ภาวะตัวเย็นเกิน

ภาวะตัวเย็นเกิน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำเกิน อันเป็นผลมาจากการสัมผัสถูกความหนาวเย็น เช่น อยู่ในอากาศหนาว หรือแช่ในน้ำที่เย็นจัด ทำให้อุณหภูมิแกน (core temperature) ของร่างกายลดต่ำกว่า 35ซ.เป็นเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะหัวใจและสมองได้รับผลกระทบและทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติเกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง เป็นอันตรายถึงตายได้

มักพบในผู้ที่เผชิญกับความหนาวเย็นโดยขาดการ ป้องกันร่างกายให้อบอุ่นเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

สาเหตุ ภาวะตัวเย็นเกิน

                   1. เกิดจากการสัมผัสกับความหนาวเย็น เช่น อากาศหนาว หรือแช่อยู่ในน้ำเย็นจัด มักพบในคนอายุ ไม่มากที่ร่างกายแข็งแรงเกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่

                   2. เกิดจากร่างกายสูญเสียกลไกปรับอุณหภูมิทำให้ไม่สามารถสร้างและเก็บความร้อนในร่างกายได้ มักพบในผู้สูงอายุ (มากกว่า65 ปี) ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง อยู่ก่อน (เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือ อัมพาต โรคสมองเสื่อมหรือปัญญาอ่อน พาร์กินสัน เบาหวานที่มีภาวะประสาทเสื่อม ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดอาหาร เป็นต้น) ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือ กินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาท บุคคลกลุ่มนี้ เมื่อสัมผัสอากาศหนาวเย็นพอประมาณ (ไม่ถึงกับหนาวมาก) อุณหภูมิร่างกายก็จะลดลงถึงขั้นเป็นอันตรายได้

อาการ

                ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น พูดอ้อแอ้ เดินเซ งุ่มง่าม อ่อนเพลีย ง่วงซึม หงุดหงิด สับสน ความสามารถในการคิดและตัดสินใจด้อยลง (ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่ากำลังได้รับอันตราย) และหยุดหายใจ

การป้องกัน ภาวะตัวเย็นเกิน

                การป้องกันอันตรายจากความเย็น ควรปฏิบัติดังนี้

                     1. สวมใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่นเพียงพอ ห่มผ้าห่มหรือผ้านวมหนา ๆ หรือผิงไฟให้อบอุ่น

                     2. หลีกเลี่ยงการออกไปสัมผัสอากาศหนาวหรือ ลมหนาวนอกบ้าน ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้เพียงพอ รวมทั้งปกคลุมถึงหน้าและศีรษะใส่ถุงมือถุงเท้า

                     3. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

                     4. ในช่วงอากาศหนาวเย็น ควรดูแลกลุ่มเสี่ยง (เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) เป็นพิเศษ ไม่ให้ได้รับอันตราย

1. แม้ว่าในบ้านเราอากาศจะไม่หนาวมาก แต่ในช่วงฤดูหนาวในแต่ละปี ก็พบมีรายงานผู้เสียชีวิต จาก อากาศหนาวในภาคเหนือ และภาคอีสาน ดังนั้น เมื่อย่าง เข้าฤดูหนาวจึงควรหาทางป้องกันไม่ให้รับอันตราย โดย เฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง

                      2.โรคนี้จัดว่าเป็นภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินร้ายแรง หากพบผู้ป่วยถูกความหนาวเย็น และมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ควรรีบให้การปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลทันที

การรักษา ภาวะตัวเย็นเกิน

                เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จำเป็นต้องให้การรักษา อย่างเร่งด่วน และรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะรีบหาวิธีทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น เช่น ห่ม ผ้านวมหรือผ้าห่มหนา ๆ แช่น้ำอุ่นหรือประคบด้วยน้ำอุ่น ห่มผ้าห่มไฟฟ้า (electric blanket) ให้สารน้ำที่อุ่นเข้าทางหลอดเลือดดำ ให้หายใจอากาศที่อุ่นเข้าร่างกาย การสวนน้ำอุ่นทางกระเพาะอาหาร ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ ช่องท้อง โพรงเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

                ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจหรือชีพจรไม่เต้น จะต้องรีบ ทำการกู้ชีพ (CPR)ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนอให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ปรับดุลอิเล็กโทรไลต์ในเลือด

                แพทย์จะประเมินอาการและภาวะแทรกซ้อนโดย การตรวจพิเศษ เช่นตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น และทำการแก้ไขภาวะผิดปกติ ตามที่ตรวจพบ

                ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงและระยะเวลาที่ เป็นก่อนมาถึงโรงพยาบาล ถ้าได้รับการรักษาได้เร็ว ก็มี โอกาสรอดชีวิตมากว่าร้อยละ 75

                แต่ถ้าได้รับการรักษาช้าเกินไป หรือมีปัจจัยเสี่ยง (เช่น โรคเรื้อรัง) อยู่ก่อน ผลการรักษาก็มักไม่ดี

[Total: 0 Average: 0]