มาลาเรีย

มาลาเรีย ( มาลาเรีย  ไข้จับสั่น ไข้ป่า ก็เรียก) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา  มักพบในบริเวณที่เป็น ป่าเขา จึงพบได้แทบทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพฯในบริเวณที่เป็นตัวจังหวัด ตัวอำเภอ และที่ ๆ เป็นทุ่งนา กว้างห่างจากป่าเขา) เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียมฟาลซิพารัม (Plasmodium  Falciparum) กับ พลาสโมเดียมไวแวกซ์ Plasmodium  vivax)

มาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณร้อยละ 50 – 80 มักมีปัญหาดื้อยาและมีภาวะแทรกซ้อนได้มาก (เช่นมาลาเรียขึ้นสมอง ไตวาย) เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

มาลาเรียชนิดไวแวกซ์  พบได้ร้อยละ 20 – 50 มักไม่ดื้อยา และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย เชื้อนี้สามารถหลบ ซ่อนอยู่ในตับได้นานๆ ทำให้มีอาการกำเริบได้บ่อยโดย ที่ไม่ต้องได้รับเชื้อใหม่ (จากการถูกยุงก้นปล่องกัด)

มักมีประวัติว่าอยู่ในเขตป่าเขา หรือกลับจากเขต ที่มีมาลาเรีย  เช่น ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบฯ ชุมพร สุราษฏร์ธานี ยะลา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สกลนคร  ขอนแก่น เลย เพชรบูรณ์ แพร่ น่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน เป็นต้น หรือเคยได้รับเลือด หรือเคยเป็นไข้มาลาเรียมาก่

สาเหตุ มาลาเรีย

เกิดจากเชื้อมาลาเรีย  ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่อง (anopheles) เป็นพาหะนำโรค คือต้องถูก ยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค

ระยะฟักตัว มาลาเรีย

  • ชนิดฟาลซิพารัม 9 -14 วัน (เฉลี่ย 12 วัน )
  • ชนิดไวแวกซ์  12 -17 วัน (เฉลี่ย 15 วัน) อาจนาน 6 - 12 เดือน

ถ้าเกิดจากการให้เลือด  อาจมีระยะฟักตัวสั้นกว่านี้ ถ้ามีการกินยาป้องกันมาลาเรียก็อาจมีระยะฟักตัวยาวกว่านี้

โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่อยู่หรือเข้าไปในเขตป่าเขาแล้วถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด ส่วนผู้ที่อยู่ใน เมืองและไม่มีประวัติเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา อาจ ติดเชื้อจากการได้รับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อมาลาเรีย หรือได้รับเชื้อที่สนามบินเนื่องจากยุงก้นปล่องอาจติดมากับ เครื่องบินโดยบังเอิญ (ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก)

อาการ มาลาเรีย

อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่อง กัดประมาณ 9 – 17 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนก็ได้) ใน  2 – 3  วันแรก อาจมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเดินร่วมด้วย  ต่อมาจึงจะมีอาการไข้ยับสั้นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย

 อาการจับไข้  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ  ดังนี้

1. ระยะหนาวสั่น  มีอาการหนาวสั่นมากและไข้ เริ่มขึ้น ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาจมีคลื่นไส้  อาเจียน เบื่ออาหาร ระยะนี้กินเวลา 20 - 60 นาที

2. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงประมาณ 40

 ปวดศีรษะมาก อาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา หน้าแดง ตาแดง กระสับกระส่ายเพ้อ  กระหายน้ำ  ชีพจรเต้นเร็ว  อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ในเด็กอาจชักได้  กินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (อาจนาน 3-8 ชั่วโมง)

3. ระยะเหงื่อออก จะมีเหงื่อออกซุ่มทั้งตัวไข้จะ ลดลงเป็นปกติ  แต่จะรู้สึกอ่อนเพลียและหลับไป กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดไวแวกซ์  มักจับไข้วันเว้นวันหรือทุก 48 ชั่วโมง เวลาไม่จับไข้จะรู้สึกสบายดี  มักจะ คลำได้ม้ามโตในปลายสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะมีไข้วันเว้นวันอยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน (หรืออาจนานกว่านั้น) แล้วจะหายไปเอง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง  แม้ว่าไข้จะหายไปแล้วแต่ก็อาจกลับเป็นได้ใหม่หลังจากหารไป 2 – 3 สัปดาห์ หรือ 2 – 3 เดือน แตะอาการจะน้อยกว่าครั้งแรก  ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบเป็นๆ หาย ๆ บ่อย และมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง บางรายอาจกินเวลานานถึง 2 – 3 ปีกว่าจะหายขาดจึงเรียกว่า มาลาเรียเรื้อรัง

ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม  มักจับไข้ทุกวัน หรือทุก 36 ชั่วโมง แต่อาจจับไม่เป็นเวลา  อาจจับทั้งวัน หรือวันละหลายครั้ง  ระยะไม่จับไข้ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย และอาจมีไข้ต่ำๆ อยู่เรื่อยๆ บางรายอาจมีอาการปวดท้องท้องเดินร่วมด้วย  ม้ามจะโตในวันที่ 7 –10  ของไข้ ถ้าได้ รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไข้จะลงภายใน 3 – 5 วัน ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงถึงตายได้  จึงเรียกว่า  มาลาเรียชนิดร้ายแรง

การป้องกัน มาลาเรีย

  1. เมื่อต้องเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา ควรป้องกัน ไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด โดยการนอนก้างมุ้ง ทายากันยุง
  2. ยาที่ใช้ป้องกัน ตามที่เคยแนะนำในอดีตนั้นพบว่าไม่ได้ผลมากนัก ในปัจจุบันจึงไม่แนะนำให้กินยา ป้องกันล่วงหน้า แต่แนะนำว่าถ้าออกจากป่าแล้วมีอาการไข้ หรือสงสัยเป็นมาลาเรีย ให้รีบทำการตรวจรักษา หรือในกรณีที่ต้องเข้าไปอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นที่มีเชื้อมาลาเรีย ดื้อต่อยาหลายชนิดเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ (ซึ่งเป็น ระยะฟักตัวของโรค) ก็ควรพกยารักษามาลาเรีย (ได้แก่ ควินิน เมโฟลควีน หรืออาร์ทีซูเนต)ไว้สำรองใช้ในยาม ฉุกเฉินเมื่อไม่สามารถตรวจเลือดได้ โดยใช้ขนาดที่ใช้รักษามาลาเรีย

การรักษา มาลาเรีย

1.หากสงสัย ควรส่งไปเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ถ้าพบว่าเป็นมาลาเรีย  ก็ให้การรักษาตามอาการ และให้ยารักษามาลาเรีย  ตามชนิดของเชื้อที่พบ ดังนี้

ก.  สำหรับมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม ให้ยารักษามาลาเรียขนานใดขนานหนึ่ง  ดังต่อไปนี้

  • ควินิน 3) ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 2 เม็ด (10 เกรน) วันละ 3 ครั้ง  ทุก 8 ชั่วโมง  ร่วมกับแตตราไซคลีน ขนาด 250 มก.ทุก 6 ชั่วโมง หรือร่วมกับดอกซีไซคลีน  วันละ 200 มก. เป็นเวลา 7 วัน
  • เมโฟลควีน  ขนาดปกติ (ผู้ใหญ่ ครั้งแรก 3 เม็ด อีก 6 ชั่วโมงต่อมาให้อีก 2 เม็ด รวม ทั้งหมด 5 เม็ด)
  • เมโฟลควีน ขนาดปกติ  ร่วมกับ เตตราไซคลีน  ขนาด 250 มก. ทุก 6 ชั่วโมง หรือ ดอกซีไซคลีน วันละ 200 มก. เป็นเวลา 7 วัน
  • อาร์ทีซูเนต ขนาดปกติ (ผู้ใหญ่ครั้งแรก 2 เม็ด ต่อไปให้ 1 เม็ดทุก 12 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 12 เม็ด แบ่งให้ 5 วัน)
  • อาร์ที่ซูเนต ขนาดปกติ (แบ่งให้ 5 วัน) หลังจากนั้นให้เมโฟลควินขนาดปกติ
  • อาร์ทีซูเนต (ย5.5) ขนาดครึ่งหนึ่งของ ขนาดปกติ (ผู้ใหญ่ให้ 6 เม็ด แบ่งให้ใน 2 วันครึ่ง โดยครั้งแรกให้ 2 เม็ด  ต่อไปให้ 1 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง)  หลัง จากนั้นให้เมโฟลควีน (ผู้ใหญ่ 3 เม็ด ครั้งเดียว)
  • อาร์ทีซูเนต  ผู้ใหญ่ให้วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด นาน 2 วัน (รวมทั้งหมด 800 มก.) หลังจากนั้นให้เมโฟควีน ขนาดปกติ

  ส่วนขนาดที่ใช้ในเด็กให้ดูรายละเอียดใน เรื่อง “การใช้ยา”ในภาค 2

ข. สำหรับมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ให้คลอโรควีน โดยแบ่งให้ 3 วัน หลังจากนั้นให้ไพรมาควีน  วันละครั้ง เป็นเวลา 14 วัน เพื่อจำกัดเชื้อมาลาเรียที่หลบซ่อนอยู่ในตับให้หมดไป แต่ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ มีภาวะพร่องเอนไซม์จี-6พีดี  เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ถ้าพบอาการดังกล่าว ควรหยุดยาและดื่มน้ำมากๆ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 5 วัน ควรส่งโรงพยาบาลอาจเป็นเพราะมาลาเรียดื้อยา หรือมีสาเหตุจากโรคอื่นเช่น สครับไทฟัส เล็ปโตสไปโรซิล กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค ท่อน้ำดีอักเสบ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น อาจต้องแล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ

3. ถ้ามีอาการสงสัยเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง (เช่น ซึมเศร้า เพ้อ ชัก หรือหมดสติ) หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซีดมาก ดีซ่าน ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย หอบ เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลด่วน

                การรักษา จำเป็นต้องรับผู้ป่วยรักษาไว้ในโรงพยาบาล (ให้การรักษาตามอาการ) เช่น ให้ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือ ให้เลือด ล้างไต เป็นต้น) ส่วนยามาลาเรียในระยะแรกอาจต้องให้ควินินหรืออาร์ทีซูเนตฉีดเข้าหลอด เลือดดำ จนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นยากิน

[Total: 1 Average: 5]