ท่อน้ำดีอักเสบ

ท่อน้ำดี (bile ducts) เป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างตับ ถุงน้ำดี และลำไส้เล็กส่วนต้น การอักเสบของท่อน้ำดีมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากภาวะอุดกั้นของก้อนนิ่ว หรือก้อนเนื้องอกโรคนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรงถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เป็นโลหิตเป็นพิษเสียชีวิตได้

การอุดตันของทางเดินน้ำดีไม่ว่าจากนิ่ว มะเร็ง หรือการตีบแคบของท่อเอง รวมทั้งการใส่สายหรือเครื่องมือเข้าไปในท่อน้ำดี มีโอกาสจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจากในลำไส้ย้อนกลับขึ้นไป ทำให้เกิดโรคท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมีความรุนแรงและอัตราตายสูงกว่าโรคถุงน้ำดีอักเสบโดยทั่วไปมาก แต่โชคดีที่อุบัติการณ์ของโรคนี้พบได้ไม่บ่อยนัก

สาเหตุ ท่อน้ำดีอักเสบ

การอักเสบของท่อน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากการอุดกั้นของท่อน้ำดี  ซึ่งส่วนมากเนื่องมาจากมีก้อนนิ่วอุดกั้นส่วนน้อยอาจมีการอุดกั้นเนื่องจากก้อนเนื้องอกหรือ มะเร็ง หรือสาเหตุอื่นๆ ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบของท่อน้ำดี ซึ่งมักจะลุกลามขึ้นไปถึงท่อน้ำดีเล็กๆ ที่อยู่ในตับ ซึ่งเรียกว่า ท่อตับ (hepaticducts)

อาการ ท่อน้ำดีอักเสบ

การรักษา ท่อน้ำดีอักเสบ

หากสงสัยควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24ชั่วโมง ถ้ามีภาวะซ็อกหรือโลหิตเป็นพิษให้ส่งโรงพยาบาลทันที อาจให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาลดไข้ ให้น้ำเกลือถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก มักต้องตรวจหาสาเหตุ (เช่น เอกซเรย์  อัลตราซาวนด์ เจาะเลือด เพาะเชื้อ) ให้ยาปฏิชีวนะ และทำการผ่าตัด

ในระยะแรกผู้ป่วยจะได้รับการงดน้ำงดอาหารเพื่อเตรียมการตรวจ, การผ่าตัด, หรือ การทำหัตถการฉุกเฉิน และจะได้รับน้ำเกลือ, ยาระงับปวด, กับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดไปก่อน ระยะแรกนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการบันทึกปริมาณน้ำเข้า-น้ำออกของร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งอาจเป็นการใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องแน่นอน หรือให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะลงขวดตวงทุกครั้งที่ปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยควรจะให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง ข้อมูลของปริมาณน้ำเข้า-น้ำออกนี้ รวมทั้งความดันโลหิต จะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเริ่มยาช่วยพยุงความดันได้ทันทีหากยาปฏิชีวนะที่เลือกให้ในตอนแรกไม่ได้ผล

เมื่อผลการเพาะเชื้อออกแล้ว แพทย์อาจทำการเปลี่ยนชนิดของยาปฏิชีวนะเพื่อให้เหมาะสมกับเชื้อที่ก่อโรคมากขึ้น และเมื่ออาการของผู้ป่วยดีขึ้นก็ค่อยพิจารณาทำ ERCP หรือการผ่าตัดเพื่อระบายท่อน้ำดีที่อุดตันต่อไป

[Total: 0 Average: 0]