หูดหงอนไก่ (Genital Warts)

หูดหงอนไก่ (Genital Warts) คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากการได้รับเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หูดจะเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ มีลัษณะเป็นตุ่มอ่อนนุ่มอยู่บริเวณอวัยวะเพศ หากเป็นแล้วจะรู้สึกเจ็บ ไม่สบายตัว และมีอาการคัน

HPV (human papillomavirus) คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อมากที่สุด หากชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์ จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื่อ HPV และเชื้อไวรัส HPV เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง เพราะหากผู้หญิงได้รับการติดเชื้อ HPV แล้ว อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งช่องคลอดได้

สาเหตุ หูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เกิดจากการติดเชื้อ HPV เชื้อ HPV โดยประมาณแล้วมีถึง 30-40 สายพันธ์ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการสืบพันธ์ แต่มีเพียงไม่กี่สายพันธ์ที่ส่งผลโดยตรงต่ออวัยวะเพศ เชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อได้มากที่สุดโดยผ่านการสัมผัสจากผิวหนังสู่ผิวหนัง จึงเรียกได้ว่าโรคหูดหงอนไก่ ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือกามโรค นั่นเอง 

อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสอาจไม่ได้ส่งผลให้เกิดแค่เพียงโรคหูดหงอนไก่เสมอไป แต่อาจส่งผลไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆได้อีกด้วย  โรคหูดหงอนไก่ เกิดจากการได้รับเชื้อ HPV ที่แตกต่างจากสายอื่นที่ทำให้เกิดหูดได้ที่มือหรือที่อวัยวะของร่างกายส่วนอื่น ในทางกลับกัน หากมีหูดที่มือ หูดที่มือไม่สามารถแพร่กระจายมายังบริเวณอวัยวะเพศได้

อาการ หูดหงอนไก่

อาการเริ่มต้นของหูดหงอนไก่ หลังจากได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องปาก ทางช่องคลอด และทางทวารหนัก เชื้อจะใช้เวลาก่อตัวเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน 

หูดหงอนไก่ บริเวณอวัยวะเพศ อาจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะอาจมีลักษณะเล็กเกินไป สีของหูดอาจเข้มขึ้นเล็กน้อย ตามพื้นเดิมของผิวของผู้ป่วย บริเวณด้านบนของตัวหูดหงอนไก่จะมีลักษณะคล้ายกับดอกกะหล่ำ หากสัมผัสแล้วอาจรู้สึกนุ่ม มีเป็นเม็ดเล็กๆ เรียงติดกัน หรือบางรายอาจเกิดเพียงแค่จุดเดียว บางรายหูดอาจขึ้นเป็นหย่อมๆ 

หูดหงอนไก่ที่เกิดขึ้นในเพศชายอาจปรากฏตามบริเวณ เหล่านี้:

  • อวัยวะเพศ
  • ถุงอัณฑะ
  • หน้าขา
  • ต้นขา หรือโคนขา
  • ภายในหรือรอบ ๆ ทวารหนัก

หูดหงอนไก่ที่เกิดขึ้นในเพศหญิง หูดจะปรากฏในบริเวณเหล่านี้:

  • ด้านในของช่องคลอดหรือทวารหนัก
  • ด้านนอกของช่องคลอดหรือทวารหนัก
  • บริเวณปากมดลูก

หูดหงอนไก่ อาจเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอของบุคคลที่เคยมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับผู้ที่มีเชื้อ HIV ได้ด้วยเช่นกัน 

การรักษา หูดหงอนไก่ 

หากหูดหงอนไก่เกิดขึ้นและเห็นได้ชัด มันสามารถหายได้เอง เชื้อ HPV ที่สามารถอยู่ในเซลล์ผิวหนังของผู้ป่วยได้นั่นหมายถึงว่า ผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อมาแล้วหลายครั้ง ควรรักษาให้หูดหงอนไก่ให้หายขาดก่อน และควรรีบกำจัดก่อนที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ หูดหงอนไก่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ ถึงแม้ว่าหูดหงอนไก่ยังไม่ปรากฏขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือยังไม่แสดงอาการใด 

ผู้ป่วยโรคหูดหงอนไก่ต้องได้รับการรักษา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด หรือทำให้หูดหงอนไก่หายไป ผู้ป่วยสามารถรักษาโรคหูดหงอนไก่หรือกำจัดหูดหงอนไก่ด้วยวิธีการซื้อยามาใช้เองได้ 

แพทย์อาจแนะนำให้รักษายาทาหูดหงอนไก่แบบเฉพาะที่  เช่น: 

  • Imiquimod (Aldara)
  • Podophyllin and podofilox (Condylox)
  • Trichloroacetic acid (TCA)

หากหูดหงอนไก่ยังไม่หายไป หรือยังปรากฏอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดออก วิธีการเอาหูดหงอนไก่ออก มีดังนี้: 

  • ใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือเบิร์นจี้หูดหงอนไก่ออกด้วยกระแสไฟฟ้า
  • การจี้เย็น
  • การรักษาด้วยเลเซอร์
  • การตัดเอาหูดออก 
  • การฉีดอินเตอร์เฟอรอน (Interferon) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส

การรักษา หูดหงอนไก่ ในผู้หญิง 

หูดหงอนไก่อาจเกิดขึ้นในบริเวณข้างในอวัยวะเพศของผู้หญิง แพทย์อาจทำการตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ แพทย์จะใช้สารละลายที่เป็นกรดอ่อนเพื่อช่วยตรวจสอบในการมองเห็นหูดที่เกิดขึ้น แพทย์อาจใช้วิธี การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ และจะตรวจหาเชื้อ HPV ด้วย

HPV บางประเภทอาจทำให้ตรวจผลเจอสิ่งผิดปกติจากการทดสอบแบบ Pap Smear ซึ่งอาจบ่งบอกว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็ง หากแพทย์ตรวจสอบแล้วพบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์อาจทำการตรวจขั้นต่อไปที่เรียกว่า โคลโปสโคป (Colposcopy) คือ การตรวจคอลโปสคอปี (Colposcopy) เป็นการตรวจปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิงเพื่อช่วยในการวินิจฉัย โดยการตรวจนี้จะเป็นการขยายภาพบริเวณดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถระบุเนื้อเยื่อที่เป็นปัญหาและอาจเกิดโรคได้

หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงและกังวลว่าอาจติดเชื้อ HPV ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งปากมดลูก แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจ DNA ผลการทดสอบหาเชื้อ HPV จะชัดเจนมากขึ้นหลังการตรวจ DNA 

ปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบ HPV สำหรับผู้ชาย

[Total: 0 Average: 0]