โรคตับแข็ง (Cirrhosis) คือ อาการของความผิดปกติในการทำงานของตับ หรือตับเป็นผังผืดและทำให้ตับมีปัญหา บางครั้งผังผืดมักเกิดจากการได้รับสารพิษเช่นแอลกอฮฮล์มาเป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ภาวะการเจ็บป่วยทางร่างกายบางอย่างก็อาจจะเป็นต้นเหตุของโรคตับแข็งได้ด้วยเช่นกัน ในคนที่เป็นโรคหัวใจเรื้อรังอาจจะจะทำให้ตับมีการอักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่อตนเองหรือบางครั้งหากร่างกายมีธาตุเหล็กหรือทองแดงมากเกินไปอาจจะส่งผลต่อตับได้ ทำให้ตับผิดปกติ
สาเหตุ ตับแข็ง
ตับแข็งเกิดจากหลายสาเหตุ ในประเทศไทยโดยมากเกิดจาก สุรา ไวรัสตับอักเสบ บี
- Alcoholic cirrhosis ตับแข็งที่เกิดจากสุรามักเกิดหลังจากที่ได้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากมาในระยะเสลาหนึ่ง ปริมาณที่ดื่มขึ้นกับแต่ละบุคคล ผู้หญิงจะเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชายผู้หญิงอาจจะดื่มเพียง 2-3 แก้วต่อวันก็ทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ชายดื่ม 4-6 แก้วต่อวันก็สามารถทำให้เกิดตับแข็ง เชื่อว่าสุราทำให้การสันดาปของโปรตีน ไขมัน และ แป้งผิดไป
- Chronic hepatitis B,D ไวรัสตับอักเสบทำให้เกิดอักเสบของตับเป็นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีตับแข็ง
- Chrinic hepatitis C เริ่มพบมากขึ้นทั่วโรคตับมีการอักเสบอย่างช้าก่อนเป็นตับแข็ง
- Autoimmune hepatitis เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ
- Inherited diseases โรคกรรมพันธุ์บางโรคทำให้เกิดตับแข็ง เช่น hemochromatosis, Wilson's disease, galactosemia,
- Nonalcoholic steatohepatitis (NASH) มีการสร้างไขมันในตับเพิ่มทำให้กลายเป็นตับแข็ง เช่นผู้ป่วยเบาหวาน คนอ้วน
- Blocked bile ducts มีการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี เช่นนิ่วของถุงน้ำดีถ้าหากอุดนานๆทำให้เกิดตับแข็ง
- ยา และสารพิษ หากไดัรับติดต่อกันเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดตับแข็ง
อาการ ตับแข็ง
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายดำ
- มีไข้
- ตัวเหลือง ตาเหลืองมากขึ้น
- ปวดท้อง อึดอัดแน่นท้อง
- ท้องโตขึ้นรวดเร็ว
- มีอาการซึม หรือสับสน
การรักษา ตับแข็ง
การรักษาโรคตับแข็งนั้น กรณีที่เป็นตับแข็งระยะแรกๆ และการทำงานของตับยังไม่เสียไปมาก การรักษาที่สาเหตุของโรคตับแข็งจะช่วยชะลอไม่ให้ตับถูกทำลายมากได้ เช่น การหยุดดื่มสุรา การให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือการให้ยาจำเพาะโรคที่เป็นสาเหตุของตับแข็ง เป็นต้น กรณีที่ตับแข็งลุกลามมากขึ้น และมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แล้ว แพทย์จะช่วยดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อขับน้ำและเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย การส่องกล้องรักษา และให้ยาลดความดันในระบบหลอดเลือดดำของตับกรณีที่มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร และสุดท้ายเมื่อตับแข็งเป็นมากจนตับไม่สามารถทำงานได้ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากจนไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ซึ่งพบว่าในปัจจุบันได้ผลค่อนข้างดี
- ปริศนาคลี่คลายแล้ว เฉลยปม “ท้องเสีย” หมู่ที่จังหวัดจันทบุรี
- ท้องผูก: ใครว่าไม่สำคัญ หมั่นรักษาดูแลแก้ไขได้
- โรคลำไส้อุดตัน: ในเด็กทารก อันตรายแค่ไหน