ฝีมะม่วง คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบได้ประปราย
สาเหตุ ฝีมะม่วง
เกิดจากเชื้อคลามีเดียทราโคมาติส (Chlamydiatrachomatis serotype L1-L3) ติดต่อโดยการร่วมเพศ หรือสัมผัสถูกหนองของฝีมะม่วงโดยตรง ระยะฟักตัว 30 วัน (เฉลี่ย1 - 2 สัปดาห์)
อาการ ฝีมะม่วง
เริ่มแรกจะมีตุ่มนูน ตุ่มใส หรือแผลขนาดเล็กเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ และหายไปเองภายใน 2 - 3 วันโดยที่ผู้ป่วยไม่ทันได้สังเกตพบ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ จะบวมโตติดกันเป็นก้อนฝีขนาดใหญ่และเจ็บมากตรง กลางเป็นร่องของพังผืดคล้ายร่องของมะม่วงอกร่อง จึงเรียกว่า ฝีมะม่วง ซึ่งอาจเป็นเพียงข้างเดียว หรือสองข้าง ก็ได้ ผิวหนังบริเวณที่เป็นฝีจะมีอาการอักเสบ มีลักษณะ บวม แดง ร้อนร่วมด้วย บางรายอาจปวดฝีมากจนเดินไม่ถนัด บางรายอาจมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดข้อ ตาอักเสบ ผื่นขึ้นตามตัว
ฝีมะม่วงมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เพราะในผู้หญิงน้ำเหลืองจากอวัยวะเพศจะระบายไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องเชิงกรานมากกว่ามาที่ขาหนีบ
ถ้าไม่ได้รักษา ฝีอาจยุบหายได้เองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ หรือเป็นเดือน แต่บางรายฝีอาจแตกเป็นรูหลาย รูและมีหนองไหล กลายเป็นแผลเรื้อรัง โรคนี้อายลุกลาม เกิดการอักเสบของทวารหนัก จนตีบตัน ถ่ายอุจจาระไม่ออก มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
การป้องกัน ฝีมะม่วง
ปฏิบัติเช่นเดียวกับ แผลริมอ่อน
- หลังการรักษา 3 เดือน ควรตรวจเลือดหาวิดีอาร์แอลและเชื้อเอชไอวี เช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น
- ความเชื่อเกี่ยวกับของแสลง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรคหนองใน
การรักษา ฝีมะม่วง
- ให้ยาแก้ปวด ใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบ และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เตตราไซคลีน หรืออีริโทรไมซิน ครั้งละ 500 มก.วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน ครั้งละ 100 มก.วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 14 วัน
- ถ้าฝีไม่ยุบและมีลักษณะนุ่ม ควรใช้เข็มเบอร์ 16 -18 ต่อเข้ากับกระบอกฉีดยา แล้วเจาะดูดเอาหนองออกไม่ควรผ่า เพราะจะทำให้แผลหายช้า และอาจทำให้ มีการอุดกั้นของทางเดินน้ำเหลืองในบริเวณนั้นได้