ตาได้รับบาดเจ็บรุนแรง

ตาได้รับบาดเจ็บรุนแรง คือ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ตา เช่น ถูกต่อย ถูกตี ถูก หนังสติ๊กยิง รถชน ถูกยิง ถูกแทง เป็นต้น ถ้าไม่รุนแรง อาจมีเพียงรอยฟกซ้ำที่ขอบตา หรือมีเลือดออกใต้ตาขาว ซึ่งมักจะไม่มีอาการปวดตา หรือตามัวแต่อย่างใด

แต่ถ้าได้รับบาเจ็บรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการ ตามืดมัวลงฉับพลันหรือปวดรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจาก มีเลือดออกในช่องลูกตาหน้า (anterior chamber) เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) เลือดออกในจอตา จอตาหรือม่านตาฉีกขาด แก้วตาเคลื่อน แผลกระจกตา เป็นต้น

ถ้ากระจกตาหรือตาขาวทะลุ จะมีของเหลวไหล ออกจากลูกตา ถ้าเป็นมากอาจมีเนื้อเยื่อภายในลูกตาออก มาจุกที่แผลพวกนี้มักเกิดจากถูกมีดหรือของมีคมแทง หรือเกิดจากแรงระเบิดจากถังแก๊ส หรือขวดน้ำอัดลม ถ้าได้รับการกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรงอาจ ทำให้เป็นต้อกระจก หรือต้อหินตามมาได้

การรักษา ตาได้รับบาดเจ็บรุนแรง

  1. ถ้าพบว่ามีของเหลวไหลออกจากลูกตา ซึ่งสงสัย ว่ากระจกตาหรือตาขาวทะลุ ควรใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดปิดตาแล้วส่งโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด่วน แพทย์จะให้การรักษาตามลักษณะและความรุนแรงของบาดแผล ถ้ารูไม่ใหญ่และยังไม่มีการติดเชื้อ (ได้รับบาดเจ็บนานไม่เกิน 6 ชั่วโมง) ก็อาจทำการเย็บซ่อนแซม หรือลักษณะบาดแผลยังมีทางแก้ไขให้สามารถมองเห็นได้ ก็จะทำการซ่อมแซมดวงตาและตามผล อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเห็นว่าดวงตามีความเสียหายรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขให้มองเห็นได้ ก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัด ควักลูกตาออก หรืออาจต้องให้ยาเกิดภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เพร็ดนิโซโลนโดยให้ผู้ป่วยกินในขนาดสูง เพื่อป้องกัน การอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลาง (uveitis) ของตาข้าง ที่ไม่ได้รับบาดเจ็บอีกข้างตามมา ซึ่งเรียกว่า ตาอักเสบรุนแรงแบบเป็นร่วม (sympathetic ophthalmia)* ทำให้อาจต้องสูญเสียตา 2 ข้าง 
  2. ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง หรือตามัวลงทันที หลังได้รับบาดเจ็บ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าสงสัยมี แผลกระจกตา ควรใช้ยาป้ายตาปฏิชีวนะ  เช่นโทบราไมซิน แล้วใช้ผ้าก๊อชปิดตาก่อนส่งโรงพยาบาล
  3. ในรายที่มีเลือดออกในช่องลูกตาหน้า ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว เวลาใช้ไฟส่องจะเห็นบริเวณหลังกระจกตามีลักษณะขุ่น หรือมีตะกอนเม็ดเลือดแดงลอยมาอยู่ ในน้ำเลี้ยงลูกตาในช่องลูกตาหน้า อาการเลือดออกอาจ เกิดขึ้นทันทีหรือหลังได้รับแรงกระแทรก 2-5 วันก็ได้อาการดังกล่าวเรียกว่า “Hyphema”

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีเลือด ออกมากควรให้นอนพักในโรงพยาบาล ทำการปิดตาให้ นอนพักบนเตียงเป็นเวลา 6-7 เพื่อรอให้เลือดค่อยๆ ดูดซึมออกไป

ถ้ามีอาการปวดตามาก หรือความดันลูกตาสูงควรให้อะเซตาโซลาไมด์ (เช่น ไดอะม็อกซ์) ลดความดันลูกตา เพื่อป้องกันมิให้กลายเป็นต้อหิน ถ้าจำเป็นอาจต้องผ่าตัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เป็นต้อหินตามมาได้

[Total: 0 Average: 0]