Medical Tourism: ไต้หวันดันการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพสุดตัว เปิด รพ.รัฐอ้าแขนรับคนไข้ต่างชาติ

รัฐบาลไต้หวันโปรโมตธุรกิจการแพทย์ ดึงพ่อค้าไทยร่วมลงทุน ชี้เทคโนโลยี “ปลูกถ่ายตับ – ผสมเทียม” อันดับต้น ๆ ของโลก เผยปี 61 มีนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical Tourism มากกว่า 4.2 แสนคน 1 ใน 3 มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากกว่า 7,000 คน มาจากประเทศไทย ซึ่งหมายความว่า เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับไต้หวัน วันที่ 4 ธันวาคม 2562 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนทัล กรุงเทพฯ สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน ประจำประเทศไทย จัดงาน Taiwan Healthcare Seminar เพื่อโชว์ศักยภาพธุรกิจด้านสุขภาพของไต้หวัน โดยเชิญนักธุรกิจ ผู้บริหารโรงพยาบาล – ศูนย์การแพทย์ รวม 7 แห่ง ได้แก่ Nobel Eyes Institute สถาบันดูแลสายตา ผ่าตัดเลเซอร์ และผ่าตัดต้อกระจก,继续阅读”Medical继续阅读“Medical Tourism: ไต้หวันดันการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพสุดตัว เปิด รพ.รัฐอ้าแขนรับคนไข้ต่างชาติ”

PrEP: แนะปรับภาพลักษณ์ป้องกัน HIV เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ รู้สึกภูมิใจที่ได้ดูแลตัวเอง

หัวหน้าหน่วยพรีเวนชั่น ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ แนะปรับภาพลักษณ์ของการจัดบริการยาป้องกันการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (เพร็พ) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและทำให้ผู้ใช้รู้สึกภูมิใจที่ได้ดูแลตัวเองเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น ชี้หากบอกว่าเพร็พมีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงจะเข้าถึงคนจำนวนน้อยเพราะมีไม่กี่คนที่จะยอมรับว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยง พร้อมชูโมเดล “เพร็พพระองค์โสมฯ” ให้องค์กรชุมชนเป็นผู้ออกแบบบริการด้วยตัวเองเพื่อให้สอดคล้องความต้องการและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมารับบริการได้เป็นอย่างดี พญ.นิตยา ภานุภาค หัวหน้าหน่วยพรีเวนชั่น ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวบรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์การใช้เพร็พในประเทศไทยรวมทั้งโครงการเพร็พพระองค์โสมฯ” ในงานสัมมนาติดตามความคืบหน้าของการให้บริการเพร็พในประเทศไทยเพื่อเทิดพระเกียรติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในโอกาสที่ได้ทรงรับการถวายตําแหน่ง UNAIDS Goodwill Ambassador for HIV Prevention for Asia-Pacific ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2562 ที่ผ่านมา โดยฉายภาพให้เห็นว่าประเทศไทยเริ่มนำเพร็พ (การจัดบริการยาป้องกันการสัมผัสเชื้อเอชไอวี) เข้าสู่แนวทางการดูแลป้องกันและรักษาเอชไอวีตั้งแต่ 5 ปีก่อน จนปัจจุบันสามารถทำให้มีผู้ได้รับเพร็พ 7,260 ราย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะนำร่องอีก 2,000 ราย ขณะที่กลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับเพร็พมีถึง 143,098 รายถึงจะสร้าง Impact ในการควบคุมโรคได้继续阅读”PrEP:继续阅读“PrEP: แนะปรับภาพลักษณ์ป้องกัน HIV เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ รู้สึกภูมิใจที่ได้ดูแลตัวเอง”

PrEP: ‘อภ.-สปสช.’ เตรียมยารองรับกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิ 2,000 รายเริ่ม 1 ม.ค.63

อภ.เตรียมยาต้านไวรัสเอดส์ พร้อม รองรับบริการ PrEP ป้องกันเอดส์ในกลุ่มเสี่ยง ที่จะเริ่มเปิดให้บริการนำร่องในสถานพยาบาล 51 แห่ง ใน 1 มค. 63 นี้ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ปรับปรุงรายการบริการในสิทธิประโยชน์การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP) กลุ่มเสี่ยงสูงทุกกลุ่ม ในพื้นที่มีความพร้อม โดยเปิดให้บริการนำร่องในสถานพยาบาล 51 แห่ง ใน 21 จังหวัดให้บริการ PrEP ด้วยยา TENO-EM สำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 2,000 ราย ด้วยงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยองค์การฯ ได้มีการจัดเตรียมยา TENO-EM ไว้พร้อมสำหรับการบริการป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อว่า การให้บริการ继续阅读”PrEP:继续阅读“PrEP: ‘อภ.-สปสช.’ เตรียมยารองรับกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิ 2,000 รายเริ่ม 1 ม.ค.63”

ชิคุนกุนยา: ระวัง! ปี 63 ป่วยกว่า 5.7 พันรายใน 65 จังหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา ปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 5,728 ราย จาก 65 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่พบมากอายุ 25-34 ปี ภาคกลางมากที่สุด รองลงมาเหนือ อีสาน ใต้ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 5,728 ราย จาก 65 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 25-34 ปี (ร้อยละ 17.51) 35-44 ปี (ร้อยละ 17.20) และ 45-54 ปี (ร้อยละ15.50) ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 23.7继续阅读”ชิคุนกุนยา:继续阅读“ชิคุนกุนยา: ระวัง! ปี 63 ป่วยกว่า 5.7 พันรายใน 65 จังหวัด”

Telemedicine: ใกล้มือหมอ Application

ใกล้มือหมอ” คือ Application ที่มีรากฐานการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2557 ผ่านองค์ความรู้ของแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์การรักษาคนไข้มาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนกับว่ามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ

ติดพนัน: สังคมไทยไม่รู้เป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งที่ต้องรักษา

ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ สสส. เผยผลวิจัย พร้อมเปิดตัวหนังสือ “เสพติดพนัน: ความใหญ่โตของปัญหาและแนวทางแก้ไข” ชี้ คนติดการพนันแต่ละคนสร้างผลเสียหายให้กับครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ราว 10-17 คน สังคมไทยไม่รู้ “การติดพนัน” เป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งที่ต้องรักษา แนะรัฐตั้งสถาบันวิจัย เผยแพร่ความรู้ เยียวยา และป้องกันการติดพนัน โดยเฉพาะในเยาวชนอนาคตของชาติซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสุด วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ฃศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาวิชาการพร้อมเปิดตัวหนังสือ “เสพติดพนัน: ความใหญ่โตของปัญหาและแนวทางแก้ไข” โดยมี นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางกลุ่มแผนงานลดปัญหาจากการพนัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธานในพิธีเปิด รศ.วิทยากร เชียงกูล เจ้าของผลงานวิจัยและหนังสือ “เสพติดพนัน : ความใหญ่โตของปัญหาและแนวทางแก้ไข” เปิดเผยว่า ผลงานนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จัดทำขึ้นโดยหวังให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงปัญหาจากการพนัน อันจะนำไปสู่การร่วมมือในการป้องกันและลดผลกระทบจากการพนันในสังคมไทย จากการวิจัยเชิงเอกสารแล้วสรุปองค์ความรู้ ทำให้เห็นถึงความใหญ่โตของปัญหาจากการพนัน เข้าใจสาเหตุและผลกระทบ继续阅读”ติดพนัน:继续阅读“ติดพนัน: สังคมไทยไม่รู้เป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งที่ต้องรักษา”

บุหรี่ไฟฟ้า: พบผู้ป่วย ‘ปอดอักเสบ’ รายแรกในไทย สธ.เตรียมพร้อมระบบรายงานโรคใน รพ.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมระบบรายงานโรคฯ ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ หลังพบผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายแรกในไทย เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ เพราะนอกจากบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ แล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสิ่งผิดกฎหมายด้วย เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมควบคุมโรค ได้จัดเตรียมระบบรายงานโรคและภัยสุขภาพครอบคลุมไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ หลังพบผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อควบคุมและรับมือสถานการณ์การระบาดของภาวะปอดอักเสบที่อาจรุนแรงขึ้นอีก หลังประชาชนหลงเชื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรง อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยนั้น จากผลการสอบสวนโรคโดยผ่านความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ ชี้ชัดว่าภาวะโรคปอดอักเสบเกิดจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ผู้ป่วยรายดังกล่าวอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด มีอาการดีขึ้น ตอบสนองต่อการรักษา ในส่วนของกรมควบคุมโรคได้มีการจัดทำแนวทางในการรายงาน ตามระบบการรายงานโรคและภัยสุขภาพของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยพัฒนาเกณฑ์การวินิจฉัย จากแนวทางของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเเห่งสหรัฐอเมริกา (US-CDC) ซึ่งแนวทางดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติแล้ว และหลังจากนี้จะมีการแจ้งไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อขยายผลในการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากบุหรี่ไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ นพ.ขจรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะปอดอักเสบรุนแรงจากบุหรี่ไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และบุคคลรอบข้างที่สัมผัสควันหรือละอองไอจากบุหรี่ไฟฟ้า โดยโรคดังกล่าวอาจทำให้เกิดอาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดท้อง มีไข้ หรืออาจมีอาการน้ำหนักลดร่วมด้วย继续阅读”บุหรี่ไฟฟ้า:继续阅读“บุหรี่ไฟฟ้า: พบผู้ป่วย ‘ปอดอักเสบ’ รายแรกในไทย สธ.เตรียมพร้อมระบบรายงานโรคใน รพ.”

Nike เปิดตัวรองเท้าสำหรับ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ เน้นใส่สบายแม้ต้องยืนนาน และไม่ลื่น ไม่เปียกน้ำ

รองเท้ารุ่นใหม่ล่าสุดของยักษ์ใหญ่เครื่องแต่งกายกีฬาไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับนักกีฬาเหมือนทุกที แต่ครั้งนี้มีเป้าหมายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น เหล่าแพทย์และพยาบาล รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องที่ได้ยกย่องให้เป็น ‘วีรบุรุษ’ Nike ได้เปิดตัว Nike Air Zoom Pulses ซึ่งพัฒนามาจากรองเท้าวิ่งรุ่น Air Zoom แต่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลเด็ก OHSU Doernbecher ในพอร์ตแลนด์รัฐโอเรกอน โดยพบว่าในแต่ละวันพยาบาลต้องเดินประมาณ 4-5 ไมล์ และนั่งน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในระหว่างการทำงาน 12 ชั่วโมง ตัวรองเท้าได้รับการออกแบบให้รองรับการเคลื่อนไหวที่เร่งรีบ ที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ยึดเกาะได้ดี และไม่ลื่นแม้เดินผ่านน้ำหรือของเหลวอื่นๆ เน้นใส่สบายแม้ต้องยืนเป็นเวลานานๆ ด้วยพื้นรองเท้าที่นุ่มและกระชับ สามารถสวมใส่ได้ด้วยมือเดียว อีกทั้งเคลือบภายนอกด้วยวัสดุที่ทำให้ไม่เปียกน้ำ ง่ายต่อการเช็ดและทำความสะอาด เบื้องต้นจะเริ่มวางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ของ Nike ในวันที่ 7 ธันวาคม แต่ยังไม่เปิดเผยราคาที่จำหน่าย โดยส่วนหนึ่งของยอดขายจะถูกนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลเด็กของ DoernbecherTHE STANDARD

โคโรนา: อัตราป่วยตายจาก ‘โควิด-19’ ในไทย 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก 4 เท่า ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เบาหวานพบมากสุด

สธ.เผยอัตราป่วยตายจากโรคโควิด-19 ในไทย อยู่ที่ 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 6% สูงกว่าไทย 4 เท่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคเบาหวานมากสุด 41% เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 17 เม.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวตอนหนึ่งในการแถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า สถานการณ์ของไทยตอนนี้อยู่ในระดับที่ดี ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงเล็กน้อย ส่วนใหญ่สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า ซึ่งอยู่ในการติดตามของเราอยู่แล้ว นอกนั้นเป็นการติดจากการไปสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก อาชีพเสี่ยง ดังนั้นถือว่าประเทศไทยความเสี่ยงยังมีอยู่แต่ไม่มาก ในขณะที่ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศไม่มี เป็นผลจากการงดเที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม ที่น่าเสียใจคือรายที่เสียชีวิต เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เราประกาศเตือนตลอดอยู่แล้ว คือสูงอายุ มีโรคประจำตัว นพ.โสภณ กล่าวว่า ทั้งนี้ในจำนวนผู้เสียชีวิต 47 ราย คิดเป็นอัตราการป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 6% สูงกว่าไทย 4 เท่า แปลว่าการรักษาของไทยมีประสิทธิภาพดี แต่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย โดยในจำนวนที่เสียชีวิตพบว่าเป็นผู้สูงอายุ 20%继续阅读”โคโรนา:继续阅读“โคโรนา: อัตราป่วยตายจาก ‘โควิด-19’ ในไทย 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก 4 เท่า ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เบาหวานพบมากสุด”

คนไทยป่วยเบาหวาน แตะ 4.8 ล้านคน คาดปี 2583 ป่วย 5.3 ล้านคน

เชื่อหรือไม่!! ปัจจุบันคนไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสูงถึง 4.8 ล้านคน และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุที่มาจากวิถีชีวิต และในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาเพียงร้อยละ 35.6 หรือเพียง 2.6 ล้านคน บรรลุเป้าหมายในการรักษาได้เพียง 0.9 คน ถือว่าน้อยมาก ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า อันตราโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี 2583 ถ้าหากเราไม่เริ่มดูแลตัวเอง หรือผู้ป่วยดูแลรักษาตัวเองได้ไม่ดี ไม่เคร่งครัดมากพอ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้าหรือขาได้

นักวิจัยไทย เร่งพัฒนาวัคซีนต้นแบบต้านโควิด-19 เริ่มทดลองในสัตว์แล้ว ควบคู่กับการเตรียมลงนาม MOU พัฒนาวัคซีนกับจีน

เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (19 เม.ย.63) นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ทั้งสถาบันวิจัยทั้งในมหาวิทยาลัย และเอกชน กำลังเร่งพัฒนาวัคซีนนี้อยู่ อย่างในศิริราชฯ มหิดล และจุฬาฯ ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ และ บริษัทไบโอเนท-เอเชีย ได้เริ่มทดลองในสัตว์ทดลองได้แล้ว ในส่วนของต่างประเทศที่ก้าวหน้าที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา จีน และ อังกฤษ ที่เริ่มทดสอบในคนในระยะต้นได้แล้ว.นพ.นคร อธิบายว่า การทำงานของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะพยายามเข้าสู่เซลล์ทางเดินหายใจ ดังนั้นหากต้องการให้ได้วัคซีนมาก็จำเป็นต้องกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) เพื่อคอยป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถเกาะจับผนังเซลล์เพื่อเข้าไปได้ ไวรัสก็จะเสียสภาพแล้วตายไป.สำหรับการทดลองในมนุษย์นั้น จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทดสอบความปลอดภัย ใช้ผู้ทดลอง 30-50 คนระยะที่ 2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 100-150 คน เพื่อดูว่าที่พัฒนามานั้นสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไวรัสได้หรือไม่ระยะที่ 3 ให้ผลในการป้องกันโรค ใช้ผู้ทดลอง 500继续阅读”นักวิจัยไทย继续阅读“นักวิจัยไทย เร่งพัฒนาวัคซีนต้นแบบต้านโควิด-19 เริ่มทดลองในสัตว์แล้ว ควบคู่กับการเตรียมลงนาม MOU พัฒนาวัคซีนกับจีน”

คนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง 8 ล้านคน

กรมการแพทย์ เผยคนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง 8 ล้านคน ในจำนวนนี้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายกว่าแสนคน แนะผู้ป่วยโรคไตดูแลสุขภาพตนเอง นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายกว่า 100,000 คน ที่ต้องรับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 15-20 ต่อปี ปั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ทำให้รัฐบาลต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละกว่า 20,000 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดยุทธศาสตร์การคัดกรองโรคไตและชะลอความเสื่อมไต เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่จะเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยตั้งคลินิกชะลอไตเสื่อมขึ้นในโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยคลินิกดังกล่าวจะมีทีมสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพ และนักโภชนากร ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวม โดยเฉพาะโรคแพ้ภูมิตัวเองซึ่งเป็นสาเหตุของไตอักเสบเรื้อรังที่หากรุนแรงจะทำให้ไตวายหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจลุกลามไปบริเวณกรวยไตทำให้เกิดการอักเสบและมีการติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้ นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ยังมีความเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ อาจส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้ ซึ่งโรคไตเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ไตไม่สามารถขับของเสีย หรือรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายได้ โรคไตมีสาเหตุหลายอย่าง ได้แก่ โรคซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของไต โรคที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น จากนิ่ว และที่สำคัญคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย继续阅读”คนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง继续阅读“คนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง 8 ล้านคน”

อย่า!! สเปรย์ฆ่า COVID – 19 เสี่ยงเป็นการแพร่เชื้อมากขึ้น

เชื่อว่ายังมีหลายคนเข้าใจผิด ใช้การพ่นสเปรย์ฆ่าเชื้อ COVID – 19 เพราะว่าสะดวกรวดเร็วกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่แบบนั้นนะครับ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ยืนยันว่า การที่เราสเปรย์ทำความสะอาดพื้นผิว จะทำให้สารคัดหลั่ง จากเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย รวมทั้งตัวสารที่ใช้ฆ่าเชื้อก็ฟุ้งกระจายขึ้นมากับละอองฝอย ซึ่งกลายเป็นการแพร่เชื้อมากขึ้น และยังทำให้เกิดมลพิษทางอากาศจากสารฆ่าเชื้อ โดยเสนอแนะให้ใช้วิธีการเช็ดอย่างต่อเนื่องในการทำความสะอาดพื้นผิวในแนวนอน จะฆ่าเชื้อโรคอย่างได้ผลมากกว่า พอรู้แบบนี้แล้ว เปลี่ยนมาช่วยกันเช็ดทำความสะอาด แทนการพ่นสเปรย์กันนะครับ

ด่วน ! แพทย์เตือนภัย หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์ให้ไว

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึง อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ( Bell’s palsy ) คือภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า ส่งผลให้หน้าเบี้ยวครึ่งซีกเป็นผลมาจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้างทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ยิ้ม ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้นและส่งต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบส่งผลต่อการรับรส การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย ปากเบี้ยว ถือเป็น ปัญหาสุขภาพ ที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปากเบี้ยว เช่น หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่อายุครรภ์มาก หรือหลังคลอดภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วย ที่เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด ด้าน แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูได้ยินเสียงดังขึ้นข้างเดียว继续阅读”ด่วน继续阅读“ด่วน ! แพทย์เตือนภัย หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์ให้ไว”

รู้หรือไม่ ? โรคเบาหวาน ควบคุมได้ สมาคมโรคเบาหวาน เร่งระดมทุกภาคส่วนร่วมสร้างเครือข่ายปลอดเบาหวาน

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “เครือข่าย” หรือ กลุ่ม รวมถึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนและปรับสภาพแวดล้อมเพื่อให้การปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน  จึงเป็นที่มาในการดำเนินงานของทุกภาคส่วนโดยมี สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ เป็นแกนนำ ร่วมกับกรมการแพทย์ 13 เขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดย บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมสนับสนุนการจัดสัมมนา “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่ายและชมรมเบาหวานของประเทศไทย” ณ โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อเร็วๆ นี้ นพ. ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า “ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นเบาหวานประมาณ 5 ล้านคนและมีแนวโน้มเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากปีพ.ศ. 2534 คนไทยเป็นเบาหวานร้อยละ 2.3 และปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 เสียชีวิตจากโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนถึงร้อยละ 21.96 และยังควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อยเพียงประมาณร้อยละ 40 มีผ้ป่วยเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่สามารถควบคุมทั้ง 3 อย่าง คือ ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิต ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี และหากมี继续阅读”รู้หรือไม่继续阅读“รู้หรือไม่ ? โรคเบาหวาน ควบคุมได้ สมาคมโรคเบาหวาน เร่งระดมทุกภาคส่วนร่วมสร้างเครือข่ายปลอดเบาหวาน”