โรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง

โรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (Ventricular Septal Defect, VSD) เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุดร้อยละ 25-30 ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการแบ่งห้องหัวใจของทารกขณะอยู่ในครรภ์มารดาทำให้มีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา

อาการ โรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง

ขึ้นกับขนาดของรูรั่วและแรงต้านทานหลอดเลือดในปอด ในกรณีที่รูรั่วมีขนาดเล็ก (small VSD) เด็กจะไม่มีอาการใดๆ มักตรวจร่างกายพบโดยบังเอิญ ส่วนในเด็กที่มีรูรั่วขนาดกลางหรือใหญ่ (moderate or large VSD) จะมีภาวะหัวใจวาย โดยจะมีอาการได้ตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ดูดนมได้ช้า เช่น แต่ละมื้อนานกว่า 20 นาที เลี้ยงไม่โต และมีอาการของปอดอักเสบซ้ำๆ

เด็กทารกที่เป็นโรคหัวใจ VSD จะมีอาการเหนื่อยหอบและหัวใจเต้นเร็วจากนํ้าท่วมปอดส่งผลให้มีนํ้าหนักตัวน้อยและพัฒนาการช้า

การรักษา โรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง

ปัจจุบันได้มีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง (VSD device closure) วิธีการนี้ไม่ต้องทำผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามในการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะทำการรักษาและหลังการรักษา ดังนั้นพยาบาลต้องพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลโดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจแต่กำเนิด การสวนหัวใจและการรักษาเพื่อวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย VSD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะกล่าวถึงโรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (VSD) อาการและอาการแสดง การรักษาด้วยการใส่อุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ภาวะแทรกซ้อน การดูแลรักษาพยาบาลในระยะก่อนและหลังการใส่อุปกรณ์ปิดรูรั่วของผนังหัวใจห้องล่าง 

  1. การรักษาทั่วไป ให้ยาควบคุมอาการถ้ามีภาวะหัวใจวาย
  2. การรักษาจำเพาะ การผ่าตัดหรือปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ผ่านสายสวนหัวใจ ซึ่งมีข้อบ่งชี้ดังนี้
[Total: 1 Average: 4]