อัมพาต เบลล์พัลซี

อัมพาตเบลล์ (เบลล์พัลซี) คือ อาการอัม-พาตของกล้ามเนื้อใบหน้าเพียงซีกใดซีกหนึ่ง โดยไม่ปรากฏสาเหตุให้เห็นชัดเจน พบได้ประมาณ 20-30 รายต่อประชากร 100,000 คนต่อปี หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 3 เท่า และมักพบในระยะไตรมาส ที่ 3 นอกจากนี้ยังอาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

สาเหตุ อัมพาต เบลล์พัลซี

เกิดจากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 หรือประสาทใบหน้า (facial nerve) ที่มีมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ทำงานทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกอ่อนแรง โดยไม่ปรากฏสาเหตุให้เห็นชัดเจน ปัจจุบันเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสเริมชนิด1 (HSV-1) และเชื้อไวรัสงูสวัด (herpes zoster virus)

อาการ อัมพาต เบลล์พัลซี

อาการมักเกิดขึ้นฉับพลัน โดยผู้ป่วยอยู่ดีๆ เช่น นอนตื่นขึ้นมา) ก็สังเกตเห็นปากเบี้ยวข้างหนึ่งกลืนน้ำหรือบ้วนปากจะมีน้ำไหลออกที่มุมปาก เวลายิงฟัน หรือยิ้ม คิ้วข้างเดียวกันนั้นตก ตาข้างเดียวกันนั้นจะปิดไม่มิด คิ้วข้างเดี่ยวกันนั้นยักไม่ได้ ลิ้นซีกเดียวกันจะชาและ รับรสไม่ได้ หูข้างเดียวกันอาจมีอาการปวดและอื้อ

แต่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีแขนขามีแรงดีและทำงานได้ตามปกติทุกอย่าง และถ้าอยู่เฉย ๆ (ไม่พูดไม่ยิ้ม ไม่หลับตาหรือยักคิ้ว) ก็จะดูไม่ออกว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติ

  • บางรายก่อนมีอาการอัมพาตปากเบี้ยว 2-3 วันอาจมีอาการปวดบริเวณหน้าหรือหลังใบหูข้างที่เป็นอัมพาต
  • บางรายมีอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อนมีอาการอัมพาตของใบหน้าประมาณ 1 สัปดาห์

การป้องกัน อัมพาต เบลล์พัลซี

  1. โรคอัมพาตเบลล์หรือเบลล์พัลซีส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80–85) จะหายได้ใน 2-3 สัปดาห์ ถึงแม้ไม่ได้ใช้ยารักษาก็หายได้เองโดยธรรมชาติ บางรายอาจกินเวลาตั้งแต่ 2 เดือนถึง 2 ปี อายุยิ่งมากยิ่งหายช้า ส่วนมากจะหายได้สนิทส่วนน้อยที่อาจมีร่องรอย ให้เห็นอยู่บ้าง ซึ่งอาจแก่ไขด้วยการผ่าตัด ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และหายวิตกกังวล
  2. แนะนำให้ผู้ป่วยพยายามบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ด้วยการแยกเขี้ยว ยิงฟันแล้วใช้มือยกมุมปากข้างที่เป็น อัมพาตขึ้นตาไปด้วย ทำวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที
  3. กล้ามเนื้อใบหน้าตอนบนมักจะเริ่มฟื้นตัวได้ก่อนตอนล่าง กล่าวคือ ผู้ป่วยจะยักคิ้วและปิดตาได้ ก่อนที่จะหายปากเบี้ยว ดั้งนั้นควรแนะนำให้ผู้ป่วยยักคิ้วและหลับตาทุกวัน ถ้าพบว่าเริ่มทำได้ก็แสดงว่ามีโอกาส หายเร็วขึ้น
    4.โรคนี้ควรแยกให้ออกจากอาการปากเบี้ยวในผู้ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก โดยที่ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มักจะหลับตาและยักคิ้วได้ และมีอาการอัมพาตของ แขนขาร่วมด้วย

การรักษา อัมพาต เบลล์พัลซี

  1. ถ้ามีอาการอัมพาตของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันร่วมด้วย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน   
  2. ในกรณีที่มีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซีกเกิดขึ้นฉับพลัน ไม่ว่าจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือไม่ก็ตามควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด  หากจำเป็นอาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าประสาท (electroneurography) การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography) การตรวจเชื้อไวรัสเริมและงูสวัด  เป็นต้น

การรักษา  แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

               ถ้าพบว่าเป็นอัมพาตเบลล์มักจะให้ยาลดการอักเสบและการบวมของเส้นประสาทใบหน้า ได้แก่ เพร็ดนิโซโลน ขนาด 1 มก./วัน (ขนาดสูงสุด 60 มก./วัน) วันละครั้ง นาน 5 วัน (ในรายที่มีอาการอัมพาตไม่เต็มที่) หรือ10 วัน (ในรายที่มีอาการอัมพาตเต็มที่) แล้วจึงค่อย ๆ 
ลดขนาดยาลงทีละน้อย จนหยุดภายใน 5 วัน ไม่ควรหยุดยาทันที โดยไม่มีการค่อย ๆ ลดขนาดยาลง อาจทำให้เส้นประสาทบวมอาการกำเริบได้

               ในรายที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสเริมหรือ งูสวัด แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสร่วมด้วย ได้แก่ อะไซโคลเวียร์ ครั้งละ 400 มก.วันละ 5 ครั้ง หรือวาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) ครั้งละ 500 มก.วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ยานี้ควรให้ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการจะได้ผลดี

นอกจากนี้ แพทย์อาจให้การรักษาอื่นๆ เช่น ในรายที่มีอาการปิดตาไม่มิด จะให้น้ำตาเทียม หรือน้ำเกลือนอร์มัลหยอดตา ป้องกันไม่ให้ตาแห้ง เป็นแผลหรืออาจให้ยาป้ายตาที่เข้ายาปฏิชีวนะป้ายตา วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้กระจกตาอักเสบ และ อาจใช้ผ้าก๊อชปิดตาไว้เพื่อป้องกันฝุ่นหรือแมลงเข้าตา

             บางรายแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การนวด การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เป็นต้น

             ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ และหายได้สนิทภายใน 4-6 เดือน ประมาณร้อย      

[Total: 5 Average: 4.8]