พิษปลาทะเล

พิษปลาทะเล คือ มีพิษที่มีชื่อว่า ซิวกัวท็อกซิน (ciguatoxin) ทำให้เกิด พิษภัยแก่ผู้บริโภคได้จากปลาทะเล เช่น ปลาสาก ปลาน้ำดอกไม้ ปลากะพง ปลานกแก้ว ปลากะรัง ปลาหมดทะเล เป็นต้น อาหารเป็นพิษ ถ้าเกิดในเด็กจะมีความรุนแรงมาก กว่าผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นไม่รุนแรงมีอันตรายค่อนข้างน้อย

อาการ พิษปลาทะเล

มักเกิดหลังกินปลาทะเล (โดยเฉพาะปลาตัวโต) ประมาณ 2-6 ชั่วโมง (เร็วสุด 15 นาที นานสุด 30 ชั่วโมง)

อาการแรกเริ่มทีพบ คือ อาการแบบอาหารเป็นพิษ ทั่วไป ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (ซึ่งอาจเป็นอยู่นาน 1.2 วัน)

 ส่วนอาการทางระบบประสาทจะเกิดหลังกินปลา 2-3 ชั่วโมง ถึง 3 วัน ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ เห็นบ้านหมุน เดินเซ ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกเสียวแปลบ ๆ เหมือนถูกเข็มตำ (paresthesia) ที่บริเวณปากและลิ้น ปวดและเสียวแปลบ ๆ (painfulparesthesia) ที่แขนขา และมือเท้า การรับอุณหภูมิกลับ ตาลปัตร (ร้อนว่าเย็น เย็นว่าร้อน) กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการหายใจไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาต
  • นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการเหงื่อแตก น้ำลายไหล หายใจขัด หนาวสั่น
  • อาการทางระบบประสาทมักเป็นอยู่นานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ ในช่วงหลัง ๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการคัน และสะอึกร่วมด้วย

การป้องกัน พิษปลาทะเล

                หลีกเลี่ยงการกินปลาทะเลตัวโต น้ำหนักมากว่า 2-3 กก.โดยเฉพาะเครื่องในปลาไม่ว่าจะปรุงหรือทำให้ สุกด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม

  1. หลังจากอาการทุเลาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกิน ปลาและหอยทะเลอีก (เพราะอาจได้รับพิษเข้าไปซ้ำเติม อีก) จนกว่าจะหายเป็นปกติแล้ว ควรหลักเลี่ยงการดื่ม แอลกอฮอล์ การใช้ยาประเภทฝิ่น และบาร์บิทูเรต ซึ่ง จะทำให้อาการแย่ลงได้
  2. โรคนี้มีอาการแบบอาหารเป็นพิษทั่วไป แต่จะมี อาการทางระบบประสารทร่วมด้วย คือ รู้สึกเสียวแปลบๆ ที่บริเวณปาก ลิ้น แขนขน และการรับรู้อุณหภูมิแบบกลับตาลปัตร ดังนั้น ถ้ากินปลาทะเลแล้วมีอาการอาเจียน ท้องเดิน และมีอาการดังกล่าวร่วมด้วย ควรรีบไปรักษาที่โรงพยาบาล

การรักษา พิษปลาทะเล

หากสงสัย เช่น มีอาการอาหารเป็นพิษ (ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน) ร่วมกับอาการเสียวแปลบ ๆ ที่ปาก ลิ้น แขนขา การรับรู้อุณหภูมิแบบกลับตาลปัตร เกิดขึ้นหลังกินปลาทะเล ควรให้การปฐมพยาบาล แล้วรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที ถ้าพบว่าผู้ป่วยหยุดหายใจควรช่วยเหลือ (เช่น เป่าปาก หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ) จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล

แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะอาการ และประวัติ การกินปลาทะเลเป็นสำคัญ

การรักษา ให้การรักษาขั้นพื้นฐานมักจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เฝ้าติดตามดูอาการ อย่างใกล้ชิด และให้การรักษาแบบประคับประคอง

ควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และให้ยาบรรทาอาการ เช่น พาราเซตามอล บรรเทาปวดต่างๆ ยาแก้แพ้ บรรเทาอาการคัน อะมิทริปไทลีน บรรเทาอาการคันและความรู้สึกเสียวแปลบ ๆ เป็นต้น ถ้ามีอาการชีพจรเต้นช้าให้อะโทรพีน 

บางรายแพทย์อาจให้เมนนิทอล (mannitol) ขนาด 1 กรัม/กก.ในรูปสารละลาย 20% ในอัตร 500 มก./ ชั่วโมง ช่วยลดอาการของระบบประสาท (โดยไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์) ในกรณีที่เป็นรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจ (ซึ่งพบได้น้อย) ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผลการรักษา ส่วนใหญ่จะหายได้เป็นปกติ แต่อาจ มีอาการอยู่นานหลายวันถึงหลายสัปดาห์กว่าจะหายสนิทในรายที่เป็นรุนแรง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจไม่ได้หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสรอดชีวิตได้

[Total: 0 Average: 0]