ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hypomatremia) เกิดขึ้นเมื่อน้ำ และโซเดียมไม่สมดุลกัน อาจจะเกิดจากน้ำมากเกินไป หรือโซเดียมน้อยเกินไป
โซเดียม (Sodium) คือ อิเล็กโทรไลต์สำคัญที่ช่วยรักษาสมดุลน้ำของเซลล์ร่างกาย มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่ถูกต้อง รวมทั้งรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ด้วย
ระดับโซเดียมที่ปกติควรอยู่ระหว่าง 135-145 มิลลิแอมป์ต่อลิตร ภาวะโซเดียมต่ำ คือ ระดับโซเดียมต่ำกว่า 135 mEq / L
สาเหตุ ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
มีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่ ระดับโซเดียมขสามารถต่ำเกินไปหากร่างกายสูญเสียน้ำ และอิเล็กโทรไลต์มากเกิน โดยสาเหตุที่ทำให้โซเดียมในเลือดต่ำมีดังนี้
- อาเจียนรุนแรง หรือท้องร่วง
- ยาบางชนิด เช่น ยาซึมเศร้าและยาแก้ปวด
- ยาขับปัสสาวะ
- ดื่มน้ำมากๆ ขณะออกกำลังกาย
- เหงื่อออกมาก
- โรคไต
- โรคตับ
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจความผิดปกติของต่อมหมวกไต เช่น โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ที่ส่งผลต่อากรควบคุมสมดุลของโซเดียม โพแทสเซียม และน้ำในร่างกาย
- ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
- กระหายน้ำมากเกินไป จนดื่มน้ำเยอะ
- กลุ่มอาการของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกที่ไม่เหมาะสม (SIADH) ทำให้ร่างกายเก็บน้ำมากกว่าปกติ
- โรคเบาจืด ทำให้ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก
- กลุ่มโรคคุชชิง ซินโดรม ซึ่งทำให้ระดับคอร์ติซอลสูง
อาการ ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
อาการของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หากระดับโซเดียมลดลงเรื่อย ๆ อาจจะไม่พบอาการใดๆ แต่หากลดอย่างรวดเร็วอาจจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น
การสูญเสียโซเดียมอย่างรวดเร็ว กะทันหัน เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
โดยอาการทั่วไปของร่างกายขาดโซเดียม ได้แก่
- ร่างกายอ่อนแอ
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อกระตุก
- หงุดหงิด
- มึนงง
การรักษา ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
การรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโซเดียมในเลือดต่ำ
- ลดการดื่มน้ำ
- ปรับปริมาณการใช้ยาขับปัสสาวะ
- รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และชัก
- การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
- ให้สารละลายที่จำเป็นผ่านหลอดเลือดดำ