ท้องผูก: ใครว่าไม่สำคัญ หมั่นรักษาดูแลแก้ไขได้

8 ข้อแนะนำสำหรับโรคหนองใน คือ รักษา ป้องกัน อาการ

อาการท้องผูก (Constipation) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไทยและประชากรทั่วโลก มีการศึกษาพบว่าร้อยละ 24 ของประชาชนชาวไทยคิดว่าตนเองมีปัญหาท้องผูก อาการท้องผูกที่ใช้กันทางการแพทย์จะหมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการอย่างน้อย 2 ใน 6 อาการต่อไปนี้ คือ

1.ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์

2.เวลาถ่ายอุจจาระต้องเบ่งมากกว่าปกติ

3.อุจจาระเป็นก้อนแข็งกว่าปกติ

4.รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด

5.มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก

6.ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ โดยถ้ามีอาการนานมากกว่า 3-6 เดือน จะถือว่าเป็นท้องผูกเรื้อรัง

ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากทั่วโลก

โดยเฉพาะสังคมแบบชาวตะวันตก รวมทั้งสังคมไทย (เขตเมือง)

ที่สหรัฐอเมริกา ก่อน ค.ศ.๒๐๐๐ มีการประเมินว่าคนอเมริกันพบแพทย์ด้วยปัญหาท้องผูก ๒.๕ ล้านคนต่อปี และเพิ่มขึ้น ๒ เท่าใน ๑๐ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้สูงอายุ จะมีปัญหาท้องผูกเรื้อรังมาก

การศึกษาที่ชื่อว่า Women’s Health Initiative ในหญิงชาวอเมริกัน ๙ หมื่น ๓ พันกว่าคน ที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ติดตามเป็นเวลาเฉลี่ย ๖.๙ ปี จากข้อมูลการขับถ่ายที่รายงานโดยผู้หญิงในโครงการ ๗ หมื่น ๓ พันกว่าคน พบว่า อาการท้องผูกพบร้อยละ ๓๔.๗ แบ่งเป็นอาการไม่มาก (ไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน) ร้อยละ ๒๕.๗ อาการปานกลาง (รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง) ร้อยละ ๗.๔ และอาการรุนแรง (รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากถึงมากที่สุด) ร้อยละ ๑.๖

อาการท้องผูกจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ (อายุยิ่งมาก โอกาสท้องผูกจะยิ่งมากขึ้น) ตามการสูบบุหรี่ เบาหวาน ไขมัน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง อ้วน การออกกำลังกายน้อย กินอาหารที่มีเส้นใยน้อย ภาวะซึมเศร้า และประวัติครอบครัวที่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย

สำหรับอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด (ได้แก่ อาการแน่นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤษ์ อัมพาต การผ่าตัดต่อหลอดเลือดหรือใส่ขดลวดในหลอดเลือด และการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ)

ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังปานกลางถึงรุนแรง เกิดโรคหรือภาวะดังกล่าว เฉลี่ยร้อยละ ๑.๔๒ และ ๑.๙๑ ในเวลา ๑ ปี เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่มีอาการท้องผูก เกิดโรคดังกล่าวร้อยละ ๐.๙๖ หมายความว่า หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการท้องผูกรุนแรงเป็นประจำ เพิ่มโอกาสโรคหัวใจและหลอดเลือด ๒ เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีอาการท้องผูก แต่หลังจากปรับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นแล้ว พบว่าหญิงที่มีอาการท้องผูกรุนแรงเท่านั้นที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคหรือภาวะหลอดเลือดและหัวใจร้อยละ ๒๓ เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่มีอาการท้องผูก

สรุปว่า อาการท้องผูกเป็นตัวบ่งบอกพฤติกรรมเสี่ยง (เช่น กินเส้นใยอาหารน้อย กิจกรรมทางกายน้อย สูบบุหรี่) และปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น ความอ้วน เบาหวาน ภาวะซึมเศร้า) ขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวช่วยบอกโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรงเป็นประจำ

ประเทศไทย ยาแก้ท้องผูกเป็นยาที่ใช้มากที่สุดชนิดหนึ่งของคนไทย จากการศึกษาที่ผ่านมาบอกให้เรารู้ว่า ท้องผูกมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ท้องผูกเกี่ยวข้องกับการกินอาหารที่มีเส้นใย (ผัก ผลไม้) น้อยเกินไป ขาดการออกกำลังกาย เพิ่มโอกาสเบาหวาน ดังนั้น อาการท้องผูกน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของท้องผูก

อาการท้องผูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ โดยจำแนกจากสาเหตุการเกิดภาวะท้องผูก ได้แก่ 

1) ท้องผูกที่มีปัจจัยส่งเสริมนอกจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Secondary Constipation)  ได้แก่

  • การอุดกั้นของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อหรือมะเร็งมากด หรือรวมไปถึงการตีบแคบของลำไส้จากพังผืดหรือการผ่าตัด
  • ภาวะการตั้งครรภ์
  • โรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
  • ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย  เช่น ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมสูง
  • ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาแก้ท้องเสีย รวมไปถึงยาลดการเกร็งของทางเดินอาหาร ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ รวมไปถึงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
  • โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยนอนติดเตียง

2) ท้องผูกที่มีความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Primary Constipation) ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของการทำงานที่ผิดปกติได้แก่

  • ท้องผูกชนิดที่มีการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ปกติ หรืออาจจะเรียกกลุ่มนี้ว่า ลำไส้แปรปรวนได้ ซึ่งจะพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของท้องผูกในกลุ่มนี้ และอาจจะพบว่า มีการรับรู้ความรู้สึกไวของลำไส้ตรงได้ในกลุ่มนี้
  • ท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย พบประมาณ 1/3 ของท้องผูกในกลุ่มนี้ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามช่องท้องที่ใช้ช่วยในการเบ่งมีแรงไม่เพียงพอ การที่กล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่สัมพันธ์กับการเบ่งถ่ายอุจจาระ โดยมีการเกร็งตัวหรือไม่คลายตัวดีพอขณะทำการเบ่งถ่าย
  • ท้องผูกชนิดที่ลำไส้มีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ พบได้น้อยที่สุดในกลุ่มนี้

11 สาเหตุของอาการท้องผูกได้ ดังนี้

  1. โรคของต่อมไร้ท่อและความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ เบาหวานที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ แคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ
  2. การมีสิ่งกีดขวางในทางเดินอาหาร เช่น เนื้องอกในลำไส้ และลำไส้ตีบตัน
  3. ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเตียง ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ผู้ป่วยโรคระบบประสาท
  4. ยาบางชนิดทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง เช่น ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน ยารักษาอาการทางจิตบางอย่าง ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม
  5. อาการท้องผูกจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ อายุยิ่งมากโอกาสท้องผูกจะยิ่งมากขึ้น
  6. ท้องผูกตามการสูบบุหรี่
  7. ท้องผูกเพราะโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมัน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง อ้วน
  8. ขาดการออกกำลังกาย ก็ท้องผูกได้เช่นกัน
  9. กินอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อย
  10. เครียด มีภาวะซึมเศร้า
  11. โรคบางชนิดจากระบบลำไส้

ผู้ที่มีอาการท้องผูกส่วนมากมักตรวจไม่พบสาเหตุ ในกลุ่มที่ตรวจไม่พบสาเหตุนี้ประมาณครึ่งหนึ่งเกิดจากภาวะลำไส้แปรปรวน ประมาณ 1 ใน 3 เกิดจากการเบ่งอุจจาระไม่ถูกวิธี ที่เหลือเกิดจากลำไส้เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ

ภาวะลำไส้แปรปรวน เกิดจากลำไส้ทำงานไม่ปกติ บางครั้งเคลื่อนไหวมากไปก็ทำให้ท้องเสีย บางครั้งเคลื่อนไหวน้อยไปก็ทำให้ท้องผูก อาการมักเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น และอาจมีอาการปวดท้องหรืออึดอัดท้องร่วมด้วย ซึ่งจะดีขึ้นเมื่อถ่ายอุจจาระ การกินอาหารที่มีกากมากขึ้น กินยาที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในทางเดินอาหาร หรือกินยาระบายจะช่วยบรรเทาอาการได้

ท้องผูกจากการเบ่งอุจจาระไม่ถูกวิธี 1 ใน 3 ของผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายให้คลายตัวได้ขณะถ่ายอุจจาระทำให้เกิดอาการท้องผูก ผู้ป่วยมักต้องใช้เวลาเบ่งอุจจาระนาน บางครั้งนานกว่า 30 นาที ในรายที่เป็นมากจะไม่ตอบสนองต่อยาระบาย ต้องใช้วิธีสวนทวารช่วย การสอนให้ผู้ป่วยรู้จักเทคนิคการขับถ่ายที่ถูกวิธีโดยใช้เครื่องมือพิเศษที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย ช่วยให้ 60-70% ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

ท้องผูกจากการที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ มักมีอาการท้องผูกเรื้อรังและต้องใช้ยาระบายเป็นประจำ ในรายที่มีอาการท้องผูกมากและใช้ยาระบายไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ทิ้งไป

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการท้องผูก

  1. กินอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
  2. ดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรดื่มกาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อุจจาระแห้ง
  3. การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
  4. ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ลำไส้ใหญ่จะมีการเคลื่อนไหวทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง มักเกิดขึ้นหลังตื่นนอนและหลังอาหาร หากกลั้นอุจจาระไว้ในช่วงนั้น โอกาสที่จะรู้สึกอยากถ่ายในวันนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้นอีก จึงควรถ่ายให้เป็นเวลา โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
  5. ไม่ควรทำอย่างอื่นขณะขับถ่าย เช่น อ่านหนังสือ กรณีที่เป็นส้วมชักโครก ควรนั่งโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้น
  6. หากจำเป็นต้องใช้ยาระบายควรปรึกษาแพทย์ และเริ่มใช้ยาระบายที่ช่วยให้เกิดการขับถ่ายอย่างเป็นธรรมชาติและปลอดภัยก่อน โดยเฉพาะยาที่ช่วยในการดูดน้ำเข้ามาในอุจจาระหรือลำไส้ หรือสารที่เพิ่มปริมาณกากอาหาร

“ยาแก้ท้องผูก” เลือกใช้ให้ถูกชีวิตปลอดภัย

ยาแก้ท้องผูก เป็นยาที่คนไทยนิยมใช้กันมากที่สุดชนิดหนึ่ง ยาตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวมากขึ้นกว่าปกติเพื่อให้ขับถ่าย หากใช้บ่อยๆ ในระยะยาวลำไส้ใหญ่จะเกิดการหย่อนยาน และไม่สามารถบีบตัวเองได้ จนเราไม่สามารถขับถ่ายเองได้หากไม่กินยาแก้ท้องผูก

ยาระบายชนิดเพิ่มใยอาหาร ลักษณะเป็นผง ชงละลายกับน้ำ เช่น ฟัยโบเจล/ มิวซิลิน เอสเอฟ/ แพลนทาเบ็น/ เป็นยาระบายที่ปลอดภัยหากใช้อย่างถูกวิธี

ยาระบายชนิดดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ เช่น เอ็มโอเอ็ม (มิลค์ ออฟ แมกนีเซีย)/ แลคตูโลส/ ข้อเสีย สูญเสียกลือแร่ ช่น โปแตสเซียมและโซเดียม

ยาระบายชนิดที่ช่วยทำให้อุจจาระนุ่ม เช่น มอร์กาแลกซ์/ ไดอิอกตอล/ คูนนนเลท/ ลูเช็ทต้า/ มีประสิทธิภาพต่ำ

ยาระบายที่กระตุ้นการบีบตัวของลำใส้ เช่น ดัลโคแลกซ์/ มะขามแขก (เซนน่า)/ มีผลข้างเคียงหลายประการ และอาจเป็นอันตรายต่อตับ ไม่แนะนำให้ใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

แนะนำให้ผู้ที่ท้องผูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และใช้ยาเท่าที่จำเป็น เช่น ใช้เมื่อมีอาการท้องผูกติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป

เมื่อไรที่ผู้ป่วยอาการท้องผูกควรไปพบแพทย์

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกจะตรวจไม่พบโรคทางกาย มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ 10 ที่จะพบสาเหตุ มีการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ไม่มีอาการผิดปกติ (อาการหรือลักษณะเตือน) มีโอกาสเป็นมะเร็งหรือเนื้องอกในลำไส้ไม่ต่างจากคนปกติในวัยเดียวกัน

การวินิจฉัยท้องผูก

  • การซักประวัติ
  • การตรวจร่างกายทั่วไป รวมถึงการตรวจทางทวารหนัก (Rectal Examination) โดยใช้นิ้วมือ ถ้าได้รับการตรวจกับแพทย์ที่มีความชำนาญจะได้ข้อมูลของการตรวจที่รวมถึงลักษณะโดยรอบ การตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติรอบ ๆ ทวารหนัก การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดบางส่วน โดยจะให้ผู้ป่วยออกแรงเบ่งและขมิบทวารหนักประกอบด้วย เพื่อประเมินกำลังของกล้ามเนื้อ
  • การตรวจเพิ่มเติมตามการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทางเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการท้องผูก มีหลายวิธีประกอบกัน ได้แก่
    • ส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อแยกภาวะอุดกั้นหรือตีบแคบของลำไส้ โดยจะให้ยาระงับประสาทอ่อน ๆ ก่อนการตรวจ จากนั้นจะใช้กล้องส่องตรวจสอดผ่านทางทวารหนัก
    • ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อในการขับถ่ายและการรับรู้ความรู้สึกของลำไส้ตรง (Anorectal Manometry Test) ได้แก่ ตรวจดูการรับรู้ความรู้สึกของลำไส้ตรงเวลาอุจจาระลงมาว่าปกติหรือรู้สึกช้ากว่าปกติหรือไม่ รวมถึงการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้การขับถ่าย ได้แก่ กล้ามเนื้อช่องท้อง กล้ามเนื้อเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักเนื่องจากการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำให้เกิดท้องผูกได้
    • การตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยการกลืนแคปซูลเฉพาะแบบที่ใช้วัดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร โดยมีแบบอาศัยการฉาย X-Ray ติดตามการเคลื่อนไหวตามกำหนดวันนัดหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ไร้สายที่จะมีเครื่องรับสัญญาณให้ผู้ป่วยไว้
[Total: 3 Average: 5]

Leave a Reply