หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลโดยเร็ว การตรวจเลือดพบว่า ค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง พบแอนตินิวเคลียร์แฟกเตอร์ (antinuclear factor) และ แอลอีเชลล์ (LE cell)
ตรวจปัสสาวะอาจพบสารไข่ขาวและเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ อาจทำการตรวจเอกซเรย์ คลื่นหัวใจ และตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา ในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจเริ่มให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สติรอยด์ ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ไฮดรอกชีคลอโรควีน (hydroxychloroquine) วันละ 1- 2 เม็ด เพื่อช่วยลดการเหล่านี้
ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์จะให้สติรอยด์ เช่น เพร็ดนิโชโลน ขนาด 8 - 12 เม็ด/วัน ติดต่อกันเป็น สัปดาห์หรือหลายเดือน เพื่อลดการอักเสบของอวัยวะ ต่าง ๆ เมื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลง และให้ในขนาดต่ำ ควบคุมอาหารไปเรื่อย ๆ อาจนานเป็นแรมปีหรือจนกว่า จะเห็นว่าปลอดภัย ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide) อะชาไทโพรีน (azathiooprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตรายอาจทำให้ผมร่วงหรือศีรษะล้านได้ เมื่อหยุดยา ผมจะงอกขึ้นใหม่ได้ นอกจากนี้ อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) ยาปฏิชีวนะ (ถ้ามีการติดเชื้อ) เป็นต้น
ผลการรักษาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ของโรคและตัวผู้ป่วย บางรายอาจมีโรคแทรกซ้อน และ ถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน บางรายอาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้เกิน 5 ปี โรคก็จะไม่กำเริบรุนแรง และค่อย ๆ สงบไปได้ นาน ๆ ครั้งอาจมีอาการกำเริบ แต่อาการมักจะไม่รุนแรง และ ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตเยี่ยงคนปกติได้