โรคอ้วน – น้ำหนักเกิน

โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีการสะสมไขมันในร่างกายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีอายุสั้นลง รวมถึงมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น หายใจติดขัด นอนกรน เหนื่อยง่าย การที่เราจะระบุว่าใครที่เข้าข่ายโรคอ้วนพิจารณาได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง คนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, โรคข้อเสื่อม, เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, มีบุตรยาก เป็นต้น

โรคอ้วนมีกี่ประเภท?

โรคอ้วนที่ผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  • อ้วนลงพุง เป็นการสะสมของไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหารและอื่นๆ
  • อ้วนทั้งตัว  คือการมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ

โดยจะใช้ค่าร้อยละไขมันในร่างกาย > 20 ในชาย หรือ > 30 ในหญิง  ภาวะไขมันสะสมอาจมาจากไขมันใต้ผิวหนังมากหรือจากไขมันในช่องท้องมาก ซึ่งวิธีวัดไขมันมีหลายรูปแบบ ที่นิยมใช้คือการวัดจากดัชนีมวลกาย (BMI) [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) /ส่วนสูง (เมตร)]   

 ค่าดัชนีมวลกาย(นานาชาติ)ค่าดัชนีมวลกาย(ประชากรเอเชีย)
น้ำหนักตัวต่ำ< 18.5< 18.5
น้ำหนักเกิน25.0 – 29.923.0 – 27.5
อ้วนระดับ 130.0 – 34.9≥ 27.5 
อ้วนระดับ 235.0 – 39.9 
อ้วนระดับ 3≥ 40.0 

สาเหตุ โรคอ้วน

  1. ได้พลังงานจากอาหารมากเกินไป
  2. การขาดการออกกำลังกาย
  3. ความเสี่ยงทางพันธุกรรม

อาการ โรคอ้วน

ผู้ที่มีภาวะอ้วน คือ ผู้ที่มีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ คือ หายใจติดขัด นอนกรน เหนื่อยง่าย ร้อนง่าย เหงื่อออกง่าย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ยากลำบาก จนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ รวมถึงความไม่มั่นใจในตนเอง อาจทำให้มีปัญหาด้านความสัมพันธ์หรือการเข้าสังคม และปัญหาสุขภาพจิตอย่างภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นตามมา

การรักษา โรคอ้วน

เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ควบคุมอาหารและพฤติกรรมการบริโภค ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ

ส่วนการรักษาทางการแพทย์ แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณี อาจมีบางรายที่ควรรับประทานยาลดน้ำหนักภายใต้ใบสั่งแพทย์ควบคู่กับการดูแลตนเอง หรือบางราย แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ก่อนจะรักษาในขั้นต่อ ๆ ไป

[Total: 0 Average: 0]