ภาวะบวมน้ำเหลือง

ภาวะบวมน้ำเหลือง ( Lymphedema) คือ การคั่งค้างสะสมของน้ำเหลืองชั้นใต้ผิวหนัง อันเนื่องมาจากทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่ใกล้เคียงกันนั้นอุดกั้นหรือถูกทำลาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่แขน ขา และอวัยวะเพศ โดยมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และภายหลังจากการผ่าตัดที่ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น เช่น การผ่าตัดมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณปากมดลูก มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอัณฑะ และภายหลังได้รับการฉายรังสีรักษาใกล้ขาหนีบ รักแร้ รวมทั้งผิวหนังเกิดภาวะติดเชื้อและอักเสบรุนแรง (cellulitis, erysipelas) อย่างซ้ำๆ การได้รับอุบัติเหตุเป็นแผลลึก ตลอดจนภาวะหลอดเลือดดำขอดหรือตีบตัน ซึ่งพบได้มากที่ขา และอาจเกิดจากหนอนพยาธิฟิลาเรีย ซึ่งมียุงเป็นพาหะ

ภาวะบวมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก:

  • ภาวะบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ (primary lymphoedema)
  • ภาวะบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ (secondary lymphoedema)

สาเหตุ ภาวะบวมน้ำเหลือง

สาเหตุอาจเกิดมีตั้งแต่เกิด(congenital) หรือเกิดจากโรคที่ทำให้ท่อน้ำเหลืองผิดรูป
( acquired anomalies) สาเหตุที่พบได้บ่อยคือเกิดตามหลังการผ่าตัด และ ฉายแสงบริเวณเต้านม
แล้วไปรบกวนระบบน้ำเหลืองในบริเวณรักแร้ อันทำให้เกิดแขนบวมตามมาได้

อาการ ภาวะบวมน้ำเหลือง

  • มีอาการปวด, รู้สึกหนักๆ หน่วงๆ
  • เคลื่อนไหวลำบาก
  • มีการติดเชื้อซ้ำๆ ที่ผิวหนัง
  • ผิวหนังหนา และแข็ง
  • มีพังผืดเกิดขึ้นในผิวหนัง
  • ผิวหนังแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำ
  • มีน้ำเหลืองซึมออกจากผิวหนัง

การรักษา ภาวะบวมน้ำเหลือง

การรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองนั้น  ทุกคนสามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้  เริ่มจากรักษาความสะอาดอวัยวะที่บวมเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้ออักเสบ  ยกอวัยวะที่บวมให้สูงไว้ เพื่อช่วยน้ำเหลืองที่คั่งคืนสู่ร่างกาย งดอาหารเค็มและอาหารประเภทไขมันสูง เพราะเกลือที่มากเกินไปจะเหนี่ยวนำให้ร่างกายบวมน้ำ ส่วนไขมันจะไปพอกสะสมบริเวณที่น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อาการบวมรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการพันผ้ายืด (elastic bandage) ให้ตึงพอดี หรือสวมถุงน่อง (stocking) ที่กระชับพอดี  ไม่แน่น หรือหลวมไปตลอดเวลา  จะถอดเฉพาะเวลาอาบน้ำเท่านั้น   นอกจากนี้ยังมีนวดด้วยเครื่องอัดลม  ซึ่งมีบริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น การขันชะเนาะลดบวม และการผ่าตัด โดยล่าสุดเป็นการต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิค supermicrosurgery 

- ถ้ามีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน จะประคบความเย็นเพื่อลดการอักเสบ
- ใช้ RF เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลือง
- ใช้ระบายน้ำเหลืองด้วยเทคนิค LDT ร่วมกับ BFRT
- ใส่ Compressions stockings
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือดโดย Pumping Exercise

[Total: 0 Average: 0]