โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischaemic heart disease; Myocardial ischemia) เป็นอาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจในขณะนั้น
สาเหตุ หัวใจขาดเลือด
เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื่อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
อาการ หัวใจขาดเลือด
หลอดเลือดหัวใจตีบยังไม่มากเท่าไรจะไม่มีอาการ แต่เมื่อใดที่ หลอดเลือดตีบมากแล้วจะมีอาการ
- เจ็บและแน่นหน้าอก
- หายใจไม่เต็มปอด
- เหนื่อยง่าย เหงื่อออกและตัวเย็น
- หัวใจเต้นแรง หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจผิดจังหวะ
- บางรายอาจ หมดสติ หรือ ภาวะหัวใจหยุดเต้น
การป้องกัน หัวใจขาดเลือด
หัวใจขาดเลือดเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อมตามอายุ จึงไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ 100% แต่สามารถช่วยชะลอการดำเนินโรคได้ ด้วยมีวิธีป้องกันตามนี้
- เลิกบุหรี่ โอกาสเสี่ยงที่เคยมีจะลดลงจนใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ยังช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพองอีกด้วย
- ตรวจเลือดเพื่อหาระดับไขมันในเลือดอย่างละเอียด หากพบว่าไขมันสูงมากกว่าค่าที่แนะนำให้ควบคุมอาหารโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ร่วมกับการออกกำลังกาย หากไม่ได้ผลควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการใช้ยา
- หากมีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน จำเป็นต้องควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วน
- ออกกำลังกาย เช่น แอโรบิค วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างสม่ำเสมอ
- ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
การรักษา หัวใจขาดเลือด
เมื่อมีการตรวจโดยแน่ชัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตรวจโดยการเดินออกกำลังกายบนสายพานหรือโดยวิธีการใส่สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และฉีดดูตำแหน่งการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นต้น แพทย์จะประเมินภาวะความรุนแรงของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย มี 2 วิธี ต้องรักษาควบคู่กันไป คือ
- การรับประทานยา
- การเปลี่ยนแปลงกิจวัตร บางอย่าง