ลูกตาเข ตาเหล่…อย่าพึ่งตกใจ

ข่าวสุขภาพ อัพเดต สาธาณสุข

ลูกฉันมองอะไร ทำไมตอนพูดไม่มองตากัน… 🙄 คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจตกใจที่เห็นลูกตาเข ตาเหล่ แต่อย่าเพิ่งกังวลไปล่ะ เพราะสามารถรักษาได้! แต่ทั้งนี้โรคตาเหล่ ตาเข ในเด็กก็มีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความผิดปกติแตกต่างกันไป วันนี้พวกเราเลยนำข้อมูลมาให้ดูกันว่าอาการตาเข ตาเหล่เป็นยังไง และสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

☝️ ต้องบอกก่อนว่าตาเข ตาเหล่ เกิดขึ้นเนื่องจากตาไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ เนื่องมาจากการมีภาวะผิดปกติที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลูกตาทั้ง 2 ข้าง ประสานงานกันได้ไม่ดี ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด 👶 เนื่องจากสายตายังไม่เจริญเต็มที่อาจจะทำให้เกิดภาวะนี้อยู่บ้าง แต่ถ้าเด็กอายุเลย 6 เดือนแล้วยังมีอาการอยู่ จะถือว่ามีอาการผิดปกติค่ะ

ส่วนสาเหตุสามารถเกิดได้จากหลายอย่าง 👉 เช่น พันธุกรรม ความพิการของกล้ามเนื้อกลอกลูกตา สายตาผิดปกติ หรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่นเด็กที่พัฒนาการช้า มีโรคในตาข้างใดข้างหนึ่ง ที่อาจเกิดจากมะเร็งจอตาในเด็ก (Retinoblastoma) และทั้งนี้อาการตาเข ตาเหล่ ในเด็กก็ยังมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็น


🔵ตาเขเห็นได้ชัด คือ ภาวะตาเขที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตาเข
🔵ตาเขซ่อนเร้น คือ ภาวะตาเขที่ไม่เคยปรากฎให้ใครเห็น แต่สามารถตรวจพบได้โดยจักษุแพทย์ ภาวะนี้ไม่เป็นอันตราย แต่ว่าต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและติดตามการรักษา
🔵ตาเขเทียม คือ เป็นภาวะตาไม่ได้เขจริง แต่ดูเสมือนดวงตามีภาวะเข ซึ่งจะพบได้บ่อยในเด็กที่มีผิวหนังบริเวณระหว่างดวงตาทั้ง 2 ข้างกว้างผิดปกติ ซึ่งถ้าตรวจก็จะไม่พบความผิดปกตินั่นเอง


ซึ่งเด็กที่ตาเข ตาเหล่ จะแสดงอาการต่างๆ ที่สังเกตได้ เช่น ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกัน ลูกมองเห็นภาพซ้อน หยีตาอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาอยู่ในที่มีแสงจ้า และในบางรายอาจปวดศีรษะได้

ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการตาเข ตาเหล่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบพาเค้าไปพบคุณหมอเลย 👩‍⚕️👨‍⚕️ เพื่อการวินิจฉัยอย่างละเอียด และให้ลูกได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด

[Total: 2 Average: 5]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading