โรคกระจกตาย้วย

โรคกระจกตาย้วย เป็นความผิดปกติของดวงตาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างภายในกระจกตา ซึ่งทำให้กระจกตาบาง และมีรูปร่างผิดปกติ โรคกระจกตาย้วยส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ และความสามารถในการมองเห็นลดลง ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในช่วงวัยรุ่น และจะมีอาการรุนแรงที่สุดในช่วงอายุ 20 - 39 ปี ในบางรายอาจใช้เวลาหลายสิบปีจึงจะมีอาการรุนแรง แต่สำหรับรายอื่นๆ อาจมีอาการรุนแรงถึงระดับและหยุด

มักมาด้วยอาการนำคือมีสายตาสั้นหรือสายตาเอียง โดยค่าสายตามักเปลี่ยนแปลงเร็วผิดปรกติ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้โดยแว่นตา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักอยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน มาปรึกษาเพื่อต้องการทำเลสิก เนื่องจากเริ่มมีปัญหากับการใช้แว่นหรือคอนแทคเลนส์

สาเหตุ โรคกระจกตาย้วย

จากการศึกษากลไกการเกิดโรคกระจกตาย้วย เชื่อว่า น่าเริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่เรียกว่า Basal ในเนื้อเยื่อบุผิวของกระจกตา ตามด้วยการฉีกขาดของเนื้อเยื่อกระจกตาชั้นที่เรียกว่า Bowman เนื้อเยื่อบุผิวกระจกตาจึงบางลงตัว และสารคอลลาเจน (Collagen) ในชั้นกลางของกระจกตามีการเรียงตัวที่ผิดไป ไม่สม่ำเสมอ นานเข้าเนื้อเยื่อชั้นที่อยู่ลึกคือชั้น Descemet มีการฉีกขาด ตามด้วยแผลเป็นที่เห็นได้ชัด (กระจกตาเป็นฝ้าขาว) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ส่งผลให้กระจกตาบางลง จึงยื่นปูดออกมาข้างหน้า ทำให้เกิดภาวะตาสั้น – สายตาเอียงมากขึ้นๆตามความรุนแรงของกระจกตาที่ผิดปกติไป บางรายถ้ามีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อชั้น Descemet กระจกตาจะบวมน้ำทันที เรียกว่าเกิด Acute hydrop ซึ่งลักษณะอาการกระจกตาบวมน้ำนี้จะคล้ายกับอาการในผู้ป่วยโรคต้อหินเฉียบพลัน แต่ต่างกันที่ อาการจากกระจกตารูปกรวยบวมน้ำจะพบในคนอายุน้อยและมีความดันลูกตาไม่สูง

 อาการ โรคกระจกตาย้วย

     อาการที่พบได้จากภาวะกระจกตาย้วย คือ เด็กวัยรุ่นที่มีสายตามัวลงๆ ร่วมกับเห็นภาพบิดเบี้ยว บางรายมีอาการเคืองตาแสบตา สู้แสงไม่ได้ มีสายตาสั้นและเอียงค่อนข้างมาก

การรักษา โรคกระจกตาย้วย

โรคกระจกตาย้วยสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี วิธีแรก คือ การใส่คอนแทคเลนส์ชนิด RGP และเมื่อการมองเห็นมีความผิดปกติจนถึงขั้นที่คอนแทคเลนส์ไม่สามารถช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้แล้ว อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา การวัดความโค้งและความหนาของกระจกตาทำให้แพทย์สามารถเห็นรูปร่างของกระจกตา และใช้ในการตรวจหาโรคกระจกตาย้วย และระดับอาการของโรคอีกด้วย

[Total: 0 Average: 0]