ฝี

ฝี  เป็นการอักเสบของต่อมไขมันและขุมขน พบได้บ่อยในคนทุกวัย ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือกินสตีรอยด์ เป็นประจำอาจเป็นฝีได้บ่อย

ส่วนใหญ่มักขึ้นเพียงหัวเดียว บางรายอาจขึ้นหลายหัวติดๆ กัน เรียกว่า ฝีฝักบัว (carbuncles) 

ประเภท ฝี

สาเหตุ ฝี

 เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกกลุ่มสแตฟีโลค็อกคัส อาจติดต่อโดยการสัมผัสถูกผู้ป่วยโดยตรง

อาการ ฝี

มักจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือก้อนบวมแดงและปวดกด ถูกเจ็บ มีผมหรือขนอยู่ตรงกลาง ขึ้นใหม่ๆ จะมีลักษณะแข็งตุ่มนี้จะขยายโตขึ้นและเจ็บมาก ต่อมาค่อยๆ นุ่มลงและกลัดหนอง บาครั้งเมื่อฝีเป่งมากๆ อาจแตกเองได้ (หลังฝีขึ้นไม่กี่วัน หรือ1-2 สัปดาห์) แล้วอาการ เจ็บปวดจะทุเลา

บางครั้งอาจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงอักเสบด้วย เช่น ถ้าเป็นฝีที่เท้า อาจมีไข่ดัน (ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ) บวมและปวด ถ้าเป็นที่มือ ก็อาจมีการอักเสบ ของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้เป็นต้น

ในรายที่เป็นฝีฝักบัว อาจมีไข้ อ่อนเพลียร่วมด้วย ในรายที่เป็นฝีหัวเดียว อาการทั่วไปมักเป็นปกติ เมื่อหายแล้ว มักเป็นแผลเป็น

การป้องกัน ฝี

  1. ถ้าเป็นฝีบ่อยๆ อาจมีภูมิคุ้มกันต่ำเนื่องจากขาดอาหาร โลหิตจาง เป็นเบาหวาน  เอดส์  หรือกินสตรีรอยด์ นาน ๆ ควรตรวจหาสาเหตุ และให้การดูแลรักษาโรค ที่เป็นสาเหตุ เช่น ควรตรวจปัสสาวะ ถ้าพบมีน้ำตาล ก็อาจเป็นเบาหวานควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
  2. อย่าบีบหัวฝี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขึ้นตรงกลางใบหน้า  
  3. ควรป้องกันการเกิดฝี โดยการอาบน้ำฟอกสบู่วันละ 2 ครั้งและกินอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำ
  4. ผู้ป่วยที่เป็นเมลิออยโดซิส อาจแสดงอาการของการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น ตุ่มนูน ตุ่มหนองฝี แผลอักเสบ แผลเรื้อรัง เป็นต้น ถ้าให้การรักษา แล้วไม่ได้ผล หรือสงสัยเป็นเมลิออยโดซิส (เช่น พบในคนอีสานที่เป็นเบาหวาน) ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

การรักษา ฝี

  • ใช้ผ้าวุบน้ำอุ่นจัดๆ (ขนาดที่พอทนได้ อย่าร้อนจัด) ประคบวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที
  • ให้ยาแก้ปวดลดไข้
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เช่นไดคล็อกซาซิลลิน โซโพรฟล็อกซาซิน โคอะม็อกซิคลาฟ หรือ อีริโทรไมซิน นาน 5 -7 วัน
  • ถ้าฝีสุก (ฝีนุ่มเต็มที่) อาจใช้เข็มเจาะดูด หรือ ผ่าระบายหนองออก พร้อมกับใส่ผ้าเป็นหมุดระบายหนอง ชะล้างแผลและเปลี่ยนหมุดทุกวัน จนกระทั้งแผลตื้น
  • ถ้าเป็นฝีรอบทวารหนัก ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อผ่าระบายหนองออก
[Total: 0 Average: 0]