การบาดเจ็บที่ศีรษะ

การบาดเจ็บที่ศีรษะ คือ ภาวะที่พบได้บ่อยทั้งใน เด็กและผู้ใหญ่ อาจเป็นเพียงแผลเล็กน้อย หัวโนหรือ ฟกซ้ำหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะร้าว อาจกระทบกระเทือนต่อสมอง สมองฟกซ้ำหรือฉีกขาด หรือหลอดเลือดสมองฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกในสมอง เป็นอันตรายได้

ทั้งนี้ความรุนแรงที่เกิดในสมองนั้นไม่จำเป็นต้องแปรผันตามลักษณะความรุนแรงของบาดแผลที่พบที่หนังศีรษะเสมอไป

สาเหตุ การบาดเจ็บที่ศีรษะ

การบาดเจ็บมักเกิดจากอุบัติเหตุ ที่สำคัญได้แก่อุบัติเหตุจราจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุที่เกิดกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ (พบบ่อยในผู้ชายอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งมักมีพฤติกรรมขับขี่รถขณะมึนเมา และไม่สวมหมวกนิรภัย) นอกจากนี้ยังอายเกิดจากการตกจากที่สูง หกล้มศีรษะกระแทกของเข็ง อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือการทำงาน การทำร้ายร่างกาย ในทารกแรกเกิดก็ อาจมีการบาดเจ็บของศีรษะจากการคลอดยาก เป็นต้น

อาการ การบาดเจ็บที่ศีรษะ

นอกจากบาดแผลหรืออาการฟกซ้ำที่หนังศีรษะแล้ว ผู้ป่วยอาจแสดงอาการได้หลายลักษณะ ขึ้นกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง ดังนี้

  1. สมองได้รับการกระทบกระเทือน (brain concussion)โดยไม่มีการฟกซ้ำหรือฉีกขาดของสมองหรือเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยมักจะมีอาการหมดสติไปเพียงชั่วครู่หนึ่ง (ส่วนใหญ่น้อยกว่า15 นาที แต่บางรายอาจนานเป็นชั่วโมง ๆ แต่จะไม่เกิน 24 ชั่วโมง) เมื่อฟื้นแล้วอาจรู้สึกงุนงง จำเหตุ การณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้  ซึ่งอาจเป็นอยู่เพียงชั่วขณะหรือเป็นวัน ๆ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน หลงลืม ขาดสมาธิ วิตกกังวล หรือซึมเศร้าซึ่งจะค่อย ๆ หายไปได้เองในที่สุด อาจนาน เป็นวัน ๆ ถึงหลายสัปดาห์
  2. สมองฟกซ้ำ (brain contusion) หรือสมองฉีกขาด brain laceration) ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติหลังบาดเจ็บทันที (บางรายอาจเกิดหลังบาดเจ็ด 24-48 ชั่วโมง) อาจหมดสติอยู่นานเป็นชั่วโมง  เป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน อาจมีอาการอัมพาตครึ่งซีก กล้ามเนื้อแข็งแรง ซักถ้าเป็นรุนแรงอาการอาจเลวลงเรื่อย ๆ จนตายได้ ถ้าเป็นรุนแรงผู้ป่วยมักฟื้นคืนสติได้ แต่อาจมีอาการการปวดศีรษะ รู้สึกสับสน เพ้อ เอะอะ คลื่นไส้  อาเจียน แขนขาเป็นอัมพาต ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ อาจมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิมสักระยะหนึ่ง
  3. ก้อนเลือดในกะโหลกศีรษะ (intracranial he-matoma) ถือว่าเป็นภาวะร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้รวดเร็ว ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะอย่างต่อเนื่องและรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ซึมลงเรื่อย ๆ แขนขาเป็นอัมพาต ตัวเกร็ง

บางรายอาจมีอาการหมดสติหลังบาดเจ็บอยู่ครู่ หนึ่งแล้วฟื้นคืนสติได้เองหลังจากนั้นแล้วจึงค่อยเกิดอาการทางสมองดังกล่าวข้างต้น ในรายที่เป็นเฉียบพลัน มักมีอาการเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ในรายที่เป็นก้อนเลือดใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกแบบเรื้อรัง (chronic subdural hematoma) ซึ่งมีเลือด ซึมออกทีละน้อยค่อยๆ สะสมเป็นก้อนโต พบบ่อยในผู้บาดเจ็บที่สูงอายุ หรือดื่มแอลกอฮอล์จัด อาจมีอาการเกิดขึ้นหลังได้รับบาดเจ็บเป็นวัน ๆ เป็นสัปดาห์ ๆ หรือ เป็นเดือน ๆ ก็ได้  แล้วจึงค่อยมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งเป็นถี่และแรงขึ้นทุกที คลื่นไส้ อาเจียน ซึม บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง แขนขาอ่อนแรง  หรือชักแบบโรคลมชัก

ในทารก มักจะมีอาการร้องเสียงแหลม ซึม อาเจียน ชัก แขนขาอ่อนแรง กระหม่อมโป่งตึง ถ้าพบในทารกแรกเกิด  มักมีประวัติคลอดยาก หรือศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนระหว่างคลอด

การป้องกัน การบาดเจ็บที่ศีรษะ

ที่สำคัญคือการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้ศีรษะได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจราจร ด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนหรือขณะขับขี่รถ การคาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกนิรภัย และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

  1. ผู้ป่วยบางรายแม้จะไม่มีความผิดปกติทางสมองแต่ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ บ้านหมุน หลังได้รับบาดเจ็บอยู่สักระยะหนึ่ง หรืออาจมีอาการชักแบบโรคลมชักได้ บางรายอาจมีอาการวิงเวียน เห็นบ้านหมุน เนื่อง จากหูชั้นในได้รับการกระทบกระเทือน (labyrinthe concussion) ซึ่งจะค่อยๆ ทุเลาลงภายในหลายวัน (บางรายอาจนานเป็นเดือนหรือนานกว่าเดือน) และบางรายก็ อาจมีภาวะบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า แบบเรื้อรังได้
  2. ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการผิดปกติตั้งแต่แรกแต่ก็อาจปรากฏอาการหลังบาดเจ็บนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือ เป็นเดือน ๆ จนอาจทำประวัติการได้รับบาดเจ็บของศีรษะไม่ได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ) ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง เช่น ปวดศีรษะแรงและถี่ขึ้นทุกวัน (ทำอย่างไรก็ไม่ทุเลา) อาเจียนอย่างรุนแรง แขนขาอ่อน แรงหรือชัก ก็ควรจะนึกถึงการมีก้อนเลือดใต้เยื่อหุ้ม สมอชั้นนอกแบบเรื้อรังไว้ด้วย
  3. ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะทุกราย  แม้จะไม่มี  บาดแผลให้เห็น หรือมีเพียงบาดแผลเล็กน้อยที่ศีรษะ หรือรู้สึกสบายดีตั้งแต่แรก ก็ไม่ควรชะล่าใจว่าไม่เป็นไร ควรเฝ้าสังเกตอาการทางสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกถ้าสงสัยควรแนะนำไปโรงพยาบาลด่วน
  4. ผู้ป่วยที่มีก้อนเลือดในสมองบางรายหลังผ่าตัด  สมองจนปลอดภัยและร่างกายฟื้นตัวได้ดี อาจมีโรค ลมชักแทรกซ้อนตามมา ซึ่งจำเป็นต้องกินยากันชักควบคุมอาการ

การรักษา การบาดเจ็บที่ศีรษะ

  1. ถ้ามีอาการทางสมอง เช่น หมดสติ ปลุกไม่ค่อยตื่น ซึม ปวดศีรษะมากขึ้นทุกขณะ อาเจียนรุนแรง คอ แข็ง เพ้อครั่ง ชัก บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง แขนขาอ่อน แรง รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือมีเลือดหรือน้ำใส่ ๆ ออกจากจมูก ปาก หรือหู เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ส่งโรงพยาบาลด่วนอาจต้องถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  และถ้าจำเป็นอาจ ต้องทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าตรวจพบว่ามีเลือดออกในสมอง มักจะต้องทำการผ่าตัดสมองทันที ในรายที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด (เช่น ผู้ป่วยที่มีก้อนเลือดในสมองขนาดเล็ก) หรือในรายที่ผ่าตัดไม่ได้ (เช่น สมองฟกซ้ำหรือฉีกขาด)ก็จะให้การรักษาแบบประคับประคอง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ฟื้นฟูสภาพด้วย การทกายภาพบำบัด            
  2. ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดี และไม่มีอาการผิดปรกติ 2-4 ชั่วโมง ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีประวัติหมดสติหลังบาดเจ็บหรือไม่ก็ตาม ถ้าพบมีอาการทางสมองอย่างใดอย่างหนึ่งแทรกซ้อนตามมาภายหลัง ให้ส่งโรงพยาบาลด่วน ผลการรักษาขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรง  พวกที่มีเพียงการกระทบกระเทือนของสมองมักจะหายได้รวดเร็ว พวกที่มีภาวะสมองฟกซ้ำหรือฉีกขาดมีอันตรายตายถึง ร้อยละ 40-50 พวกที่มีเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hematoma) มักเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว พวกที่มีก้อนเลือดเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (epidural hematoma) หรือมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (subdural hematoma) ซึ่งมีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน และถ้าได้รับการผ่าตัดทันทีก็อาจหายเป็นปกติหรือลดความรุนแรงของความผิดปกติของสมองลงได้
[Total: 8 Average: 5]