ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย คือ โรคที่พบได้ในคนทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก มักพบในถิ่นที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี (เช่น ไม่มีส้วมใช้ไม่มีน้ำดื่มสะอาด มีแมลงวันชุกชุม) หรือในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำไม่สะอาด หรือจาดสุขนิสัยที่ดี
การติดเชื้อมักเกิดได้บ่อยในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้นของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจิตเวชและในหมู่ชายรักร่วมเพศ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงแต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนอื่น
สาเหตุ ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย
เกิดจากการติดเชื้อไกอาร์เดียแลมเลีย (Giardia lamblia) ที่อยู่ตามดินและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำห้วย หนอง บึง ทะเลสาบ บ่อน้ำ เป็นตัน และอาจปนเปื้อนอยู่ในสระว่ายน้ำและน้ำประปา (เนื่องจากเชื้อในรูปของซิสต์ มีความคงทน ไม่ถูกทำลายด้วยคลอรีน) ส่วนใหญ่ติดต่อโดยการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้แบบดิบๆ หรือจากการกินผัก ผลไม้ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโดยผ่านทางการสัมผัสมือ หรือทางเพศสัมพันธ์ที่มีโอกาสติดเชื้อจากบริเวณทวารหนัก (ซึ่งพบในหมู่ชายรักร่วมเพศ) ระยะฟักตัว ประมาณ 1 – 3 สัปดาห์
อาการ ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย
ในรายที่เป็นเฉียบพลัน แรกเริ่มมีอาการถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง (บางรายอาจถ่ายเหลวปริมาณมาก วันละ 1 ครั้งหลังอาหารเช้า) 3 – 4 วันต่อมา อุจจาระมีลักษณะเป็นมัน เป็นฟอง ลอยน้ำ และมีกลิ่นเหม็นจัด อาจส่งกลิ่นฟุ้งไปทั่วห้อง อุจจาระมักไม่มีมูกหรือเลือดปน (น้อยรายที่อาจมีมูกโดยไม่มีเลือด) ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบิดในท้อง มีลมในท้องมาก ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางราย อาจมีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการอยู่นาน 1 – 3 สัปดาห์ (บางรายอาจนาน 6 สัปดาห์) แล้วหายไปได้เองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยอาจมีอาการเรื้อรัง
ในรายที่เป็นเรื้อรัง (อาจเกิดตามหลังอาการเฉียบฃพลันหรือไม่ก็ได้) มีมีอาการที่เกิดจากการดูดซึมผิดปกติ (malabsorption) ได้แก่ อาการถ่ายอุจจาระเหลวปริมาณมากและบ่อย อุจจาระมีสีเหลือง เป็นฟอง มีลักษณะเป็นมันลอยน้ำและมีกลิ่นเหม็นจัด อาการมักเป็นๆ หายๆ หรือมีท้องผูกสลับท้องเดินนานเป็นแรมเดือนแรมปี มักมีอาการปวดท้อง (ซึ่งจะเป็นมากหลังกินอาหาร) มีลมในท้อง ท้องอืด และน้ำหนักลด
การป้องกัน ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย
- ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ก่อนเตรียมอาหาร เปิบอาหาร หลังถ่ายอุจจาระ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
- อย่าดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติแบบดิบๆ ถึงแม้จะดูใสสะอาดก็ไม่ปลอดภัย ควรต้มน้ำให้สุกก่อนดื่ม (ต้มให้เดือดนานอย่างน้อย 10 นาที) หรือดื่มน้ำขวดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อแล้ว
- เวลาเล่นน้ำในสระว่ายน้ำหรือแปล่งน้ำธรรมชาติ ควรระวังอย่าให้น้ำเข้าปาก
- กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การใช้ปากสัมผัสทวารหนักหรืออวัยวะเพศ
การรักษา ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล อาจให้การรักษาบื้องต้นด้วยการให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือ ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ
แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจพบเชื้อไกอาร์เดีย ในอุจจาระ (อาจต้องนำอุจจาระไปตรวจด้วยกล้องจุล-ทรรศน์ซ้ำๆ หลายครั้ง หากตรวจครั้งแรกๆ ไม่พบเชื้อ) ในกรณีที่ไม่แน่ใจ อาจต้องทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การตรวจสารก่อภูมิต้านทาน (antigen) ในอุจจาระด้วยวิธี IFA หรือ ELISA
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เมโทรไนดาโซล ขนาด 250 มก.วันละ 3 ครั้ง (เด็กให้ขนาด 15 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง) นาน 5 วัน ถ้ามีภาวะขาดสารอาหารหรือน้ำหนักน้อย ควรบำรุงอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ ตามลักษณะอาการที่พบ
ผลการรักษา มักจะได้ผลดี ยกเว้นในรายที่ดื้อยาอาจต้องเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น เช่น ทินิดาโซล (tinidazole) ขนาด 2 กรัม ครั้งเดียว อัลเบนดาโซล 400 มก.วันละ 1 ครั้ง นาน 5 วัน หรือฟูราโซลิโดน (furazolidone) 100 มก.วันละ 4 ครั้ง นาน 7 – 10 วัน
- ปริศนาคลี่คลายแล้ว เฉลยปม “ท้องเสีย” หมู่ที่จังหวัดจันทบุรี
- ท้องผูก: ใครว่าไม่สำคัญ หมั่นรักษาดูแลแก้ไขได้
- โรคลำไส้อุดตัน: ในเด็กทารก อันตรายแค่ไหน