายใจกลิ่นคล้ายผลไม้ ซึ่งเกิดจากคีโตนในเลือดสูง ซึ่งหากพบว่าบุตรหลานมีอาการเข้าข่าย ควรเข้าพบแพทย์ทำการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เนื่องจากเด็กที่เป็นเบาหวาน คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจะต้องดูแลในเรื่องของอาหารการกินและยามากเป็นพิเศษ รวมถึงต้องสอนให้เด็กรับมือกับภาวะที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อรู้ทันและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน อย่างอาการน้ำตาลต่ำได้

COVID-19: กทม.จัดบริการ ฉีดวัคซีนถึงบ้าน ด้วยรถ BMV หวังลดความเสี่ยงในกลุ่มชุมชน เริ่ม 10 ก.ย. นี้ 

กทม. จัดบริการใหม่ เปิดตัว รถฉีดวัคซีนถึงบ้าน BMV รองรับผู้มีปัญหาเดินทางไม่สะดวก และหวังลดการะจายเชื้อผ่านการเดินทาง เป้าหมายระยะแรกเน้น ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค-ผู้พิการ วันนี้ (8 ก.ย.64) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหน่วยบริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร (BKK Mobile Vaccination Unit : BMV) โดยมี นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักอนามัย สำนักงานเขตบางพลัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ ณ วัดเทพนารี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ได้เร่งขับเคลื่อนมาตรการป้องกันโรคเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและการลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด ที่ผ่านมานอกจากการเร่งจัดหาสถานที่รักษาพยาบาลให้แก่ประชาชน ด้วยการจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ และให้การดูแลประชาชนที่ทำการแยกกักตัวที่บ้าน การจัดทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนแล้ว กรุงเทพมหานครยังให้ความสำคัญกับการบริการวัคซีนให้แก่ประชาชนให้เร็วที่สุดเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดและให้เกิดความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด ซึ่งกรุงเทพมหานครนำวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรฉีดเชิงรุกในสถานที่เสี่ยง ชุมชน ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกคนอย่างทั่วถึง สำหรับหน่วยบริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร (BKK Mobile VaccinationContinue reading "COVID-19: กทม.จัดบริการ ฉีดวัคซีนถึงบ้าน ด้วยรถ BMV หวังลดความเสี่ยงในกลุ่มชุมชน เริ่ม 10 ก.ย. นี้ "