น้ำท่วมปอด: เมื่อหัวใจเป็นเหตุ

7 อาการโรคกระเพราะปัสสาวะอักเสบ เฝ้าระวัง

หัวใจกับปอด การทำงานที่ประสานกันอย่างลงตัว หัวใจ กับ ปอด เป็น อวัยวะที่ต้องประสานการทำงานอย่างใกล้ชิด การที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ผิดปกติ ย่อมทำให้ อีกอวัยวะ ทำงานผิดปกติตามไปด้วย ดังนั้นการที่ กล้ามเนื้อหัวใจ มีการทำงาน หรือ บีบตัวลดลง เช่น ใน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) จากไวรัส เช่น โควิด-19 หรือ ไม่ทราบสาเหตุก็จะส่งผลให้ปอดทำงานผิดปกติ

การเปลี่ยนแปลงที่หัวใจส่งผลถึงปอด การบีบตัวของหัวใจที่ลดลง ในที่นี่ หมายถึง หัวใจห้องล่างซ้าย ( left ventricle ) ทำให้เลือดไม่ถูกบีบออกไปหมดจากห้องหัวใจ เกิดการสะสม จนทำให้ความดันโลหิตในห้องหัวใจ สูงขึ้น ความดันที่สูงขึ้นนี้ จะถ่ายเทความดันไปยังหลอดเลือดในปอด ส่งผลให้ความดันหลอดเลือดในปอด โดยเฉพาะ หลอดเลือฝอย รอบๆถุงลม สูงขึ้น

ความดันที่สูงขึ้น มีผลอย่างไรกับปอด ความดันหลอดเลือดในปอดที่สูงขึ้น จะไล่ให้ น้ำในหลอดเลือดซึมออกมาจากหลอดเลือด และเข้าไปในถุงลม หรือ แทรกตามเนื้อเยื่อรอบๆถุงลม น้ำเหล่านี้จะเป็นตัวขัดขวาง การแลกเปลี่ยนอากาศ ที่ ถุงลม ที่แพทย์เรียกว่า น้ำท่วมปอด หรือ หัวใจล้มเหลว

ภาวะน้ำท่วมปอดนี้ ทำให้ออกซิเจนจากลมหายใจเข้าที่ผ่านลงมายังถุงลม ไม่สามารถซึมผ่านผนังถุงลมเข้าไปในหลอดเลือดได้ ในขณะเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ลำเลียง ในหลอดเลือด โดยเม็ดเลือดแดง ที่จะมาขับออก ผ่านผนังถุงลมก็ไม่สามารถขับออกผ่านถุงลมได้ ผลที่ตามมาคือ ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ

ผุ้ป่วยที่มีน้ำท่วมปอดมีลักษณะอย่างไร ผู้ป่วย โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ จะมีอาการ เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง และอาการที่สำคัญ ของผู้ป่วย น้ำท่วมปอด ก็คือ ผู้ป่วย มีอาการเหนื่อยมากขึ้นในท่านอนราบ( orthopnea ) นอกจากนี้ การไหลเวียนของเลือดกลับเข้าสู่หัวใจที่ไม่สะดวก ร่วมกับการที่ ร่างกายมีการดึงเกลือกลับที่ไตมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ขาบวม, ท้องโต หรือ น้ำหนักมากขึ้น รวมทั้งอาจจะตรวจพบ หัวใจโต, ฝ้าขาวในปอดทั้งสองข้างจากเอกซ์เรย์ปอด

[Total: 78 Average: 4.9]

Leave a Reply