ปัสสาวะบ่อย

ภาวะปัสสาวะบ่อย (urinary frequency) คือ ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย บางรายไม่รู้ตัวว่าเป็นอยู่หรือไม่รู้ตัวว่ามีอาการส่อแววว่าเข้าข่ายโรคนี้ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าคนทั่วไป ทุกครั้งที่ปวดจะมีอาการรุนแรงที่ต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ อาจปวดทุกชั่วโมงจนไม่เป็นอันทำอะไร แม้แต่ตอนกลางคืนก็นอนไม่ได้เพราะต้องลุกมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน สร้างความทุกข์ทรมานและความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น

ในภาวะคนปกติ เมื่อมีน้ำอยู่ในกระเพาะปัสสาวะในปริมาณครึ่งหนึ่งของกระเพาะปัสสาวะ คนทั่วไปจะเริ่มรู้สึกหน่วงๆ ยังไม่ถึงขั้นที่เรียกว่าปวด แต่หากเดินผ่านห้องน้ำก็อาจจะแวะเข้าห้องน้ำ เพื่อปลดความหน่วงนั้นทิ้งไป แต่ถ้ายังหาห้องน้ำไม่ได้ หรือติดภารกิจอื่นอยู่ จะยังไม่ขวนขวายที่จะเข้าห้องน้ำ กระทั่งมีน้ำอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนเต็ม กระเพาะปัสสาวะจะเกิดการบีบตัวและปวดในที่สุด และเมื่อปวดคนปกติจะเข้าห้องน้ำและถ่ายปัสสาวะตามลำดับ

แต่ถ้าหากเป็นคนที่ผิดปกติหรือมีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยเกือบทุกชั่วโมง หากเป็นเวลากลางคืนจะนอนไม่เพียงพอเพราะต้องลุกมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน ซึ่งกระเพาะปัสสาวะจะเกิดการบีบตัวทั้งที่น้ำยังไม่เต็มกระเพาะปัสสาวะ เมื่อขับถ่ายออกมาจะมีปริมาณน้อยสวนทางกับอาการปวด เพราะคนที่มีภาวะนี้ จะรู้สึกปวดหนักมากและต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ และอาจกลั้นไม่อยู่จนต้องปล่อยราดออกมา

สาเหตุ ปัสสาวะบ่อย

การถ่ายปัสสาวะมากเกินไปอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น

  • โรคเบาหวาน การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  • โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติเช่นโรคเบาจืด โรคคุชชิง (Cushing syndromes)
  • โรคระบบทางเดินปัสสาวะทั้งกระเพาะปัสสาวะอักเสบและกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder)
  • ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุน้อยลงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
  • โรคทางระบบสืบพันธุ์ เช่นเนื้องอกมดลูกหรือรังไข่ ที่โตเบียดกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในผู้ชายทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยได้อาจมีอาการร่วมคือปัสสาวะลำบากต้องเบ่งและคอยนานกว่าปัสสาวะจะออกมา
  • ภาวะทางจิตใจ (psychogenic polydipsia)ทำให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติจึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ยาหรือสารบางชนิดเช่น ยาขับปัสสาวะ คาเฟอีนแอลกอฮอล์ มีผลทำให้ปัสสาวะบ่อยได้
  • โรคไตเรื้อรัง การทำงานของไตที่เสื่อมลงอาจจะทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย

อาการ ปัสสาวะบ่อย

อาการปัสสาวะบ่อยจนรู้สึกว่าผิดปกติหรือรบกวนชีวิตประจำวัน หรือมีอาการร่วมต่างๆดังนี้

  • ปัสสาวะมีเลือดปนหรือปัสสาวะขุ่น
  • ปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม
  • มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
  • มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณท้องน้อย หรือมีก้อนที่ท้องน้อย
  • ปัสสาวะขัด หรือปัสสาวะไม่ออกต้องเบ่ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีไข้ร่วมด้วย

การรักษา ปัสสาวะบ่อย

การจดบันทึกการดื่มของเหลวประจำวัน รูปแบบการถ่ายปัสสาวะ และน้ำหนักอาจช่วยให้แพทย์ทำความเข้าใจสภาพความเจ็บป่วยได้ดีขึ้น

ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้

  • ปัสสาวะมากเกินไปโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดื่มของเหลวมากหรือการรับประทานยา
  • ปัสสาวะมากกว่า 2.5 ลิตรต่อวัน
[Total: 0 Average: 0]