การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-specific antigen: PSA)

PSA ย่อมาจาก Prostate Specific Antigen ( พรอซ-เทท สเปซิฟิก แอนติเจน ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเป็นสารแปลกปลอมที่เจาะจงว่าผลิตมาจากต่อมลูกหมากเป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากที่มีความไวต่อการตรวจเป็นอย่างมาก ทำให้ทราบได้อย่างรวดเร็วว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมาก

(Prostate-specific antigen; PSA) ซึ่ง พีเอสเอ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก พีเอสเอ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อมอสุจิที่ทำให้มีลักษณะเป็นน้ำ ส่วนใหญ่ พีเอสเอ มักจะออกจากร่างกายระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ แต่มีปริมาณน้อยที่จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือด สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ที่สำคัญตัวหนึ่งที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

ค่าปกติ ของ PSA
     ค่าปกติของ PSA  อยู่ในช่วง 4 ถึง 10 ng/mL ในช่วงอายุที่แตกต่างกันอาจมีระดับของ PSA ที่ไม่เท่ากันได้ แต่จะไม่สูงเกิน10 ng/mLกรณีที่มีการตัดต่อมลูกหมากไปแล้วเพื่อรักษามะเร็งจะมีระดับPSA เป็น 0 ได้ แต่ยังต้องมีการตรวจระดับ PSA เพื่อติดตามอาการต่อไป หากพบว่ามีระดับสูง อาจเกิดเนื่องจากการพบการกระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งไม่สามารถกำจัดออกได้หมด

ระดับ PSA ที่ตรวจพบบ่งชี้ถึงโอกาสในการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกันได้
 

ระดับ Standard PSAโอกาสในการเกิดมะเร็งระดับ free PSAโอกาสในการเกิดมะเร็ง
0-2 ng/mL1%0-10%56%
2-4 ng/mL15%10-15%28%
4-10 ng/mL25%15-20%20%
>10 ng/mL>50%20-25%16%
  >25%8%

 ผลจากการวัดค่า พีเอสเอ มีความหมายอย่างไร

           ถ้าการตรวจทางทวารหนักและค่า พีเอสเอ ปกติเป็นที่น่าพอใจ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจโรคเพิ่มเติม แพทย์อาจจะแนะนำให้มาตรวจทั้งทางทวารหนักและค่า พีเอสเอ ปีละหนึ่งครั้ง ถ้าค่าพีเอสเอสูงหรือการตรวจทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากมีความผิดปกติ แพทย์ก็จะนำชิ้นเนื้อมาทำการตรวจ
          ย้ำอีกครั้งว่า การตรวจวัดค่า พีเอสเอ เพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่หนทางที่เพียงพอนัก จึงอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมทางทวารหนัก และพิจารณาจากอายุ ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำมาประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่อไป

ตรวจค่า PSA โดยการใช้คลื่นเสียง ( Ultrasound ) เป็นการตรวจสอบเพื่อความมั่นใจอีกวิธีหนึ่ง โดยจะใช้เครื่องมือส่งสัญญาณเสียงความถี่สูงในการตรวจสอบโดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่มีความชี้ชัดได้เกือบแน่นอนว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่และกำลังอยู่ในระยะไหน โดยการตรวจด้วยวิธีนี้ก็จะมีศัพท์เรียกการตรวจแบบเต็มๆ ว่า Transrectal Ultrasound และเรียกโดยย่อว่า TRUS

ตรวจค่า pas ด้วยการวิเคราะห์จากชิ้นเนื้อ ( Biopsy ) เป็นการเจาะเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากมาตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยา ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำและแน่นอนที่สุด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูงมากเหมือนกัน โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจด้วยวิธีนี้ แพทย์มักจะทำควบคู่ไปกับการตรวจด้วยวิธี TRUS เพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ได้มากที่สุด

วิธีการตรวจต่างๆ ที่กล่าวมา เป็นการตรวจโดยแพทย์ที่จะสามารถแยกแยะระหว่างอาการต่อมลูกหมากโตและโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เป็นอย่างดี ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเหล่านี้ในคนที่พบค่า PSA สูงกว่า 4 ng / mL

[Total: 1 Average: 5]