ตับวาย

ตับวาย คือภาวะที่ทำให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ทั้งหน้าที่ด้านการสังเคราะห์สารและหน้าที่ด้านกระบวนการสร้างและสลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ปกติของตับ อาจแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและมักก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะตับวายหรือตับทำงานล้มเหลวก็คือโรคสมองจากตับ (hepatic encephalopathy) ซึ่งมักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นของกรดอะมิโนบางตัวในร่างกาย โรคสมองจากตับมีระดับความรุนแรงได้หลากหลาย ซึ่งรวมถึงระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก คือ ความสามารถในการเขียนหนังสือบกพร่องและระดับความรุนแรงมากถึงขั้นหมดสติเป็นเวลานาน

สาเหตุ ตับวาย

สาเหตุร้ายตัวการสำคัญในการทำลายตับ ได้แก่ 

  1. แอลกอฮอล์ สำหรับผู้หญิงเอนไซม์ย่อยสลายแอลกอฮอล์ไม่เท่าผู้ชาย ทำให้เมาง่ายกว่าและเป็นพิษต่อแอลกอฮอล์ได้ง่ายกว่าผู้ชาย
  2. โรคภัยไข้เจ็บ ภาวะของโรคที่เป็น ไม่ว่าจะเป็นโรคของทางเดินน้ำดี อย่างนิ่วในถุงน้ำดี การอุดตันของถุงน้ำดี หรือไวรัสตับอักเสบ ซึ่งที่พบบ่อยมาก ๆ คือ ไวรัสตับอักเสบบี และที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ ไวรัสตับอักเสบซี หรือโรคเลือด อย่างธาลัสซีเมีย หรือโรคประจำตัวบางอย่าง อาทิ โรคหัวใจ เบาหวาน ผู้ที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือแม้แต่คนสุขภาพดี แต่รับประทานวิตามินเสริมที่ไม่รู้ที่มา เพื่อหวังบำรุงสุขภาพมากเกินความจำเป็นของร่างกายก็อาจส่งผลเสียต่อตับได้เช่นกัน 
  3. ภาวะไขมันพอกตับ พบบ่อยขึ้นในปัจจุบัน เมื่อไขมันพอกตับมากขึ้น เกิดการอักเสบถี่มากขึ้น บ่อยมากขึ้นก็เป็นสาเหตุหนึ่งของตับแข็งได้เช่นกัน

อาการ ตับวาย

คำว่า ‘วาย’ ในภาษาการแพทย์ หมายถึง การเสื่อมสมรรถภาพในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ เป็นเหตุให้แสดงอาการเจ็บป่วยขึ้น ไม่ได้หมายถึง วายวอด วายชีวิต วายปราณ วายสังขาร ดังความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะตับวาย คือตับจะอยู่ในสภาวะที่ขาดประสิทธิภาพ สมรรถนะเสื่อมถอย และมักจะมีอาการต่างๆ ของโรคตับนำทางมาก่อน เช่น

การรักษา โรคตับวาย

ในอดีต ผู้ที่เป็นโรคหัวใจวายหรือตับวายมักจะมีชีวิตอยู่ได้อีกชั่วระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโรคตับวาย แต่ปัจจุบันวงการแพทย์มีความก้าวหน้าจนสามารถผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเหล่านี้กันได้แล้ว โดยนำเอาอวัยวะนั้นๆ ของผู้อื่น (ผ่านการรับบริจาคเป็นส่วนใหญ่) มาใส่แทนอวัยวะเดิมที่เสียไป การผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะก็เป็นวิธีการรักษาในกรณีของผู้ป่วยตับวายเช่นเดียวกัน ซึ่งแพทย์จะดำเนินการผ่าตัดให้แก่ผู้ป่วยที่ตับเสียหายไปมากแล้ว

นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถทำการรักษาตามระยะหรืออาการของผู้ป่วยด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขึ้น ดังนี้:

  • รักษาระดับความดันซึ่งเกิดจากภาวะของเหลวคั่งในสมอง โดยแพทย์จะให้ยาที่ช่วยกำจัดหรือระบายของเหลวส่วนเกินแก่ผู้ที่มีอาการสมองบวม
  • ตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อคัดกรองการติดเชื้อเป็นครั้งคราว โดยทิ้งช่วงห่างหรือระยะเวลาตามดุลยพินิจของแพทย์ รวมถึงอาจให้ยาต้านเชื้อบางชนิดด้วย
  • ให้ยาป้องกันภาวะเลือดออกเกินขนาด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มอาการเสียเลือดมาก นอกจากนี้ ในผู้ป่วยรายที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงพอสมควร ก็สามารถทำการเปลี่ยนถ่ายเลือดได้
[Total: 0 Average: 0]