โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือโรคจิตเวชทางด้านประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะควบคุมอารมณ์หรือความวิตกกังวลไม่ค่อยได้ อีกทั้งความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมก็ทำได้ไม่ดีเท่าคนปกติ
ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่อาจอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียได้อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องบางประการ ได้แก่
อาการของโรคแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
เป็นอาการของผู้ที่มีความเครียด หรือความขัดแย้งในใจ มักเกิดจากความผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวและรับรู้ ในเวลาที่มีอาการเครียดหรือผิดหวังอย่างรุนแรง เช่น มีอาการชาตามแขน ขา เป็นอัมพาต เสียการทรงตัว จมูกไม่ได้กลิ่น บางรายมีอาการสมองเสื่อมอย่างกะทันหัน
ตรวจพบยาก เพราะไม่พบอาการผิดปกติ หรือสาเหตุที่ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคนี้ก็อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นอาการทางจิต และไม่ได้แกล้งทำ
เป็นอาการของผู้ที่พยายามทำตัวโดดเด่น หรือพยายามเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นตลอดเวลา และมักแสดงออกมากจนเกินไปเหมือนกับเล่นละครเสแสร้ง รวมทั้งมักจะไม่สบายใจและรู้สึกไม่มั่นใจ หากตนเองไม่ได้เป็นจุดเด่นหรือไม่ได้เป็นจุดดึงดูดความสนใจของคนอื่น
ในบางครั้งอาจจะดูเหมือนยั่วยวนเพศตรงข้ามเพื่อเรียกร้องให้คนอื่นมาสนใจ หรือมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดความรักในวัยเด็ก ไม่รู้จักพอในความรัก ซึ่งไม่ได้เกิดจากความใคร่อย่างที่เข้าใจกัน
ฮิสทีเรียไม่ใช่โรคทางจิตใจที่ร้ายแรง คนส่วนใหญ่มีอาการฮิสทีเรีย หรือ HPD ประสบความสำเร็จในสังคมและที่ทำงาน มักจะมีทักษะที่ยอดเยี่ยม แต่พวกเขามักใช้ทักษะเหล่านี้ เพื่อทำร้ายผู้อื่น อาการบ่งบอกว่าเป็นฮิสทีเรียมีดังนี้
โรคฮิสทีเรียเป็นโรคความผิดปกติทางบุคลิกที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยเท่าไร ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีอาการป่วย หรือมีความผิดปกติที่ควรต้องรักษา ทั้งที่จริงแล้วหากผู้ป่วยยอมรับและยอมเข้ารับการรักษา แพทย์จะมีวิธีการรักษาโรคฮิสทีเรีย 3 แนวทางด้วยกัน ดังนี้
1. จิตบำบัดอย่างลึก
2. จิตบำบัดเฉพาะตัว
3. จิตบำบัดแบบกลุ่ม
ทั้งนี้การรักษาโรคฮิสทีเรียจะมุ่งเน้นการบำบัดจิตใจ ด้วยขั้นตอนการรักษาของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา แต่หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการซึมเศร้า แพทย์จะใช้ยาบำบัดร่วมด้วย อย่างไรก็ดี การรักษาฮิสทีเรียจะได้ผลก็ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยเองด้วย