โรคปอดรั่ว ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)

Pneumothorax คือ ภาวะที่มีลมรั่วออกจากถุงลมเข้าไปขังอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ลมจะเข้าไปดันทำให้ปอดแฟบ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หากมีลมรั่วปริมาณมากจะเป็นผลให้ขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในที่สุด

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งจะนำไปสู่สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตได้ เช่น การติดเชื้อ การอักเสบ การมีของเหลวคั่งในปอดหรือภาวะน้ำท่วมปอด (ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ ความดันโลหิตสูง ไตเสื่อม หรือไตวาย)

ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด สามารถแบ่งออกได้เป็น

  1. Spontaneous Pneumothorax

หมายถึง ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดขึ้นเองในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพที่ปอดมาก่อน (primary spontaneous pneumothorax; PSP) หรือในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในปอดอยู่เดิม (secondary spontaneous pneumothorax)

  • Primary Spontaneous Pneumothorax คือภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดขึ้นเองในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพที่ปอดมาก่อน มักพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง คิดเป็นอัตราส่วน 15 รายต่อผู้ป่วยหนึ่งแสนรายต่อปี และ 5 รายต่อผู้ป่วยหนึ่งแสนรายต่อปี ตามลำดับ โดยมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่สูงมาก รวมถึงผู้ป่วยกลุ่มโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ เช่น Marfan’s syndrome เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ โดยพบว่าผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ถึงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งมีความเสี่ยงเพียงร้อยละ 0.1 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเชื่อว่าอาจมีความผิดปกติในเชิงโครงสร้างของปอดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจไม่ได้ตรวจพบ หรือไม่มีอาการและอาการแสดงที่ผิดปกติมาก่อน ดังที่มีการศึกษาพบว่า มีการตรวจพบความผิดปกติที่เรียกว่า subpleural bleb ที่บริเวณส่วนยอดของปอดได้มากถึงร้อยละ 90 ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะนี้ ภายหลังจากที่ได้นำผู้ป่วยตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจดูช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยกล้อง (thoracoscopy) ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของการเกิดพยาธิสภาพดังกล่าว เชื่อว่าอาจเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจขนาดเล็ก (small airway obstruction) ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มีเซลล์อักเสบ (inflammatory cell) ภายในทางเดินหายใจขนาดเล็กมากกว่าปกติ เป็นผลให้ถุงลมมีการโป่งขยาย (emphysema-like changes; ELC) คล้ายภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary diseases; COPD) นอกจากนั้นอาจเป็นเพราะความแตกต่างของความดันในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งมีค่าเป็นลบเมื่อเทียบกับความดันบรรยากาศ (negative pleural pressure gradient) เพิ่มขึ้นของบริเวณยอดปอดเมื่อเทียบกับส่วนฐาน ทำให้เกิด subpleural bleb ขึ้นบริเวณยอดปอดได้
  • Secondary Spontaneous Pneumothorax คือ ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเกิดในปอดที่มีพยาธิสภาพอยู่เดิมพบในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 1 โดยพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ประมาณ 50-70% นอกจากนั้นยังพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งปอด และผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของปอด รวมถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น cystic fibrosis เป็นต้น
  1. Iatrogenic Pneumothorax

หมายถึง ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดภายหลังการกระทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น การเจาะดูดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด การตัดชิ้นเนื้อปอด เป็นต้น

  1. Traumatic Pneumothorax

หมายถึง ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ

สาเหตุ โรคปอดรั่ว ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)

  1. การเกิดอุบัติเหตุ เช่น ได้รับแรงกระแทกบริเวณหน้าอก การถูกอาวุธของมีคมแทงที่ปอด ภาวะที่แรงกันอากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการดำน้ำ หรือการขึ้นในที่สูง
  2. การเจ็บป่วย เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหอบหืด โรคไอกรน โรคปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง
  3. เกิดขึ้นเอง โดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการ โรคปอดรั่ว ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)

อาการและอาการแสดงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ปริมาณของลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด อัตราเร็วในการสะสมของลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด และความผิดปกติของปอดเดิมของผู้ป่วย เป็นต้น โดยอาการที่อาจพบ ได้แก่ เจ็บหน้าอกข้างเดียวกับที่มีลมรั่ว เหนื่อย หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก อาการแสดงที่สามารถตรวจพบได้ เช่น การขยับตัวของทรวงอกลดลงในข้างที่มีลมรั่ว (decrease lung expansion) การได้ยินเสียงหายใจเบาลง และเคาะทรวงอกได้เสียงโปร่งมากกว่าปกติ (hyperresonance) เป็นต้น

หากผู้ป่วยที่สงสัยภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดและมีความผิดปกติของสัญญาณชีพ ให้คิดถึงภาวะ tension pneumothorax ด้วย เนื่องจากต้องการการรักษาอย่างรีบด่วนเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย

ทำให้ปอดแฟบ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หากมีลมรั่วปริมาณมากจะเป็นผลให้ขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในที่สุด

การรักษา โรคปอดรั่ว ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)

1การให้ออกซิเจนขนาดสูง
2. การสอดท่อเพื่อระบายลมออกจากปอด
3. การเชื่อมเยื่อหุ้มปอดด้วยยา
4. การผ่าตัด

[Total: 1 Average: 5]