การเสียชีวิตจากการดื่มสุรา ลาลาเบล

Alcohol intoxication การเสียชีวิตจากการดื่มสุรา คือ

“Alcohol intoxication” คือ ชื่อทางการแพทย์ที่ใช้เรียกการเสียชีวิตจากการดื่มสุรา ถือเป็นพิษภัยร้ายแรงที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ เหล้าทุกหยดที่ดื่ม..จะส่งผลกระทบอะไรต่อสุขภาพเราบ้าง ชนิดของแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มกันมากที่สุดทั่วโลกนั้น เครื่องดื่มจำพวกสุรากลั่นครองส่วนแบ่งสูงสุดที่ 45% ตามมาด้วยเบียร์ที่ 34% และไวน์ที่เกือบ 12%

ปริมาณสุรา (แอลกอฮอล์) ที่เข้าสู่ร่างกาย (มก. %) กับผลที่ตามมา

30 มก. %

สนุกสนานร่าเริง ความยับยั่งชั่งใจลดลง

50 มก. %

การมองเห็นลดลง ความสามารถในการควบคุมรางกายช้าลง

100 มก. %

คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ พูดไม่รู้เรื่อง การตอบสนองและตัดสินใจช้าลง

200 มก. %

สูญเสียความทรงจำบางส่วน เศร้า อารมณ์สูญเสียง่าย

300 มก. %

มองไม่ชัด มึนงง ควบคุมสติไม่ได้ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก

400 มก. %

ตาพร่า ขาดสติโดยสมบูรณ์ หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิต

สุราทำร้ายร่างกายอย่างไรบ้าง

  • หัวใจ: ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้น ดื่มต่อเนื่องนานหลายปี เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  • ตับ: ไขมันพอกตับ ทำให้ตับโต ตับอ้วน บางรายตับอักเสบ นำไปสู่มะเร็งตับ
  • ไต: ทำงานหนัก ทำให้เกิดไตวาย
  • สมอง: เซลล์สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม การทำงานของระบบประสาทลดลง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • ช่องท้อง (กระเพาะอาหาร): ปวดท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หากอักเสบรุนแรงอาจจะอาเจียนเป็นเลือด คนที่ได้ดื่มเป็นเวลาต่อเนื่องมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า 3 เท่าของคนไม่ดื่ม
  • กระเพาะปัสสาวะ: กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเสียชีวิตจากการดื่มสุรา คือ

ปริมาณสุรา (แอลกอฮอล์)สำหรับผู้ขับขี่

ตามกฎหมายต้องไม่เกิน 50 มก %

  • สุรา 3 ฝา (ฝาล่ะ 10 มล.)
  • เบียร์ 1 กระป๋อง (330 มล.)
  • ไวน์ ครึ่งแก้ว (150 มล.)

โทษของการดื่มสุรา (แอลกอฮอล์) ต่อสังคม

  1. อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ 
  2. การทะเลาะวิวาท
  3. ฆาตกรรม 
  4. การฆ่าตัวตาย

สัญญานเตือนภาวะสุราเป็นพิษ

  • เกิดอาการจิตสับสน
  • พูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างหนัก
  • การทำงานประสานกันของอวัยวะบกพร่อง
  • อาเจียน
  • จังหวะการหายใจผิดปกติหรือหายใจช้าลง
  • ตัวเย็นผิดปกติจนทำให้ผิวหนังซีดหรือกลายเป็นสีม่วง
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
  • เกิดภาวะกึ่งโคม่า ซึ่งยังรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองการรับรู้ได

ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย แตกต่างกับขึ้นอยู่กับ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก ส่วนในรายของลาลาเบล มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายสูงถึง 418 มก. %

Health ME NOW

cr. Mahidol Channel

[Total: 3 Average: 4.7]

Leave a Reply