พบได้น้อย ในช่วงหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกระจายเข้าไปในแคปซูลของรังไข่ มักจะเป็นข้างเดียว และมักเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังคลอด ก้อนหนองอาจเกิดการแตกได้ จะทำให้มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบตามมา
โรคฝีที่รังไข่แท้จริงเป็นภาวะที่ธรรมชาติของร่างกายพยายามควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามเมื่อเกิดหนองในอุ้งเชิงกรานขึ้นแล้ว(ด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง) โดยเนื้อเยื่อรอบ ๆ อุ้งเชิงกรานจะทำการห่อหุ้มหนองไว้รวมกัน เพื่อจำกัดขอบเขตของหนองเอาไว้ไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปไกล จึงเกิดเป็นฝีเฉพาะที่ขึ้น ฝีที่เกิดขึ้นนี้อาจห่อหุ้มเอาอวัยวะเล็ก ๆ บางส่วน เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ และปีกมดลูกเข้ามาด้วย ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนที่กดเจ็บ และคลำได้จากหน้าท้อง ส่วนมากจะเกิดขึ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่งของมดลูก
สาเหตุ ฝีในรังไข่
หากมีสาเหตุมาจากอย่างอื่น ประวัติที่ผู้ป่วยให้อย่างชัดเจนจะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น หรือบางครั้งก็อาจหาสาเหตุตั้งต้นในครั้งแรกไม่ได้เลย
อาการ ฝีในรังไข่
ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยโรคฝีที่รังไข่มีอาการสำคัญ 3 อย่าง คือ มีไข้ ปวดท้องน้อย และคลำได้ก้อนตรงตำแหน่งที่เจ็บ หากสาเหตุเกิดจากโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบก็จะมีอาการของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนตามลำดับ เช่น ตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น หากอาการนำได้รับการรักษามาบางส่วนไข้จะหายไประยะหนึ่ง แล้วกลับมาเป็นอีก คราวนี้ไข้จะไม่สูงมาก และขึ้น ๆ ลง ๆ อาการปวดท้อง ก็ไม่รุนแรงเท่าตอนเป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบใหม่ ๆ ก้อนในท้องน้อยจะอยู่ลึก กว่าจะคลำพบได้เองอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
การรักษา ฝีในรังไข่
โรคฝีที่รังไข่รักษาด้วยการผ่าตัดและการให้ยาปฏิชีวนะควบคู่ไปด้วยกัน ภายหลังการผ่าตัดซึ่งมักจำเป็นต้องตัดรังไข่และท่อนำไข่ทิ้งไปข้างหนึ่งจะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากตามมา