โรคเหน็บชา

โรคเหน็บชา คือ ยังพบได้บ่อยในท้องที่ชนบทบางแห่ง (เช่น ทางภาคอีสาน ภาคเหนือ) เนื่องมาจากการกินข้าวขาวที่ขัดสีจากโรงสี และกินเนื้อสัตว์น้อย ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินบี 1 หรือไทอามีน (thiamine)ไม่เพียงพอหรืออาจเกิดจากการกินอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1 เช่น ชา เมี่ยง หมากพลู สีเสียด ปลาร้า เป็นต้น

                โรคนี้ยังอาจเกิดจากภาวะที่ร่างกายมีการเผาผลาญ อาหารเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการวิตามินบี 1 สูงขึ้นด้วย เช่น หญิงครรภ์ หญิงที่ให้นมบุตร  เด็กในวัยเจริญเติบโต ผู้ที่ทำงานหนัก (เช่น กรรมการ ชาวนา) ผู้ป่วยที่มีไข้สูง  หรือเป็นโรคติดเชื้อ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นต้น

                ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง (เช่น ตับแข็ง) ก็อาจเป็นโรคนี้ได้ เพราะตับไม่สามารถนำวิตามินบี 1 ไปใช้ประโยชน์ได้

                นอกจากนี้ผู้ที่ติดสุราเรื้อรังก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย เนื่องจากกินวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ ร่วมกับการ ดูดซึมของลำไส้ไม่ดี  และตับทำงานได้ไม่ดี (ตับแข็ง)

                โรคนี้จึงมักพบในหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีลูกอ่อน ทารกที่มีมารดาเป็นโรคเหน็บชาและกินนมมารดาเพียง อย่างเดียวคนวัยฉกรรจ์ที่ทำงานหนัก ร่างกายบึกบึน (เช่น กรรมกร ชาวนา) ที่กินอาหารพวกแป้งและน้ำตาล มากแต่กินอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย ผู้ที่นิยมกินอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี1ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น

สาเหตุ โรคเหน็บชา

สาเหตุทั่วไปของอาการนี​​้้อาการคันยุบๆ ยิบๆ อาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น เลือดที่ไหลเวียนไปยังส่วนหนึ่งของร่างกายถูกจำกัด การสวมรองเท้าหรือเสื้อผ้าที่คับ หรือการนั่งบนโถส้วมนานเกินไป

อาการ โรคเหน็บชา

ในทารก  มักจะมีอาการระหว่างอายุ 2-6 เดือน (พบในทารกที่กินนมมารดา และมารดากินอาหารที่ขาด วิตามินบี 1 หรืออดของแสลง   หรือมารดาเป็นโรคเหน็บชา) เด็กจะมีอาการร้องเสียงแหบหรือไม่มีเสียง ซึมหอบเหนื่อยตัวเขียว ขาขวบ

               บางรายอาจมีอาการตากระตุก (nystagmus) หนังตาตก ชัก หรือหมดสติ

                ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจตายได้ในเวลาไม่กี่ ชั่วโมง

ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ในระยะเริ่มแรก หรืออาการขนาดอ่อน ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ ความจำเสื่อม รู้สึกชา แต่ตรวจร่างกายไม่พบสิ่งผิดปกติ

                ถ้าเป็นมากขึ้น จะรู้สึกชาตามมือและเท้า อาจมี อาการปวดแสบและเสียวเหมือนถูกมดกัด โดยมากจ เป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยจะเป็นตะคริว ปวดเจ็บที่กล้ามเนื้อน่อง แขนขาไม่มีแรง ถ้าเป็นมาก ๆ อาจมี อาการเป็นอัมพาต

                ในรายที่เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการตาเหล่ ตาเข (เนื่องจากกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตา เป็นอัมพาต) เดินเซ (ataxia) มีความผิดปกติทางจิตอาจหมดสติถึงตายได้

การป้องกัน โรคเหน็บชา

โรคนี้อาจพบในชายฉกรรจ์ที่ร่างกายบึกบึน ซึ่งกินข้าวได้มาก ๆ แต่กินอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย ดังนั้น ถ้าพบอาการที่ชวนสงสัยว่าเป็นโรคเหน็บชาในคนเหล่านั้น ควรให้การรักษาด้วยวิตามินบี 1 ทันที   

                โรคนี้อาจป้องกันได้ โดย

                 1.กินอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว ต่าง ๆ ไข่แดง ตับ ไต เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีลูกอ่อนคนที่ทำงานหนัก

                 2.ส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้องแทน ข้าวขาวที่ขัดสีจากโรงสี เพราะมีวิตามินบี 1 สูง และส่งเสริมการหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ

                3. ลดการกินอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1 เช่น ชา เมี่ยง หมากพลู สีเสียด ปลาร้า เป็นต้น ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทำปลาร้าให้สุกเสียก่อนเพื่อทำลายสาร ดังกล่าว หรือให้ดื่มน้ำชา เคี้ยวใบเมี่ยงหรือหมากพลู ระหว่างมื้ออาหารอย่าเสพหลังอาหารทันที

การรักษา โรคเหน็บชา

  1. ให้วิตามินบี 1 10-20  มก.โดยการกินหรือ ฉีดวันละ 2-3 ครั้ง  เป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ถ้าเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง ควรใช้ชนิดฉีดในขนาด 100 มก.วันละ ครั้ง นาน 5-7 วัน) ต่อไปให้กินขนาด 10 มก./วัน เป็น เวลาอีกหลายสัปดาห์
  2. ในรายที่สงสัยมีภาวะหัวใจวาย ให้ฉีดวิตามินบี 1 ขนาด 25-50 มก.และให้ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์ - 1 หลอด แล้วส่งโรงพยาบาลด่วน อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็นแล้วให้วิตามิน บี1 และให้การรักษาแบบภาวะหัวใจวาย

การรักษาด้วยตนเอง

การเปลี่ยนท่าทางอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกคันยุบๆ ยิบๆ ได้ การหลีกเลี่ยงการจัดวางท่าทางที่มีการกดทับเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมากอาจช่วยได้เช่นกัน

[Total: 0 Average: 0]