ครรภ์เป็นพิษ (โรคพิษแห่งครรภ์ ก็เรียก) หมายถึง ภาวะผิดปกติที่พบในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งประกอบด้วยอาการ 3 ประการ ร่วมกัน ได้แก่ อาการบวม ความดัน โลหิตสูง และตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ
โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของหญิงตั้งครรภ์ มักมีอาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนขึ้นไป จนกระทั่งหลังคลอด1สัปดาห์
ครรภ์เป็นพิษยังแบ่งเป็น โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (preeclampsia) ซึ่งมีเพียงอาการบวม ความดันโลหิตสูง และมีสารไขขาวในปัสสาวะ ไม่มีอาการชักหรือ หมดสติ กับโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก (eclampsia) ซึ่งจะมีอาการชักหรือ หมดสติ อาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ โดยทั่วไป ประมาณร้อยละ 5 ของโรคครรภ์แห่ง พิษระยะก่อนชักอาจกลายเป็นโรคครรภ์แห่งพิษระยะชัก
หลังจากคลอดแล้วอาการของครรภ์เป็นพิษจะค่อย ๆ หายไปได้เอง
สาเหตุ ครรภ์เป็นพิษ
ยังไม่ทราบแน่ชัด มักพบในครรภ์แรกครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาดุก และในผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไต อยู่ก่อน
อาการ ครรภ์เป็นพิษ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตรงใต้ลิ้นปี่ บวมตามมือตามเท้าและใบหน้า
ในรายที่เป็นโรคพิษแห่งครรภระยะก่อนชักในระยะรุนแรง จะพบความดันโลหิตสูงเกิน 160/110 มม.ปรอท อาจมีภาวะเกล็ดเม็ดเลือดแดงแตก เอนไซม์ตับขึ้นสูง และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เลือดออกง่าย) อาจมีอาการปวด ตรงลิ้นปี่รุนแรง เนื่องจากมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มตับ
ในรายที่เป็นโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก จะมีอาการชักหรือหมดสติ ซึ่งอาจเกิดก่อนคลอดขณะคลอด หรือภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด
การป้องกัน ครรภ์เป็นพิษ
- โรคนี้สามารถให้การดูแลรักษาให้ปลอดภัยได้ ทั้งมารดาและเด็กในครรภ์ ถ้ามีการตรวจพบตั้งแต่เริ่ม เป็น ดังนั้นจึงควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์หมั่นชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะถ้าพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรแนะนำไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
- ในการฝากครรภ์ ควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ สังเกตอาการปวดศีรษะ ตามัว หรือบวมตามหน้าหรือมือด้วยตนเอง หากพบก็ให้รีบกลับมาตรวจก่อนนัด
- ถ้าพบอาการครรภ์เป็นพิษในระยะแรก ๆ(ก่อนอายุครรภ์ได้ 5 เดือน) ควรสงสัยว่าอาจเป็น ครรภ์ไข่ปลาอุก
การรักษา ครรภ์เป็นพิษ
1.หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเลือดและปัสสาวะ
ในรายที่เป็นไม่มาก ไม่จำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล ควรแนะนำให้นอนพักที่บ้านให้เต็มที่ทั้งวัน (การนอนพักจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังสมอง หัวใจ ตับ ไต และรกได้ดี อาการของโรคอาจทุเลาได้) และนัดผู้ป่วยมาตรวจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 2 วัน หรือส่งพยาบาลไปเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินอาการทุกวัน
ถ้าไม่ดีขึ้น หรือความดันช่วงบน 140 หรือ ช่วงล่าง 90 มม.ปรอท หรือมีปัญหาไม่สามารถติด ตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยนอนพักให้เต็มที่ ทำการตรวจวัด ความดันโลหิต ตรวจรีเฟล็กซ์ของข้อ ตรวจสารไข่ขาวในปัสสาวะ และฟังเสียงหัวใจทารกบ่อย ๆ นอกจากนี้ ยังต้องตรวจเลือด (ดูจำนวนเกล็ดเลือด อิเล็กโทรไลด์ บียูเอ็น ครีอะตินีน เอนไซม์ตับ) ทุก 1-2 วัน
ถ้าพบว่ามีความดัน160/110 ปรอท จะให้ยาลดความดันเช่นไฮตราลาซีน(hydralazine) 5-10 มก.ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ควรควบคุมให้ความดันช่วง ล่างอยู่ระหว่าง 90-100 มม.ปรอท (ถ้าลดต่ำกว่านี้อาจ ทำให้รกขาดเลือด ไปเลี้ยงได้) ห้ามให้ยาลดความดันกลุ่มยาต้านเอช เพราะอาจทำให้ทารกพิการ และมารดาไตวายได้ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาขับปัสสาวะโดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงรกได้ไม่ดี (ยกเว้นในรายที่มีปัสสาวะออกน้อยเนื่องจากไตวายอาจให้ฟูโรซีไมด์)
เมื่อครรภ์ใกล้กำหนดคลอด (มากกว่า 34 สัปดาห์) ควรหาวิธีทำให้เด็กคลอดโดยการใช้ยากระตุ้น หากไม่ได้ผล อาจต้องทำการผ่าตัดคลอด โดยการใช้ยากระตุ้น หากไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
2.หากมีอาการชัก ให้ฉีดไดอะซีแพม 5-10 มก.เข้าหลอดเลือดดำ แล้วส่งโรงพยาบาลด่วนแพทย์จะฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต หรือไดอะซีแพมควบคุมอาการชัก และรีบทำการคลอดเด็ก หลังคลอดอาจ ต้องให้ยาป้องกันชักต่อไปอีก 1-7 วัน