สถิติการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากโรงเรียนบ้านคลองบง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 30 มีนาคม 2562 จากนักเรียนตัวอย่างที่มีการสำรวจมีทั้งสิ้น 99 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

  • เด็กอายุ 2-5 ปี เป็นชาย 22 คน และ หญิง 17 คน รวมจำนวน 39 คน
  •  เด็กอายุ 6-9 ปี เป็นชาย 16 คน และ หญิง 15 คน รวมจำนวน 31 คน
  •  เด็กอายุ 10-13 ปี เป็นชาย14 คนและ หญิง 15คน รวมจำนวน 29 คน

จากผลการสำรวจนั้นพบว่า มีเด็กที่เป็นพยาธิเข็มหมุดดังนี้

  • เด็กอายุ 2-5 ปี เป็นชาย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.54 และหญิง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.88 รวม 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.13
  • เด็กอายุ 6-9 ปี เป็นชาย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75 และหญิง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 รวม 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.9
  • เด็กอายุ 10-13 ไม่พบว่าเป็นพยาธิเข็มหมุดเลยแม้แต่คนเดียว

จากการทำวิจัยนี้ จะเห็นว่าเด็กผู้ชายจะมีโอกาสเป็นพยาธิเข็มหมุดมากกว่าเด็กหญิง เพราะอาจจะเด็กชายไม่ได้ใส่ใจในความสะอาดเท่าเด็กหญิง และที่ไม่พบพยาธเข็มหมุดในเด็กอายุ10-13 ปีนั้น ก็เพราะการดูแลรักษาความสะอาดทำได้ดีกว่าเด็ก 2 กลุ่มข้างต้น

การป้องกัน การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด

วิธีการป้องกันการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดไม่ให้กลับไปติดเชื้ออีก นั่นคือการปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะอนามัยและสุขอนามัย และแนะนำให้คนในครอบครัวต้องทำตามเช่นเดียวกัน

คุณสามารถป้องกันการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดด้วยการปฏิบัติตัวดังนี้:

  • ตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเกี่ยวกับเล็บที่ทำให้ติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด การกัดเล็บ หรือการเกา
  • อาบน้ำทุกวันในตอนเช้า เพื่อกำจัดพยาธิเข็มหมุดที่อาจจะสะสมมาข้ามคืน 
  • ล้างมือของคุณด้วยน้ำอุ่นและสบู่ หลังจากเข้าห้องน้ำ ระมัดระวังเรื่องผ้าเช็ดตัว และเปลี่ยนผ้าเช็ดปากให้บ่อย ทำแบบนี้ทุกวันก่อนทำอาหารและกินอาหาร นี่คือการป้องกันการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดที่ดีที่สุด 
  • เปลี่ยนชุดชั้นในและเสื้อผ้าทุกวัน
  • ใช้น้ำอุ่นซักเสื้อผ้าและใช้อากาศร้อนในการอบหรือตากเสื้อผ้า ผ้าห่ม หรือผ้าเช็ดตัวที่อาจมีไข่ของพยาธิเข็มหมุด
  • ทำใหห้องมีแสงสว่างเพียงพอในระหว่างวัน เพราะไข่พยาธิเข็มหมุดจะตายเมื่อเจอกับความร้อน
[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading