5 นวัตกรรมอาหารของนักบินอวกาศ ปี 2020

ชานมไข่มุก นี้มีแต่ให้ ประโยชน์ โทษ คือ

เรารู้เรื่องนักบินอวกาศหลายเรื่อง อย่างเช่นการฝึกและการเตรียมตัว การปรับสภาพร่างกาย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การติดต่อสื่อสารกับพื้นโลก ฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนยังค้างคาใจอยู่ก็คือ

เขากินอะไรกันบนนั้น?

นวัตกิน


แม้ว่าการกินจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่จากสภาพแวดล้อมไร้แรงโน้มถ่วง การกินจึงไม่สะดวกนัก อาหารมื้อแรกในอวกาศเป็นอาหารไร้รสชาติ ไร้กลิ่นและไม่มีความเหนียว แต่ในมื้อหลังๆ นักบินอวกาศจะได้กินอาหารที่มีรสชาติ มีสมดุลในเนื้อสัมผัสและมีคุณค่าทางโภชนาการ ที่ผ่านการค้นคว้ามาแล้วเป็นอย่างดีว่าเหมาะกับการอยู่ในอวกาศเป็นเวลานานๆ และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

1. มื้อแรกในอวกาศ เมนูนอกโลกยุคแรก

อาหารที่ยูริ กาการิน นักบินอวกาศคนแรกของโลกชาวรัสเซีย ผู้ได้ขึ้นไปโคจรในอวกาศเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1961 รับประทานนั้น เป็นอาหารเหลวที่บรรจุในหลอดคล้ายๆ หลอดยาสีฟัน พร้อมกับช็อกโกแล็ตเหลวที่บรรจุในหลอดแบบเดียวกัน

ปีต่อมา จอห์น เกลน (John Glenn) นักบินอวกาศสหรัฐคนแรกที่กินอาหารในอวกาศขณะโดยสารไปกับกระสวยอวกาศเฟรนด์ชิพ 7 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1962 ก็ได้ทานอาหารเมนูใหม่

อาหารที่เขากินนั้นมีตั้งแต่แอปเปิ้ลซอสบรรจุในถุง น้ำตาลก้อนและน้ำ โดยเมนูนี้ถูกออกแบบจากความกลัวว่าการทานอาหารในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงนั้นอาจจะทำให้อาหารติดคอนักบินอวกาศได้ (มนุษยชาติไม่ควรพลาดด้วยเรื่องแบบนี้!) ซึ่งก็นับว่าได้ผลและโชคดีที่จอห์น เกลนไม่สำลัก ซึ่งแสดงว่าการกินอาหารในอวกาศนั้นมีความเป็นไปได้

แต่แน่นอนครับ , วิวัฒนาการอาหารบนโลกนั้นยังต้องใช้เวลาเติบโต ดังนั้นพัฒนาการอาหารสำหรับบนอวกาศก็เช่นกัน นั่นคือ กว่าจะได้อาหารที่เหมาะสมและน่ากิน(กว่าเมื่อก่อน) นักบินอวกาศในภารกิจต่างๆ จำนวนมากต้องทนกินอาหารอาหารข้นๆ บรรจุถุง กับอาหารเคลือบเจลาตินที่หั่นเป็นคำอยู่นานเลยทีเดียวกว่าจะเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันที่มีอาหารที่ “ดูดี” กว่าเดิม สามารถเก็บรักษาได้นานในอวกาศโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น(อวกาศ) และช่วยลดเสียงบ่นจากนักบินอวกาศลงได้เยอะ

2. อาหารต้องห้ามบนอวกาศ

มีอาหารหลายชนิดที่ถือว่าเป็นของ “ต้องห้าม” ของนักบินอวกาศครับ เช่น ขนมปังแคร็กเกอร์ น้ำอัดลม พิซซ่า และอาหารอื่นๆ อีกหลายชนิด

ทำไม?

คำตอบคือ เพราะเศษเล็กเศษน้อยของมันอาจก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อระบบกรองอากาศของยานได้นั่นเอง

เศษแคร็กเกอร์เล็กๆ ที่เรามองว่าไม่มีพิษภัยอะไรนั้น เมื่ออยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง อาจเข้าตาหรือเข้าระบบทางเดินหายใจของนักบินอวกาศได้

น้ำอัดลมก็เช่นกัน..

น้ำอัดลมกลายเป็นเรื่องยุ่งยากเมื่ออยู่บนอวกาศ เพราะฟองฟู่ของน้ำอัดลมในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงนั้นไม่ได้ลอยผุดขึ้นเหมือนที่เราเห็นบนพื้นโลก ถ้านักบินอวกาศดื่มน้ำอัดลมเข้าไปล่ะก็ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำท้องอืดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่เป็นผลดีต่อภารกิจระดับจักรวาลแน่

นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พิซซ่า มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบครับ หรือแม้แต่ปลาแห้งรมควัน ที่เป็นสิ่งต้องห้ามบนยานอวกาศ ส่วนเกลือกับพริกไทยนั้นจะต้องทำให้เป็นน้ำเสียก่อนจึงจะปลอดภัย และเครื่องปรุงสำคัญอย่างซอสมะเขือเทศ มัสตาร์ดและมายองเนสก็ต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้นักบินอวกาศใช้งานได้สะดวก

3. โยเกิร์ตในอวกาศ อาหารจำเป็น

แล้วนักบินอวกาศกินอะไรได้บ้าง..

อาหารบางอย่างกินได้ทันทีในอวกาศครับ อย่างเช่นขนมบราวนี หรือผลไม้บางชนิด บางอย่างต้องทำเป็นอาหารกระป๋อง และบางอย่างอาจต้องทำเป็นอาหารแห้งที่ต้องเติมน้ำและเข้าเตาอบก่อนทาน เช่น มักกะโรนี สปาเก็ตตี เป็นต้น

ส่วนอาหารที่นักบินอวกาศ (ฝรั่ง) โปรดปรานมากก็มีถั่วหรือลูกนัทเคลือบช็อกโกแล็ตที่นิยมปล่อยให้ลอยเข้าปากเคี้ยวอย่างเอร็ดอร่อย

ส่วน “โยเกิร์ต” นั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นเลยครับ นักบินอวกาศนั้นต้องกินโยเกิร์ตให้มากเข้าไว้ เพราะมีงานวิจัยพบว่าการอยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานานๆ ร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกถึง 20% ดังนั้น นักบินอวกาศจึงต้องกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงๆ อย่างโยเกิร์ตที่ผลิตให้มีรสชาติต่างๆ ทั้งรสบลูเบอรี รสราสเบอรีและรสยอดนิยมอย่างสตรอว์เบอรี

แต่สำหรับขนมปังซึ่งเป็นของหลักบนโลกนั้นมีปัญหาครับ เนื่องจากขนมปังมีอายุการเก็บรักษาไม่นานนัก ดังนั้นโครงการอวกาศจึงต้องหันไปใช้แผ่นตอร์ติญา (tortilla) ซึ่งเก็บรักษาได้นานกว่าและไม่มีเศษชิ้นส่วนน้อยเหมือนขนมปัง โดยหลายโครงการกำหนดว่าต้องมีไส้เป็นเนยถั่วและแยมด้วย

4. อาหารนานาชาติและจิบกาแฟในอวกาศ

นักบินอวกาศยุคใหม่ๆ ได้ลิ้มรสอาหารที่ “ดีขึ้น” กว่ายุคแรกๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเช้ายอดนิยมอย่างกุ้งอบแห้งราดซอสรสเผ็ดร้อน เพราะยิ่งอยู่ในอวกาศนานเท่าไหร่ การรับรสยิ่งแย่ลง การได้อาหารรสเผ็ดร้อนบ้างจะช่วยกระตุ้นตุ่มรับรส (taste bud) ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

โครงการอวกาศของญี่ปุ่น มีห้องเตรียมอาหารที่มาพร้อมกับอาหารใหม่ๆ รวมทั้งอาหารประจำชาติญี่ปุ่น อย่างเนกิมะ (อกหรือสะโพกไก่เสียบไม้กับต้นหอมญี่ปุ่น) โอโกโนมิยากิ (หรือที่บางคนเรียกว่าแพนเค้กญี่ปุ่น) เต้าหู้ ราเม็ง ซูชิหรือแม้แต่อุดง ที่เสิร์ฟพร้อมกับชาเขียวมัตฉะ

นอกจากนี้ยังมีอาหารจีนอย่างไก่กงเป่า (จำได้ใช่ไหมครับ นวัตกินเคยนำเสนอไปแล้ว หน้าตาคล้ายๆ ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เราคุ้ยเคยกัน) อาหารเกาหลีอย่างกิมจิที่ใช้เวลาและทุนวิจัยไม่น้อยกว่าจะได้สูตรที่เหมาะสำหรับการเดินทางในอวกาศ รวมไปถึงเนื้อกวางมูสตากแห้งแบบสวีเดน ซุปบอร์ชของรัสเซีย เป็นต้น

ขณะเดียวกัน หลายๆ บริษัทต่างก็พัฒนาอาหารและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่จะทำให้ได้อาหารที่เหมาะสม อย่างเช่นบริษัทแห่งหนึ่งในอิตาลีพัฒนาซุปถั่วแบบ slow food ที่ให้ทั้งรสชาติและคุณค่าโภชนาการ รวมทั้ง “กาแฟแค็ปซูล” สำหรับนักบินอวกาศ

ซึ่งกาแฟแค็ปซูลอวกาศนี้เองที่ที่ทำให้ซามันธา คริสโตโฟเร็ตติ ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกว่าเป็นคนแรกที่ชงและดื่มกาแฟสดบนอวกาศเมื่อปี 2015 โดยเครื่องชงและแก้วกาแฟที่ออกแบบพิเศษสำหรับของเหลวในสภาพแรงโน้มถ่วงน้อย

5. ไอศกรีมอวกาศ (astronaut ice cream)

บนโลกนี้มีผลิตภัณฑ์ชื่อว่า “ไอศกรีมอวกาศ” (astronaut ice cream หรือ space ice cream) ที่จัดเป็นของที่ระลึกขายดิบขายดีติดอันดับ Best Seller ร้านขายสินค้าเกี่ยวกับอวกาศทั่วโลก บางร้านขายถึงกับบอกว่าขายได้มากกว่าปีละ 30,000 ชิ้นเลยทีเดียว

แต่ทราบไหมครับว่า ไอศกรีมอวกาศที่บริษัทเวอร์พูลพัฒนาขึ้นสำหรับโครงการอวกาศอะพอลโลภายใต้สัญญากับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) นี้ ถูกคิดค้นและทำขึ้นเพื่อวางขายตามพิพิธภัณฑ์และร้านขายของที่ระลึกวิทยาศาสตร์ในสหรัฐเท่านั้น

พูดง่ายๆ คือ มันไม่เคยขึ้นไปบนอวกาศเวิ้งว้าง ไม่มีหลักฐานว่ามีการนำไอศกรีมดังกล่าวขึ้นไปกับโครงการอะพอลโลเลยแม้สักครั้งเดียว

เอาล่ะ..กลับมาสู่โลก..
เราคงเห็นกันแล้วนะครับว่า เรื่องของการบินอวกาศนั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมากซึ่งต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา พร้อมกันนั้นพวกเขายังจำเป็นต้องใส่ใจสภาพร่างกายและจิตใจของนักบินอวกาศมากๆ ด้วย เพราะ นักบินอวกาศถือเป็นหัวใจของทุกโครงการอย่างแท้จริง

ดังนั้น “นวัตกรรมอาหาร” จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ และนี่คือที่มาของ “อาหารอวกาศ” ที่ทำให้เขาและเธอเหล่านั้นมีแรงกายแรงใจในการปฏิบัติหน้าที่ในอวกาศได้อย่างเต็มที่ครับ

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/breakfastinnovation
https://www.nasa.gov/audience/foreducators/stem-on-station/ditl_eating
https://www.lifegate.com/people/news/austronauts-food-in-space
https://edition.cnn.com/2019/07/19/world/apollo-space-food-history-scn/index.html
https://www.fi.edu/5-foods-astronauts-cant-eat-in-space
https://en.wikipedia.org/wiki/Space_food

[Total: 7 Average: 5]

2 thoughts on “5 นวัตกรรมอาหารของนักบินอวกาศ ปี 2020

  1. องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ องค์การนาซา ได้ประกาศว่ามีแผนที่จะอนุญาตให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเที่ยวชม สถานีอวกาศ นานาชาติได้ภายในปี 2020 โดยนักท่องเที่ยวสามารถอยู่ได้ไม่เกิน 30 วัน

Leave a Reply to ย่านางCancel reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading