หนองใน

หนองใน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(กามโรค)ที่พบได้มากเป็นอันดับแรกๆของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บางทีเรียก "โกโนเรีย"

สาเหตุ หนองใน

เกิดจากการติดเชื้อหนองใน (GC) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่าโกโนค็อกคัส (gonococcus / Neisseria gonorrheae) ติดต่อโดยทางเพศสัมพันธ์ ระยะฟักตัว 2 - 10 วัน(โดยทั่วไปภายใน5วัน)

อาการ หนองใน

หนองในผู้ชาย

 หลังจากได้รับเชื้อ(หลังเที่ยวหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ)ประมาณ 2 –10 วัน จะมีอาการแสบในลำกล้องเวลาถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายปัสสาวะขัด และมีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะในระยะแรกอาจไหลซึมเป็นมูกใสๆ เล็กน้อย ภายใน12 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นหนอง (สีเหลือง) ข้น และออกมากคล้ายเส้น ก๋วยเตี๋ยว ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ชายที่ติดเชื้อหนองใน อาจไม่มีอาการแสดงอะไรเลยก็ได้ แต่สามารถแพร่เชื้อให้ ผู้อื่นได้

หนองในผู้หญิง

ระยะแรกมักไม่มีอาการ  ต่อมาจะมีอาการตกขาวเป็นหนองสีเหลือง มีกลิ่นเหม็นไม่คัน มีอาการขัดเบาและแสบร้อนเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น ถ้ามีการอักเสบของปีกมดลูก จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อยแบบปีกมดลูกอักเสบ ผู้หญิงที่ติดเชื้อหนองในประมาณครึ่งหนึ่ง อาจไม่มีอาการแสดงอะไรเลยก็ได้ แต่สามารถแพร่เชื้อให้ ผู้อื่นได้

หนองในทั้งสองเพศ 

นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว อาจมี ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ (ไข่ดัน) บวมและเจ็บด้วย

การป้องกัน หนองใน

ควรหลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศและถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นหนองใน ควรใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100 (ส่วนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆอาจได้ผลไม่เต็มที่และมีโอกาสติดเชื้อได้บ้าง)

การดื่มน้ำก่อนร่วมเพศและถ่ายปัสสาวะทันทีหลัง ร่วมเพศ หรือการฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อลงได้บ้าง แต่ไม่ใช่จะได้ผลทุกราย

ส่วนการกิน “ยาล้างลำกล้อง” ซึ่งเป็นยาระงับเชื้อ(antiseptic)ไม่ใช่ทำลายเชื้อไม่ได้ผลในการป้องกัน ยานี้กินแล้วทำให้ปัสสาวะเป็นสีแปลกๆ เช่น สีแดง สีเขียว

การกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคภายหลังร่วม เพศอาจได้ผลบ้าง แต่ต้องใช้ยาชนิดและขนาดเดียวกับที่ใช้รักษา ซึ่งดูแล้วไม่คุ้ม สู้รอให้มีอาการแสดงค่อยรักษาไม่ได้ นอกจากนี้ก็ยังไม่อาจป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นได้

การรักษา หนองใน

  1. หากสงสัย ควรตรวจยืนยันด้วยการนำหนองไปย้อมสี และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือนำไปเพาะเชื้อ ถ้าเป็นจริงควรให้ยาขนานใดขนานหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    • เซฟีไชม์ (cefixime 400 มก.กินครั้งเดียว
    • เซฟทริอะโซน (ceftriaxone) 250 มก.
    • ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียวสเปกติโนไมซิน(spectinomycind) 2 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว
  2.  ในรายการที่มีภาวะแทรกซ้อน ควรให้ยาติดต่อกัน 2-3 วันถึง14 วัน แล้วแต่ความรุนแรงในผู้หญิงมีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ ร่วมกับมีไข้สูง ปวดท้องน้อยขัดเบา ตกขาว อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง

[Total: 1 Average: 5]