เครื่อง ICD หรือ “เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ” เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดฝังในตัวผู้ป่วย ทำหน้าที่ติดตามไปตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนมีแพทย์คอยเฝ้าระวังภาวะหัวใจต้นผิดจังหวะให้ที่บ้าน เมื่อมีการเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้น เครื่องจะรักษาอัตโนมัติ ภายในเวลาไม่กี่วินาที ” โดยปล่อยไฟไปช็อก (กระตุกหัวใจ)” ให้กลับมาเต้นถูกจังหวะ ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นลม หมดสติ หรือ เสียชีวิตฉับพลัน
ตัวเครื่อง (Pulse generator) ประมวลผลคอยสั่งช็อกไฟฟ้าเมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเป็นกล่องเก็บแบตเตอรี่ของเครื่องด้วย
สายไฟ (Lead) วางในหัวใจห้องล่างขวา รับสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ ส่งไปให้เครื่องวิเคราะห์ และ ปล่อยกระแสไฟฟ้า กระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นในจังหวะปกติ
พทย์จะพิจารณาฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวรในผู้ป่วยที่มีประวัติรอดชีวิตจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ(VT/VF) หรือผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนมากแม้จะไม่เคยมีประวัติหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร ประกอบด้วยตัวเครื่องขนาดประมาณ 1ใน3 ของขนาดฝ่ามือ ผ่าตัดฝังบริเวณหน้าอกซ้ายใต้ชั้นไขมัน (บางกรณีอาจจะพิจารณาฝังบริเวณหน้าอกขวา) และตัวสายที่ต่อจากเครื่องจะผ่านเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่บริเวณรักแร้หรือไหปลาร้าเข้าไปฝังปลายสายในผนังหัวใจ ขนาดแผลผ่าตัดประมาณ 4-6 ซม.ถือเป็นการผ่าตัดเล็กใช้ยาระงับปวดทางเส้นเลือดคู่กับยาชาเฉพาะที่ ไม่นิยมการดมยาสลบ มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 5 (เช่น เลือดออกบริเวณแผล, การติดเชื้อ) ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมง และใช้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน
ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ที่ควรใส่เครื่อง ICD
- หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงมาก่อน เช่น VT, VF
- เคยหัวใจหยุดเต้นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ยังหอบเหนื่อยทั้งที่ปรับยาเต็มที่แล้ว + หัวใจบีบตัวไม่ดี (ค่า LVEF ≤ 35%)