ศจย.เผยอินเดียประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว พร้อมหนุนไทยคงห้ามตามเดิม

นักวิชาการ ‘หนุนไทยคงมาตรการห้ามบุหรี่ไฟฟ้า’ เผยล่าสุดอินเดียประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้า หลังชาวสหรัฐป่วยตายจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อเนื่อง ตายพุ่งสูงกว่า 15 คน ป่วยโรคปอดอย่างน้อย 805 คน ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวการป่วยและตายจาก ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันยอดตายพุ่งสูงกว่า 15 คน ป่วยโรคปอดอย่างน้อย 805 คน โดยประเทศไทยมีมาตรการที่ดีเพื่อคุ้มครองสุขภาพคนไทยจากบุหรี่ไฟฟ้า คือ ห้ามนำเข้า ห้ามขาย และห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ในหลายประเทศต่างเริ่มกังวลกับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า อย่างเช่นล่าสุดประเทศอินเดียประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา “นักวิชาการของอินเดียได้นำเสนอประเด็นข้อเท็จจริงถึงเหตุผลการห้ามบุหรี่ไฟฟ้าไว้ ที่สามารถตอบคำถามสังคมอินเดียและไทยได้ คือ การที่กลุ่มบุหรี่ไฟฟ้ามักอ้างถึงรายงานของอังกฤษ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2558 ที่ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ 95% ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ไม่มีหลักฐานทางคลินิกและระบาดวิทยา แต่เป็นแบบจำลองกึ่งสมมุติฐานและเป็นเพียงการคาดเดา โดยเป็นแค่ความคิดเห็นของผู้เขียน 12 คน ซึ่ง 1 ใน 3继续阅读”ศจย.เผยอินเดียประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว继续阅读“ศจย.เผยอินเดียประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว พร้อมหนุนไทยคงห้ามตามเดิม”

รพ.บำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์ และ นักเทคนิคการแพทย์ เก่งระดับโลก สามารถถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโควิด ชูบริการใหม่ สายด่วน 1378

บำรุงราษฎร์ ในฐานะโรงพยาบาลชั้นนำระดับประเทศที่รองรับทั้งผู้ป่วยชาวไทยและต่างชาติด้วยสัดส่วน 50:50 เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรามีทีมทำงานที่เป็นฝ่ายควบคุมโรคและศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ที่คอยติดตามสถานการณ์โรคต่างๆ ทั่วโลก และทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินและปรับการบริหารจัดการเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ในแต่ละวันที่เปลี่ยนไป เนื่องด้วยเป็นโรงพยาบาลระดับสากลที่มีผู้มาใช้บริการทั้งคนไทยและต่างชาติด้วยสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยบำรุงราษฎร์ได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเชื้อไวรัสนี้จากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ตั้งแต่ในระยะแรก ๆ โดยมีการประชุมเพื่อหาแนวทางและมาตรการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมืออย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของทุกส่วน เนื่องด้วยเรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงทีมทำงานที่มีประสบการณ์จากการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคเมอร์ส และโรคซาร์ส ในอดีต จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในช่วงนี้ บำรุงราษฎร์ได้ตระหนักถึงความจำเป็นกรณีเจ็บป่วยและมีนัดหมายกับแพทย์ แต่ด้วยผู้ต้องการมาใช้บริการส่วนหนึ่ง อาจยังไม่พร้อมที่จะเดินทางออกไปยังโรงพยาบาลในช่วงนี้ โรงพยาบาลจึงได้เปิดบริการใหม่ “สุขภาพดีอยู่ที่บ้าน ปรึกษาแพทย์…โทรสายด่วน 1378” เพื่อมารองรับการดูแลผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว โดยผู้ต้องการใช้บริการสามารถโทรผ่านสายด่วน 1378 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการรับสายตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน เพื่อเข้าสู่ 3 บริการหลักๆ ได้แก่ 1 ต้องการปรึกษาแพทย์ สามารถคุยกับแพทย์ได้โดยตรงภายในเวลาอันรวดเร็ว ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น.继续阅读”รพ.บำรุงราษฎร์继续阅读“รพ.บำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์ และ นักเทคนิคการแพทย์ เก่งระดับโลก สามารถถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโควิด ชูบริการใหม่ สายด่วน 1378”

ชื่อใหม่บุหรี่ไฟฟ้า

ปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้านั้นถูกใช้เพื่อเสพทั้งสารละลายที่มีนิโคตินและสารสกัดกัญชา ไม่ว่าจะเป็น THC หรือ CBD ล่าสุดทำให้คนอเมริกันโดนหามส่งโรงพยาบาลแล้ว 530 คน กระจายใน 38 มลรัฐ ครึ่งหนึ่งอายุน้อยกว่า 25 ปี 3 ใน 4 เป็นผู้ชาย ตายไปแล้ว 8 ราย จากภาวะปอดพัง รายที่ 8 นี้เป็นคนที่เสพเพราะมีอาการปวดเรื้อรัง อายุราว 40 ปี ตอนนี้ประเทศแคนาดารายงานผู้ป่วยแบบอเมริกา รายแรกในสัปดาห์นี้เอง เป็นวัยรุ่นที่ออนตาริโอ หามส่งไอซียู แต่ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว อดีตที่ปรึกษาอาวุโสขององค์การอาหารและยาของสหรัฐได้ให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์คไทม์สว่า ควรแบนการขายสารละลายที่มีสารสกัดกัญชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐที่เสรีกัญชา เหตุการณ์ปอดพังจากการสูบนี้ กำลังสร้างความปั่นป่วนและเคลือบแคลงใจในอเมริกาอย่างมาก เพราะมีหลายต่อหลายรัฐได้ปลดล็อคกัญชาไปมากมาย การจะควบคุมจึงยากเป็นทวีคูณ จริงๆ ไม่ควรใช้คำว่า”บุหรี่ไฟฟ้า” อีกต่อไป แม้จะแปลมาจากภาษาอังกฤษตรงๆ ก็ตาม เพราะจะทำให้คนหลงคิดว่าเป็นบุหรี่ แต่ควรใช้คำอื่นอย่าง “เครื่องสูบไฟฟ้า” เพราะตอนนี้ที่นิยมกันกลับไม่ใช่แค่สารละลายนิโคติน แต่รวมไปถึงพวกสารละลายประเภทสารสกัดกัญชา ปัญหาบ้านเค้าเริ่มปรากฏมากมาย เมืองไทย…ต้องรอติดตาม ตอนนี้มีอย่างน้อย 2 เหตุการณ์สำคัญในอเมริกา继续阅读”ชื่อใหม่บุหรี่ไฟฟ้า”

ใกล้ระยะ 3 เต็มที่แล้ว วันนี้วันเดียวมีผู้ติดเชื้อพุ่ง 35 ราย โคม่า 2 ราย ยอดโควิช ล่าสุดทั้งหมด 212 ราย

นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และคณะแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้าน 1  ราย เป็นหญิงไทยอายุ 31 ปี จากโรงพยาบาลราชวิถี มีผู้ป่วยใหม่ 35 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่ม 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย/หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 29 ราย ได้แก่ สนามมวย 13 ราย ,สถานบันเทิง 4 ราย และผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 12 ราย กลุ่ม 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 6 ราย ได้แก่ ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ 1 ราย เป็นคนไทยกลับจาก กัมพูชา, ผู้ทำงานใกล้ชิดสัมผัสต่างชาติ 4 ราย และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 1 ราย โดยได้รับรายงานผู้ป่วยอาการหนักเพิ่ม 2继续阅读”ใกล้ระยะ继续阅读“ใกล้ระยะ 3 เต็มที่แล้ว วันนี้วันเดียวมีผู้ติดเชื้อพุ่ง 35 ราย โคม่า 2 ราย ยอดโควิช ล่าสุดทั้งหมด 212 ราย”

5 ประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุดในโลก 2562

จากการสำรวจทั้งหมด 89 ประเทศทั่วโลก CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข ประสิทธิภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุข ตั้งแต่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ ค่าใช้จ่ายในระบบ การเข้าถึงยาคุณภาพความพร้อมของรัฐบาลในการจัดการระบบ นอกจากนี้ CEOWORLD ยังพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด ระบบสุขอนามัย และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น การจัดการกับบุหรี่ – ยาสูบ และการจัดการโรคอ้วน สำหรับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก ได้แก่ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรีย เดนมาร์ก ไต้หวัน ซึ่งได้คะแนนโดยภาพรวมทั้งหมด 78.72 คะแนน โดยได้รับคะแนนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 87.16 คะแนน คะแนนด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 14.23 คะแนน ด้านราคา 83.59 คะแนน การเข้าถึงยา 82.3 คะแนน และความพร้อมของรัฐบาล 87.89继续阅读”5继续阅读“5 ประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุดในโลก 2562”

Telemedicine: “เศรษฐพงค์” จี้ กสทช.-อีดี เร่งประมูล 5จี รองรับ

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.62 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวาระหารือ โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่า เรื่องที่ตนขอหารือนั้น เป็นเรื่องที่มีผลกระทบอย่างมากต่อยุทธศาสตร์ระดับชาติ และนโยบายของรัฐบาล โดยอาจจะมีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณสุข ที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ได้มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะเป็นปัญหาที่ใหญ่มากในประเทศไทย และจะนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง ด้วยเทคโนโลยี telemedicine ซึ่งจะต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่  พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า เรื่องแรก คือ การติดตามโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ชายขอบในโซน C+ จำนวน 3,920 หมู่บ้าน ซึ่งบริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน (TOT) อยู่ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวง DE เป็นผู้ดำเนินการ继续阅读”Telemedicine:继续阅读“Telemedicine: “เศรษฐพงค์” จี้ กสทช.-อีดี เร่งประมูล 5จี รองรับ”

เอชไอวี: ผลดี-ผลเสีย อย.ปลดล็อค ‘ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง’

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปลดล็อคชุดตรวจเอชไอวีของประเทศไทย เช้านี้ ระหว่างที่กินข้าวกับครอบครัว ได้คุยกัน และระดมสมองวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปลดล็อคชุดตรวจเอชไอวี วันก่อน ทางอย.ปลดล็อคให้เสรีชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ข้อดีคือ แต่ละคนมีอิสระ และเก็บรักษาความลับเกี่ยวกับสถานะของตนได้ ก่อนที่จะไปตรวจยืนยันที่ รพ. ไม่ต้องลำบาก และเสี่ยงต่อการถูกตีตราเรื่องพฤติดรรมเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นคือ หนึ่ง ขาดการให้คำปรึกษา ผู้ที่ตรวจด้วยตนเองจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวีระดับหนึ่ง เพราะอาจตัดสินใจคิดสั้นทำร้ายตนเองหากผลตรวจเป็นบวกได้ สอง อาจมีโอกาสนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยสถานประกอบการหลอกผู้สมัครงานและทำการตรวจเอชไอวีโดยไม่ได้รับความยินยอม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสาธารณสุข และด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงประชาชนทุกคนจึงควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเตรียมกลไกติดตามควบคุมป้องกันตั้งแต่บัดนี้ ด้วยความปรารถนาดีต่อทุกคน ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กัญชา: บทบาทขององค์กรวิชาชีพในเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์”

ท่ามกลางกระแสกัญชาในสังคมไทย มีการปั้นแต่งเชิงวิชาการให้คนหลงเชื่อว่า รักษาได้ร้อยแปดพันเก้า เอาเรื่องสารเคมี โมเลกุลโน่นนี่นั่น แล้วเคลมว่ากัญชาช่วยได้หมด ทั้งๆ ที่ในโลกแห่งการแพทย์สากล ไม่สามารถยอมรับแบบนั้นได้ เพราะการรักษาแต่ละอย่างนั้นจำเป็นต้องผ่านการพิสูจน์ตามมาตรฐานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพ เนื่องจากชีวิตคนทุกคนนั้นมีคุณค่า ปัญหาหนักหน่วงตอนนี้คือ เมืองไทยมาไกลเกินกว่าจะแก้ไขสถานการณ์หรือไม่? ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจของเมืองไทยคือ องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ไม่ค่อยได้ออกมาแถลงการณ์เรื่องการใช้กัญชากันเท่าใดนัก คราวนี้มาดูกันว่า ต่างประเทศที่กระแสคลั่งกัญชามากมายจนกู่ไม่กลับ และล่วงหน้าเมืองไทยไปมากแล้ว องค์กรวิชาชีพเค้าทำอะไรกันบ้าง? ที่จะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ และตรวจสอบกันได้คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาครับ American Epilepsy Society ซึ่งเป็นสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ออก position statement เรื่องนี้เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2019 อย่างชัดเจนว่า “การใช้กัญชาในการรักษาโรคลมชักนั้นยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้ได้” การอ้างอิงงานวิจัยที่มีส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยแบบ anecdotal reports ทั้งนี้มีงานวิจัยที่เพียงพอแก่การอนุมัติกัญชาเป็นยาเพื่อรักษาโรคลมชักในอเมริกาที่ชื่อ Epidiolex นั้นใช้เพื่อรักษาเฉพาะโรค Lennox-Gastaut syndrome (LGS) และ Dravet syndrome เท่านั้น แต่ระบุไว้ด้วยว่า งานวิจัยที่ใช้ขออนุมัติยานี้นั้นเป็นการเปรียบเทียบกัญชากับยาหลอกเท่านั้น มิได้เปรียบเทียบกับยามาตรฐานอื่นๆ เลย นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังพบว่าการใช้กัญชาก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ และมีปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ระหว่างกัญชากับยาอื่นด้วย继续阅读”กัญชา:继续阅读“กัญชา: บทบาทขององค์กรวิชาชีพในเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์””

กัญชา: จะต้อนหรือจะรับสังคมอุดมกัญชา?

European Journal of Public Health ซึ่งเป็นวารสารวิชาการระดับสากล ฉบับล่าสุดเพิ่งตีพิมพ์บทความวิชาการเกี่ยวกับกัญชาหลายเรื่องจากประเทศต่างๆ สดๆ ร้อนๆ ครับ มาดูกันไหมว่าเค้ามีเนื้อหาอะไรกันบ้าง? เมืองไทย นักการเมืองและนักกฎหมายบางคนโฆษณากันหลายครั้งว่า ถ้าปลดล็อคกัญชาเสรี ยาเสพติดอื่นๆ และการค้าขายในผิดกฎหมายจะลดลง… จริงหรือไม่? บทความในวารสารนี้ได้นำเสนอว่า จากการติดตามของประเทศในยุโรปบอกได้เพียงว่า ข้อมูลที่มีนั้นชี้ให้เห็นว่าการปลดล็อคกัญชา ไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรม และการค้าขายในตลาดมืดเลย (1) ทีนี้เราก็อาจยังจำได้ว่า มีการเล่นลิ้นในหมู่คนเรียกร้องโหยหากัญชาว่า การมีกฎหมายและนโยบายแข็งกร้าวต่อคนเล่นยานั้นไม่ได้ช่วยลดยาเสพติดได้ดีนัก ดังนั้นน่าจะเปิดเสรี เอาใต้ดินมาบนดิน จะได้คุมง่ายๆ จะดีกว่าไหม? ข้อมูลที่มีในปัจจุบัน เตือนกันอย่างหนักว่า การเปิดเสรีนั้นหมายถึงใช้กันอย่างอิสระ และนำมาสู่การค้าขายเชิงพาณิชย์ จัดเป็นหนทางที่อันตรายยิ่ง ดังจะเห็นได้จากบทความวิชาการที่เผยแพร่ดังนี้ “…While the ‘war against drugs’, and a hard policy against drug users, has not shown to reduce the harmful继续阅读”กัญชา:继续阅读“กัญชา: จะต้อนหรือจะรับสังคมอุดมกัญชา?”

เอดส์: สงครามยืดเยื้อกับการกวาดล้างครั้งใหญ่

การสู้รบกับเอดส์มีมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำงานต่างรู้ดีว่าสงครามครั้งนี้ “ยืดเยื้อ” เอดส์คือปัญหาระดับมนุษยชาติ โดยทั่วโลกพร้อมใจกันประกาศมาตรการกวาดล้างให้หมดไปในปี 2030 แน่นอนว่าประเทศไทยเอาด้วย และตั้งเป้าที่จะ Ending AIDs ให้เด็ดขาด ระยะสั้น 1 ปีข้างหน้า หรือภายในปี ค.ศ. 2020 ประเทศไทยต้องมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่เกิน 2,000 ราย และอีก 11 ปีข้างหน้า หรือภายในปี ค.ศ. 2030 ประเทศไทยจะเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่เกิน 1,000 ราย คำถามคือจะเป็นไปได้ไหม ? ในเมื่อปีที่ผ่านมา (2018) เรายังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ราว 6,000 ราย และประมาณการกันว่าในปีนี้ (2019) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังจะอยู่ที่ 5,000 ราย วงเสวนาเรื่อง “ทิศทางการยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย” ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการดำเนินงานบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ปีงบประมาณ 2562 และเตรียมการจัดทำแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2563 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 22继续阅读”เอดส์:继续阅读“เอดส์: สงครามยืดเยื้อกับการกวาดล้างครั้งใหญ่”

PM 2.5: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันฝุ่นพิษ

ที่จริงกรุงเทพมหานครของเรามีฝุ่นชนิด PM 2.5 ที่เป็นแหล่งหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติมากเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าวันร้ายคืนร้ายที่อุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเร็ว ความชื้นในอากาศสูงขึ้น ลมอับ แสงแดดยังไม่ได้เวลามาเยือน ประกอบกับกรุงเทพฯ มีอาคารสูงจำนวนมาก ก็จะทำให้การไหลถ่ายเทของอากาศยามลมอับไม่ดี ไม่ต่างกับจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นเมืองแอ่งกระทะตามธรรมชาติ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ “impaction” หมายถึง ฝุ่นขนาดเล็ก คือ PM 2.5 ฟุ้งกระจายออกไปได้ยาก เจ้าตัวร้ายนี้จะมีผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์ที่สำคัญทันทีทันใด คือ 1.ทำให้ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังทุกชนิดมีอาการกำเริบ และ 2.ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการกำเริบ ทั้งนี้ไม่นับผลระยะยาวที่มีอีกมากเหลือพรรณนา ดังนั้นคำแนะนำการปฏิบัติตัวในสถานการณ์เช่นวันนี้และคงอีกหลายวันจนถึงปีหน้า มีดังนี้ ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศจากแหล่งของกรมควบคุมมลพิษ ที่มีครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไม่ใช่แต่กรุงเทพฯ อย่างเดียวถ้าเห็นค่าปริมาณ PM 2.5 เป็นสีแดง แสดงว่าสูงเกินค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลก ที่ค่าเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงไม่ควรเกิน 25 µg/m3เมื่อเห็นแล้วคนทั่วไปควรหลีกเลี่ยงเดินทางออกจากที่พักอาศัยจนกว่าระดับจะลดลงมาเป็นสีส้ม ที่ยังพอจะยอมรับได้แต่ถ้าจำเป็นจะต้องเดินทาง สำหรับคนที่ไม่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรงดังกล่าวมาแล้ว แนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่นอกอาคาร โดยต้องสวมให้ถูกวิธีและกระชับกับใบหน้าส่วนปากและจมูกให้มากที่สุดแต่ถ้าเป็นคนที่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรงดังกล่าวมาแล้ว ไม่ควรออกจากบ้าน แต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ เช่น ต้องไปโรงพยาบาลพบแพทย์ตามนัด (ที่จริงโรงพยาบาลต่าง ๆ ควรอำนวยความสะดวกเลื่อนนัดให้ผู้ป่วยเช่นนี้ได้โดยสะดวกในทุกช่องทาง) ให้ใช้หน้ากากชนิด N95 ซึ่งพอจะช่วยกรองเจ้าตัวฝุ่นร้ายขนาดเล็กนี้ได้ในปริมาณที่มากกว่าหน้ากากอนามัยธรรมดา继续阅读”PM继续阅读“PM 2.5: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันฝุ่นพิษ”

บุหรี่ไฟฟ้า: สหรัฐฯ พบอันตรายในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด ‘หมอประกิต’ เตือนหยุดสูบ ชี้เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง

เปิดงานวิจัยใหม่ สหรัฐอเมริกาพบอันตรายในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด​ หมอประกิต เตือนหยุดสูบจนกว่าจะพิสูจน์ชัด ชี้ สูบแค่ 2-3 ปี เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง ถึงตาย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ​เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า จากรายงานล่าสุดของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ซึ่งเก็บข้อมูลเรื่องผู้ป่วยด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง พบว่า มีผู้ป่วย 1,080 ราย ที่สรุปได้ว่าน่าจะป่วยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในจำนวนนี้ มี 18 รายที่เสียชีวิต โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยอายุ 23 ปี และอายุของคนที่ตายเฉลี่ยเกือบ 50 ปี ทั้งนี้ 78 % ของผู้ป่วย มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ผสมน้ำมันสกัดกัญชาด้วย ทำให้สงสัยว่าการผสมสารสกัดกัญชาจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ CDC ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นสาเหตุเดียว เนื่องจากยังมีหลายรายที่ไม่ได้ใช้น้ำมันสกัดกัญชา และมีความหลากหลายของยี่ห้อบุหรี่ไฟฟ้าที่ผู้ป่วยแต่ละคนใช้ “อัตราการป่วยดังกล่าว ทำให้อยากเรียกร้องให้คนไทยหยุดสูบบุหรี่ไฟฟ้า จนกว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงได้ว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง และถึงขั้นเสียชีวิตนั้น เกิดจากสาเหตุใด โดยพบว่าในรายงานดังกล่าวของสหรัฐฯ จาก​การตรวจน้ำล้างปอดในผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง พบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในปอดที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในปอด เช่น เชื้อโรค ฝุ่นละออง继续阅读”บุหรี่ไฟฟ้า:继续阅读“บุหรี่ไฟฟ้า: สหรัฐฯ พบอันตรายในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด ‘หมอประกิต’ เตือนหยุดสูบ ชี้เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง”

เปิดสถิติข่าวความรุนแรง คดีฆ่ากันตายสูงร้อยละ 70 กรุงเทพครองแชมป์

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดสถิติข่าวความรุนแรงในครอบครัว ปี 2561 พบสูงกว่าปี 2559 ถึงร้อยละ33.7 เฉพาะคดีฆ่ากันตายสูงขึ้นร้อยละ70 กรุงเทพฯครองแชมป์ฆ่ากันตาย ชี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจัยกระตุ้นสำคัญ ระบุปัญหาใหญ่เกินกว่าทำงานตั้งรับ แนะทำงานเชิงรุก หนุนกลไกชุมชน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่โรงแรมแมนดาริน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีรายงานสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี 2561 ภายใต้หัวข้อ “ฆ่าซ้ำ เจ็บซ้อน ความรุนแรงในครอบครัวพุ่ง เกินตั้งรับ” นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยรวบรวมจากข่าวหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ในรอบปี 61 พบว่า เกิดข่าวความรุนแรงในครอบครัว สูงถึง 623 ข่าว สูงกว่าปี 2559 ร้อยละ 35.4 ในจำนวนนี้มีปัจจัยกระตุ้นที่เชื่อมโยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 108 ข่าว หรือประมาณร้อยละ 17.3继续阅读”เปิดสถิติข่าวความรุนแรง继续阅读“เปิดสถิติข่าวความรุนแรง คดีฆ่ากันตายสูงร้อยละ 70 กรุงเทพครองแชมป์”

กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน: ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รณรงค์ให้รู้จักป้องกัน

สถิติโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในอันดับที่ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพก ซึ่งผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกร้อยละ 17% และสัดส่วน 80% ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม รวมทั้งจากข้อมูลมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ พบว่าประชากรไทยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 80 – 90% ยังไม่ได้รับการประเมินและรักษา ศ.นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่ร่างกายมีความแข็งแกร่งของกระดูกลดน้อยลง ส่งผลให้กระดูกหักเกิดง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ เมื่อผู้ป่วยหกล้มจะมีความเสี่ยงกระดูกหักง่าย ไม่ว่าจะเป็นการหกล้มในท่ายืนจากชีวิตประจำวัน หรือบางรายอาจจะมีกระดูกสันหลังยุบจากการที่นั่งกระแทกก้นแรง หรือยกของหนักที่เฉียบพลันเกินไป โดยรวมภาวะกระดูกหักจากสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เราเรียกว่า ภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ทางราชวิทยาลัยฯ ในกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคกระดูกพรุน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปให้รู้จักโรคกระดูกพรุน และแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้เข้ารับการประเมินและตรวจรักษาอย่างเหมะสม ในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ที่เข้าใจง่าย พันเอก รศ.นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ประธานจัดงานประชุมวิชาการประจำปีราชวิทยาลัย แพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 กล่าวว่า งานประชุมวิชาการของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย จัดเป็นประจำทุกปี ซึ่งวันนี้ตรงกับวันกระดูกพรุนโลก ทางราชวิทยาลัยฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันความรู้แก่ประชาชน继续阅读”กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน:继续阅读“กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน: ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รณรงค์ให้รู้จักป้องกัน”

โรคลมพิษ: แพทย์ศิริราช แนะสิ่งที่ควรปฏิบัติหากรู้ว่าตนเองเป็น

“โรคลมพิษ” (Urticaria) ภัยใกล้ตัวที่เราทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นโรคที่ไม่มีความร้ายแรงมากนัก แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก ทั้งในด้านบุคลิกภาพ การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าตนเองนั้นแพ้อะไร อีกทั้งด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในยุคปัจจุบัน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของ“โรคลมพิษ” ได้เช่นกัน ดังนั้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมพิษอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่คนไทยไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับคุณหรือคนใกล้ชิดก็เป็นได้ ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เนื่องด้วยในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันโรคลมพิษโลก โรงพยาบาลศิริราชจึงได้สานต่อจัดกิจกรรม “ศิริราชห่วงใย ชวนใส่ใจโรคลมพิษ ครั้งที่ 4” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคลมพิษ ซึ่งถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย รวมไปถึงการเข้าถึงการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ในงานนี้ผู้ป่วยจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการรักษา ภายในงานได้มีกลุ่มผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคลากรทางแพทย์เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 100 คน และมีสถานีที่จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษ จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีที่ 1 – ยาที่ใช้การรักษาโรคลมพิษ สถานีที่ 2 – แบบประเมินอาการผู้ป่วยโรคลมพิษ สถานีที่继续阅读”โรคลมพิษ:继续阅读“โรคลมพิษ: แพทย์ศิริราช แนะสิ่งที่ควรปฏิบัติหากรู้ว่าตนเองเป็น”