โรคคาร์พัลทูนเนล

โรคคาร์พัลทูนเนล หรือ เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น คือ โรคที่ ในบางครั้งเนื้อเยื่อ ภายในช่องแคบนี้อาจเกิดการบวม ทำให้เส้นประสาทมือถูกบีบรัด เกิดมีอาการปวดชาที่ปลายมือ

เส้นประสาทมือ ที่เรียกว่า ประสาทมีเดียน (median nerve) เมื่อลงมาที่ข้อมือจะวิ่งผ่านช่องเล็ก ๆ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกข้อมือและแผ่นพังผืดเหนียว ๆ  ที่อยู่ข้างใต้ของกระดูกข้อมือ ช่องเล็ก ๆ นี้มีชื่อเรียกว่า คาร์พัลทูนเนล (ช่องใต้กระดูกข้อมือ)

โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย พบมาในผู้หญิงอายุ 30 – 60 ปี โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ๓ เท่า (เนื่องจากช่องใต้กระดูกข้อมือของผู้หญิงมีลักษณะแคบกว่า) มักพบในคนอ้วน คนที่เป็นเบาหวาน โรคปวดข้อรูมาตอยด์ ขณะตั้งครรภ์หรือระยะก่อนมีประจำเดือน หรือในคนที่ใช้ข้อมืออย่างผิดๆ

สาเหตุ โรคคาร์พัลทูนเนล

อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ ภาวะบวมในระยะก่อนมีประจำเดือนหรือระหว่างตั้งครรภ์ หรืออาจพบร่วมกับภาวะอื่น ๆ เช่นโรคข้อรูมาตอยด์  ภาวะขาดไทรอยด์  เบาหวาน  ภาวะอ้วน  เป็นต้น บางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจพบมีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย

อาการ โรคคาร์พัลทูนเนล

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือรู้สึกชาเป็นพัก ๆ ที่มือ (โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้) นิ้วกลาง และซีกหนึ่งของนิ้วนางด้านที่ติดกับนิ้วกลาง) บางครั้ง อาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ อาการปวดมักจะเป็น มากตอนกลางคืนหรือตอนเช้ามืดจนบางครั้งอาจทำให้ ผู้ป่วยสะดุ้งตื่นบางรายเมื่อได้ห้อยข้อมือตรงขอบเตียง หรือสะบัดมือจะรู้สึกทุเลาได้

การทำงานโดยใช้ข้อมือ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่างอข้อมือมาก ๆ หรือเร็ว ๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน พิมพ์ดีด) งอข้อมือเร็ว ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือชาได้  ถ้าเป็นมาก อาจทำให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น ๆ ชาและ อ่อนแรงได้ อาการอาจเกิดขึ้นที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้าง ก็ได้ ในรายที่เป็นระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดอาการมักจะหายไปได้เอง อาการชาปลายมือ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น

  • โรคเหน็บชา ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบี ๑ รวมไปถึงคนยากจน คนที่ใช้แรงกายหนักและกินคาร์โบไฮเดรตมาก หรือคนที่ขาดอาหาร มักจะมีอาการชาปลายมือปลายเท้าทุกนิ้ว
  • เบาหวาน ที่ปล่อยให้มีน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง (นาน ๑๐ ปีขึ้นไป) ทำให้เส้นประสาทเสื่อม มีอาการชาปลายมือปลายเท้าทุกนิ้ว

การป้องกัน โรคคาร์พัลทูนเนล

  1. ควบคุมน้ำหนักตัว และโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน) ที่เป็น
  2. ฝึกการใช้มือให้ถูกต้อง เช่น
    • ในการนั่งเขียนหนังสือนานๆ ควรใช้ปากกาด้ามใหญ่และหมึกไหลลื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วจับ ปากกาแรงเกิน และกดกระดาษแรงๆ
    • หมั่นฝึกการใช้ข้อมือ และบริหารข้อมือโดยการเหยียดขึ้น–งอลง เป็นระยะๆ
    • หลีกเลี่ยงการทำงานโดยการงอข้อมือติดต่อกันนานๆ
    • ในการพิมพ์แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ (คีย์บอร์ด) พยายามยกข้อมือให้อยู่ระดับข้อศอก หรือต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย

การรักษา โรคคาร์พัลทูนเนล

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์อาจทำการ วินิจฉัยโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography/EMG)

การรักษา ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย อาจให้กินยาแก้ปวด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช้สตีรอยด์ และใส่เฝือกที่มือเวลาเข้านอน บางอาจต้องฉีดสตีรอยด์เข้าที่ข้อมือข้างที่ปวด ถ้าเป็นมาก อาจร้องผ่าตัด (โดยตัดแผ่นพังผืดที่บีบรัดเส้นประสาท) ซึ่งจะช่วยให้อาการทุเลาภายในเวลาไม่กี่วัน

ถ้ามีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ภาวะพร่องไทรอยด์ โรคปวดข้อรูมาตอยด์ แพทย์ก็จะให้การรักษาโรคนี้ร่วมไปด้วย


    [Total: 3 Average: 5]