การตรวจ Human leukocyte antigen (HLA)

การตรวจ Human leukocyte antigen (HLA) เพื่อดูว่าเป็นแอนติเจนกลุ่มใด ซึ่งปรากฏอยู่บนผิวของเซลล์นิวเคลียร์ แต่ตรวจพบง่ายที่สุดที่ลิมโฟไซต์ มี 4 ชนิดได้แก่ HLA – A, HLA – B, HLA – C, และ HLA – D ซึ่งแอนติเจนเหล่านี้มีความจำเป็นต่อ ภูมิคุ้มกันและเป็นตัวกำหนดชี้ระดับของการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ (histocompatibility) ระหว่างผู้บริจาคอวัยวะกับผู้รับอวัยวะที่ปลูกถ่าย แอนติเจนหลายอย่างที่เป็นตัวกำหนดชี้วัด (มากกว่า 60 ยกตัวอย่าง เช่น HLA – B locus) มีแต่ละตำแหน่ง 1 ชุดของแต่ละแอนติเจนรับถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากบิดามารดา

การเกิดได้สูงของ HLA ชนิดที่เฉพาะเจาะจง (specific HLA) ที่เชื่อมต่อกับโรคที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthrtis) โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis) เป็นต้น แต่พบว่าการวินิจฉัยที่ชัดเจนมีน้อย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อหาชนอดของการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อของการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ให้และผู้รับ
  2. เพื่อช่วยให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม
  3. เพื่อช่วยทดสอบความเป็นพ่อ

ผลการตรวจที่เป็นปกติ

การตรวจ HLA – A, HLA – B, และ HLA – C, โดยลิมโฟไซต์ (lymphocyte) ซึ่งถูกทำลายด้วยการทดสอบกับซีรั่มที่มีแอนติบอดีภูมิคุ้มกันโรค (antiserum) ดูจากกล้องจุลทรรศน์ (microscopy) ส่วนการตรวจ HLA – D ซึ่งดูการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อของเม็ดเลือดขาว (leukocyte) สิ่งที่เป็นเครื่องหมายแสดงโดยเซลล์อ่อน (blast formation) การสังเคราะห์ดีเอนเอ (deoxyribonucleic acid; DNA) และมีเซลล์เกิดขึ้นมากมาย (proliferation)

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

การไม่เข้ากันของกลุ่ม HLA – A, HLA – B, HLA – C, และ HLA – D อาจเป็นสาเหตุ ทำให้เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายไม่สำเร็จ

มีหลายโรคที่ร่วมกับชนิดของ HLA อย่างแน่นอน เช่น HLA – DR5 ร่วมกับ โรค Hashimoto’s thyroiditis, B8 และ Dw3 ร่วมกับ Graves’disease ทั้ง ๆ ที่ B8 เพียงอย่างเดียว ร่วมกับ Chronic autoimmune hepatitis, celiac disease และ Myasthenia gravis ส่วน Dw3 เพียงอย่างเดียว ร่วมกับโรคแอดดิสัน, Sjogren’s syndrome, Dermatitis herpetifomis และ Systemic lupus erythematosus

[Total: 0 Average: 0]