โรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียม (Chlamydia) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยผู้ที่เป็นหนองในเทียมมักจะไม่แสดงอาการออกมาในระยะแรก

จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรค พบอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคหลัก ได้แก่ ซิฟิลิส หนองใน (Gonorrhea) หนองในเทียม แผลริมอ่อน (Chancroid) และกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (ฝีมะม่วง) เพิ่มขึ้นจากอัตราป่วย 18.9 ต่อประชากรแสนคนในปี 2556 เพิ่มเป็น 28.8 ต่อประชากรแสนคนในปี 2560

อาการ หนองในเทียม

อาการหนองในเทียมในเพศชาย

ผู้ชายส่วนมากจะไม่มีอาการแม้จะติดเชื้อหนองในเทียมแล้วก็ตาม

ในเพศชายเวลาที่หนองในเทียมอาการปรากฏ จะใช้เวลา 1-3 สัปดาห์หลังจากการได้รับเชื้อหนองในเทียม

อาการหนองในเทียมที่พบโดยทั่วไปในเพศชาย:

  • รู้สึกแสบระหว่างถ่ายปัสสาวะ
  • มีสารคัดหลั่งสีเหลืองหรือสีเขียวออกจากอวัยวะเพศ
  • ปวดช่องท้องช่วงล่าง
  • ปวดอัณฑะ

นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถเกิดอาการเชื้อหนองในเทียมในทวารหนักได้ อาการโดยหลักๆ คือ มีสารคัดหลั่งออกจากทวารหนัก ปวด และมีเลือดออกจากบริเวณนี้

การมีเพศสัมพันธ์แบบออรัลเซ็กซ์กับผู้ที่ติดเชื้อ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นหนองในเทียมในลำคอ อาการหลักๆ คือ เจ็บคอ ไอหรือมีไข้ นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่แบคทีเรียจะติดเชื้อในลำคอ

อาการหนองในเทียมในเพศหญิง

หนองในเทียมรู้จักกันดี ในการติดเชื้อแบบไม่ส่งสัญญาณใดๆ นั่นหมายถึงว่าผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใดๆ หรืออาจจะใช้เวลานานหลายสัปดาห์หลังจากติดเชื้อจึงจะปรากฏอาการ

อาการโดยทั่วไปของหนองในเทียมในเพศหญิงได้แก่:

  • เจ็บอวัยวะเพศระหว่างมีเพศสัมพันธ์ 
  • ตกขาว
  • รู้สึกแสบระหว่างถ่ายปัสสาวะ
  • ปวดช่องท้องช่วงล่าง
  • ปากมดลูกอักเสบ
  • เลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ในผู้ป่วยหญิงบางรายที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถลุกลามไปยังท่อนำไข่ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) ที่เป็นอาการผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน

อาการโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) :

  • มีไข้(fever)
  • ปวดกระดูกเชิงกรานอย่างมาก
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์

สาเหตุ โรคหนองในเทียม

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย และไม่หลีกเลี่ยงการใช้ออรัลเซ็กส์ เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อหนองในเทียม เนื่องจากโรคหนองในเทียมนั้นเป็นโรคติดต่อ

การที่อวัยวะเพศสัมผัสกันจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก

ทารกแรกเกิดสามารถรับหนองในเทียมจากแม่ของพวกเขาในระหว่างการคลอด ส่วนใหญ่จะมีการทดสอบหนองในเทียมก่อนคลอด รวมถึงการทดสอบอีกครั้งด้วย OB-GYN ในระหว่างการตรวจก่อนคลอดครั้งแรก

การติดเชื้อหนองในเทียมในดวงตาสามารถเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสอวัยวะเพศด้วยตาหรือปาก แต่หนองในเทียมที่เกิดในดวงตาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก

โรคหนองในเทียมนั้น สามารถติดเชื้อแม้ในคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน และทำการรักษาได้สำเร็จ 

การรักษา โรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียมนั้นสามารถรักษาโดยง่ายโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคหนองในเทียมที่นิยมใช้ได้แก่

Azithromycin เป็นยาปฏิชีวนะที่แพทย์มักจะใช้รักษาผู้ป่วยด้วยปริมาณยาที่มาก ส่วน Doxycycline เป็นยาปฏิชีวนะที่ต้องกินวันละ 2 ครั้ง นาน 1 สัปดาห์

แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าแพทย์จะให้ยาใดๆ ในการรักษาผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังตามคำสั่งแพทย์ เพื่อให้การติดเชื้อจะหายขาด การให้ยาเพื่อรักษานี้อาจใช้เวลายาวนานถึง 2 สัปดาห์

ระหว่างการรักษาหนองในเทียมควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้ออีกครั้ง

 แม้ว่าหนองในเทียมจะสามารถรักษาได้ แต่ก็ยังต้องใส่ใจป้องกันในระยะยาว

[Total: 0 Average: 0]