Telemedicine: “เศรษฐพงค์” จี้ กสทช.-อีดี เร่งประมูล 5จี รองรับ

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.62 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวาระหารือ โดย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่า เรื่องที่ตนขอหารือนั้น เป็นเรื่องที่มีผลกระทบอย่างมากต่อยุทธศาสตร์ระดับชาติ และนโยบายของรัฐบาล โดยอาจจะมีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณสุข ที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ได้มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะเป็นปัญหาที่ใหญ่มากในประเทศไทย และจะนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง ด้วยเทคโนโลยี telemedicine ซึ่งจะต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่  พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า เรื่องแรก คือ การติดตามโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ชายขอบในโซน C+ จำนวน 3,920 หมู่บ้าน ซึ่งบริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน (TOT) อยู่ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวง DE เป็นผู้ดำเนินการ”Telemedicine:“Telemedicine: “เศรษฐพงค์” จี้ กสทช.-อีดี เร่งประมูล 5จี รองรับ” 계속 읽기

5 นิสัย ยังงัยก็อ้วน

มีหลายคนเลยนะ ที่เอาแต่บ่นว่าอ้วน แต่ก็ยังมีพฤติกรรมการกิน ที่ทำเหมือนเดิมทุกๆวัน รู้มั้ยว่าบางทีไอ้นิสัยรักการกิน ที่ทำเป็นนิสัยเนี่ยแหละ คือตัวการสำคัญของความอ้วนแบบที่นึกไม่ถึงเลยนะ มีอะไรบ้างมาดูกันเลย!!!…… 1. กินไปดูทีวีไป ความเพลินของการดูทีวี ทำให้เรากินได้เยอะมากขึ้นแบบไม่รู้ตัว สมาธิของเราจะไปโฟกัสอยู่ที่ทีวี ทำให้เราลืมตัว ว่าตอนนี้เรากำลังเริ่มอิ่มแล้วนะ ทีนี้มันจะไม่อ้วนยังไงไหว…. 2. เสียดายของ อาการเสียดายของทำให้เราพังมานับครั้งไม่ถ้วนเลยนะ รวมทั้งเรื่องการกินนี่ก็ด้วย โดยเฉพาะประโยคสุดคลาสสิกว่า สงสารชาวนา เลยต้องกินข้าวให้หมด การกินต่อทั้งๆ ที่อิ่มแล้วนี่แหละ ตัวการทำให้อ้วนเลยล่ะ…. 3. บุฟเฟ่ต์ทั้งทีเอาให้คุ้ม จ่ายไปเท่าไหร่ต้องเอาให้คุ้ม บางคนอัดเข้าไปจนแน่น อิ่มพุงกาง และท้องอืดไปหลายชั่วโมงก็มีนะ แล้วลองคิดดูว่า การกินที่มากเกินไป ทำให้กระเพาะอาหาร และระบบย่อยทำงานหนักเกินจำเป็น สิ่งที่เหลือไว้ก็คือไขมัน ที่กลายเป็นส่วนเกิน เข้าใจแล้วใช่มั้ยทีนี้ 4. ยิ่งเครียด ยิ่งกิน โอยยย!!! เครียด หาไรกินดีกว่า ถ้ากำลังคิดแบบนี้อยู่? บอกเลยว่าการระบายความเครียดด้วยการกิน อาจส่งผลร้ายถึงขั้นทำเราเป็นโรคจิต เสพติดการแก้เครียดด้วยการกินได้เลยนะ เปลี่ยนเป็นไปเที่ยวดี ไปหาอะไรทำดีกว่ามั้ย จะได้ไม่ต้องกินเยอะ ไม่กินเยอะก็ไม่อ้วนนะ ท่องไว้ๆ…. 5.”5“5 นิสัย ยังงัยก็อ้วน” 계속 읽기

เอชไอวี: ผลดี-ผลเสีย อย.ปลดล็อค ‘ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง’

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปลดล็อคชุดตรวจเอชไอวีของประเทศไทย เช้านี้ ระหว่างที่กินข้าวกับครอบครัว ได้คุยกัน และระดมสมองวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปลดล็อคชุดตรวจเอชไอวี วันก่อน ทางอย.ปลดล็อคให้เสรีชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ข้อดีคือ แต่ละคนมีอิสระ และเก็บรักษาความลับเกี่ยวกับสถานะของตนได้ ก่อนที่จะไปตรวจยืนยันที่ รพ. ไม่ต้องลำบาก และเสี่ยงต่อการถูกตีตราเรื่องพฤติดรรมเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นคือ หนึ่ง ขาดการให้คำปรึกษา ผู้ที่ตรวจด้วยตนเองจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวีระดับหนึ่ง เพราะอาจตัดสินใจคิดสั้นทำร้ายตนเองหากผลตรวจเป็นบวกได้ สอง อาจมีโอกาสนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยสถานประกอบการหลอกผู้สมัครงานและทำการตรวจเอชไอวีโดยไม่ได้รับความยินยอม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสาธารณสุข และด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงประชาชนทุกคนจึงควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเตรียมกลไกติดตามควบคุมป้องกันตั้งแต่บัดนี้ ด้วยความปรารถนาดีต่อทุกคน ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กัญชา: บทบาทขององค์กรวิชาชีพในเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์”

ท่ามกลางกระแสกัญชาในสังคมไทย มีการปั้นแต่งเชิงวิชาการให้คนหลงเชื่อว่า รักษาได้ร้อยแปดพันเก้า เอาเรื่องสารเคมี โมเลกุลโน่นนี่นั่น แล้วเคลมว่ากัญชาช่วยได้หมด ทั้งๆ ที่ในโลกแห่งการแพทย์สากล ไม่สามารถยอมรับแบบนั้นได้ เพราะการรักษาแต่ละอย่างนั้นจำเป็นต้องผ่านการพิสูจน์ตามมาตรฐานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพ เนื่องจากชีวิตคนทุกคนนั้นมีคุณค่า ปัญหาหนักหน่วงตอนนี้คือ เมืองไทยมาไกลเกินกว่าจะแก้ไขสถานการณ์หรือไม่? ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจของเมืองไทยคือ องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ไม่ค่อยได้ออกมาแถลงการณ์เรื่องการใช้กัญชากันเท่าใดนัก คราวนี้มาดูกันว่า ต่างประเทศที่กระแสคลั่งกัญชามากมายจนกู่ไม่กลับ และล่วงหน้าเมืองไทยไปมากแล้ว องค์กรวิชาชีพเค้าทำอะไรกันบ้าง? ที่จะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ และตรวจสอบกันได้คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาครับ American Epilepsy Society ซึ่งเป็นสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ออก position statement เรื่องนี้เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2019 อย่างชัดเจนว่า “การใช้กัญชาในการรักษาโรคลมชักนั้นยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้ได้” การอ้างอิงงานวิจัยที่มีส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยแบบ anecdotal reports ทั้งนี้มีงานวิจัยที่เพียงพอแก่การอนุมัติกัญชาเป็นยาเพื่อรักษาโรคลมชักในอเมริกาที่ชื่อ Epidiolex นั้นใช้เพื่อรักษาเฉพาะโรค Lennox-Gastaut syndrome (LGS) และ Dravet syndrome เท่านั้น แต่ระบุไว้ด้วยว่า งานวิจัยที่ใช้ขออนุมัติยานี้นั้นเป็นการเปรียบเทียบกัญชากับยาหลอกเท่านั้น มิได้เปรียบเทียบกับยามาตรฐานอื่นๆ เลย นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังพบว่าการใช้กัญชาก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ และมีปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ระหว่างกัญชากับยาอื่นด้วย”กัญชา:“กัญชา: บทบาทขององค์กรวิชาชีพในเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์”” 계속 읽기

กัญชา: จะต้อนหรือจะรับสังคมอุดมกัญชา?

European Journal of Public Health ซึ่งเป็นวารสารวิชาการระดับสากล ฉบับล่าสุดเพิ่งตีพิมพ์บทความวิชาการเกี่ยวกับกัญชาหลายเรื่องจากประเทศต่างๆ สดๆ ร้อนๆ ครับ มาดูกันไหมว่าเค้ามีเนื้อหาอะไรกันบ้าง? เมืองไทย นักการเมืองและนักกฎหมายบางคนโฆษณากันหลายครั้งว่า ถ้าปลดล็อคกัญชาเสรี ยาเสพติดอื่นๆ และการค้าขายในผิดกฎหมายจะลดลง… จริงหรือไม่? บทความในวารสารนี้ได้นำเสนอว่า จากการติดตามของประเทศในยุโรปบอกได้เพียงว่า ข้อมูลที่มีนั้นชี้ให้เห็นว่าการปลดล็อคกัญชา ไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรม และการค้าขายในตลาดมืดเลย (1) ทีนี้เราก็อาจยังจำได้ว่า มีการเล่นลิ้นในหมู่คนเรียกร้องโหยหากัญชาว่า การมีกฎหมายและนโยบายแข็งกร้าวต่อคนเล่นยานั้นไม่ได้ช่วยลดยาเสพติดได้ดีนัก ดังนั้นน่าจะเปิดเสรี เอาใต้ดินมาบนดิน จะได้คุมง่ายๆ จะดีกว่าไหม? ข้อมูลที่มีในปัจจุบัน เตือนกันอย่างหนักว่า การเปิดเสรีนั้นหมายถึงใช้กันอย่างอิสระ และนำมาสู่การค้าขายเชิงพาณิชย์ จัดเป็นหนทางที่อันตรายยิ่ง ดังจะเห็นได้จากบทความวิชาการที่เผยแพร่ดังนี้ “…While the ‘war against drugs’, and a hard policy against drug users, has not shown to reduce the harmful”กัญชา:“กัญชา: จะต้อนหรือจะรับสังคมอุดมกัญชา?” 계속 읽기

เอดส์: สงครามยืดเยื้อกับการกวาดล้างครั้งใหญ่

การสู้รบกับเอดส์มีมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำงานต่างรู้ดีว่าสงครามครั้งนี้ “ยืดเยื้อ” เอดส์คือปัญหาระดับมนุษยชาติ โดยทั่วโลกพร้อมใจกันประกาศมาตรการกวาดล้างให้หมดไปในปี 2030 แน่นอนว่าประเทศไทยเอาด้วย และตั้งเป้าที่จะ Ending AIDs ให้เด็ดขาด ระยะสั้น 1 ปีข้างหน้า หรือภายในปี ค.ศ. 2020 ประเทศไทยต้องมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่เกิน 2,000 ราย และอีก 11 ปีข้างหน้า หรือภายในปี ค.ศ. 2030 ประเทศไทยจะเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่เกิน 1,000 ราย คำถามคือจะเป็นไปได้ไหม ? ในเมื่อปีที่ผ่านมา (2018) เรายังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ราว 6,000 ราย และประมาณการกันว่าในปีนี้ (2019) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังจะอยู่ที่ 5,000 ราย วงเสวนาเรื่อง “ทิศทางการยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย” ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการดำเนินงานบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ปีงบประมาณ 2562 และเตรียมการจัดทำแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2563 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 22″เอดส์:“เอดส์: สงครามยืดเยื้อกับการกวาดล้างครั้งใหญ่” 계속 읽기

PM 2.5: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันฝุ่นพิษ

ที่จริงกรุงเทพมหานครของเรามีฝุ่นชนิด PM 2.5 ที่เป็นแหล่งหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติมากเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าวันร้ายคืนร้ายที่อุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเร็ว ความชื้นในอากาศสูงขึ้น ลมอับ แสงแดดยังไม่ได้เวลามาเยือน ประกอบกับกรุงเทพฯ มีอาคารสูงจำนวนมาก ก็จะทำให้การไหลถ่ายเทของอากาศยามลมอับไม่ดี ไม่ต่างกับจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นเมืองแอ่งกระทะตามธรรมชาติ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ “impaction” หมายถึง ฝุ่นขนาดเล็ก คือ PM 2.5 ฟุ้งกระจายออกไปได้ยาก เจ้าตัวร้ายนี้จะมีผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์ที่สำคัญทันทีทันใด คือ 1.ทำให้ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังทุกชนิดมีอาการกำเริบ และ 2.ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการกำเริบ ทั้งนี้ไม่นับผลระยะยาวที่มีอีกมากเหลือพรรณนา ดังนั้นคำแนะนำการปฏิบัติตัวในสถานการณ์เช่นวันนี้และคงอีกหลายวันจนถึงปีหน้า มีดังนี้ ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศจากแหล่งของกรมควบคุมมลพิษ ที่มีครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไม่ใช่แต่กรุงเทพฯ อย่างเดียวถ้าเห็นค่าปริมาณ PM 2.5 เป็นสีแดง แสดงว่าสูงเกินค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลก ที่ค่าเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงไม่ควรเกิน 25 µg/m3เมื่อเห็นแล้วคนทั่วไปควรหลีกเลี่ยงเดินทางออกจากที่พักอาศัยจนกว่าระดับจะลดลงมาเป็นสีส้ม ที่ยังพอจะยอมรับได้แต่ถ้าจำเป็นจะต้องเดินทาง สำหรับคนที่ไม่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรงดังกล่าวมาแล้ว แนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่นอกอาคาร โดยต้องสวมให้ถูกวิธีและกระชับกับใบหน้าส่วนปากและจมูกให้มากที่สุดแต่ถ้าเป็นคนที่มีโรคเรื้อรังที่รุนแรงดังกล่าวมาแล้ว ไม่ควรออกจากบ้าน แต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ เช่น ต้องไปโรงพยาบาลพบแพทย์ตามนัด (ที่จริงโรงพยาบาลต่าง ๆ ควรอำนวยความสะดวกเลื่อนนัดให้ผู้ป่วยเช่นนี้ได้โดยสะดวกในทุกช่องทาง) ให้ใช้หน้ากากชนิด N95 ซึ่งพอจะช่วยกรองเจ้าตัวฝุ่นร้ายขนาดเล็กนี้ได้ในปริมาณที่มากกว่าหน้ากากอนามัยธรรมดา”PM“PM 2.5: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แนะแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันฝุ่นพิษ” 계속 읽기

บุหรี่ไฟฟ้า: สหรัฐฯ พบอันตรายในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด ‘หมอประกิต’ เตือนหยุดสูบ ชี้เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง

เปิดงานวิจัยใหม่ สหรัฐอเมริกาพบอันตรายในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด​ หมอประกิต เตือนหยุดสูบจนกว่าจะพิสูจน์ชัด ชี้ สูบแค่ 2-3 ปี เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง ถึงตาย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ​เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า จากรายงานล่าสุดของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ซึ่งเก็บข้อมูลเรื่องผู้ป่วยด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง พบว่า มีผู้ป่วย 1,080 ราย ที่สรุปได้ว่าน่าจะป่วยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในจำนวนนี้ มี 18 รายที่เสียชีวิต โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยอายุ 23 ปี และอายุของคนที่ตายเฉลี่ยเกือบ 50 ปี ทั้งนี้ 78 % ของผู้ป่วย มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ผสมน้ำมันสกัดกัญชาด้วย ทำให้สงสัยว่าการผสมสารสกัดกัญชาจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ CDC ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นสาเหตุเดียว เนื่องจากยังมีหลายรายที่ไม่ได้ใช้น้ำมันสกัดกัญชา และมีความหลากหลายของยี่ห้อบุหรี่ไฟฟ้าที่ผู้ป่วยแต่ละคนใช้ “อัตราการป่วยดังกล่าว ทำให้อยากเรียกร้องให้คนไทยหยุดสูบบุหรี่ไฟฟ้า จนกว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงได้ว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง และถึงขั้นเสียชีวิตนั้น เกิดจากสาเหตุใด โดยพบว่าในรายงานดังกล่าวของสหรัฐฯ จาก​การตรวจน้ำล้างปอดในผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง พบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในปอดที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในปอด เช่น เชื้อโรค ฝุ่นละออง”บุหรี่ไฟฟ้า:“บุหรี่ไฟฟ้า: สหรัฐฯ พบอันตรายในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด ‘หมอประกิต’ เตือนหยุดสูบ ชี้เสี่ยงปอดอักเสบรุนแรง” 계속 읽기

5 ประโยชน์ของ Telemedicine

การให้บริการ Telemedicine (โทรเวชกรรม) ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และตัวผู้ป่วยเอง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา เรามาดู 5 ประโยชน์ของ Telemedicine กัน ความประหยัดและคุ้มค่า โทรเวชกรรมสามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางไปรับการ รักษาจากแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิค หรือในการปรึกษากับแพทย์เฉพาะด้าน สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องพักในโรงพยาบาล หรืออาจพักในโรงพยาบาล ในระยะเวลาที่สั้ นลง เพราะว่าผู้ป่วยสามารถรับการวินิจฉัยและบําบัด รักษาได้จากทางไกล หรือเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้ว แพทย์สามารถ ตรวจดูอาการได้จากที่พักของผู้ป่วย โดยไม่ต้องอยู่เพื่อดูอาการที่โรงพยาบาล ผู้ให้การบริการสามารถลดค่าใช้จ่ายได้โดยการรวมศูนย์ และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ผู้ชํานาญการ ห้องทดลอง อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพง ลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคคลากรทางการแพทย์ ให้ทันสมัยเนื่อง จากแพทย์ผู้ฝึกสอนสามารถให้การฝึกสอนอบรมแก่บุคคลากรทางการ แพทย์ได้จากทางไกล รวมทั้งแพทย์สามารถเข้าสู่ฐานข้อมูลทางการ แพทย์ได้จากทุกที่ที่ การคมนาคมสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ติดต่อได การฝึกอบรมและให้การศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาโดยรวมของการให้การบริการทางการแพทย์ โดยการรวมศูนย์ของทรัพยากรที่เกี่ยวของทางโทรเวชกรรม เกิดพัฒนาการของ แพทย์เฉพาะด้าน และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จากการใช้ฐานข้อมูลทางการ แพทย์ระหว่างประเทศ จึงทําให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องมีความทันสมัยใน ข้อมูลอยู่เสมอ ประโยชน์ของ Telemedicine สังคมเศรษฐกิจ”5“5 ประโยชน์ของ Telemedicine” 계속 읽기

ประโยชน์ของการ “ดื่มนม”

– มีไขมันดี เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย – โปรตีนสูง มีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดและกระดูก – แคลเซียมสูง เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ลดความเสี่ยงมะเร็งสำไส้ และนมช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดีหากเกิดอุบัติเหตุหรือมีบาดแผล- แลคโตส นำไปใช้ในการเจริญเติบโตของสมอง – มีวิตามิน ช่วยบำรุงเม็ดเลือดให้สมบูรณ์ – ช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ตอบสนองได้รวดเร็ว

สัญญาณเตือนเมื่อ #ตับพัง

– รู้สึกมึนงง อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ – คลื่นไส้ ไม่สบายในช่องท้อง รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา – เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดผิดปกติ – ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นและอุจจาระสีจางลง – มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) หากร่างกายมีไขมันส่วนเกิน จนเป็น #ไขมันพอกตับ ส่งผลให้ตับอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักเกิน โรคอ้วน หรือเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ไขมันทรานส์ เช่น ขนมกรุบกรอบ ขนมอบ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนัก

เปิดสถิติข่าวความรุนแรง คดีฆ่ากันตายสูงร้อยละ 70 กรุงเทพครองแชมป์

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดสถิติข่าวความรุนแรงในครอบครัว ปี 2561 พบสูงกว่าปี 2559 ถึงร้อยละ33.7 เฉพาะคดีฆ่ากันตายสูงขึ้นร้อยละ70 กรุงเทพฯครองแชมป์ฆ่ากันตาย ชี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจัยกระตุ้นสำคัญ ระบุปัญหาใหญ่เกินกว่าทำงานตั้งรับ แนะทำงานเชิงรุก หนุนกลไกชุมชน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่โรงแรมแมนดาริน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีรายงานสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี 2561 ภายใต้หัวข้อ “ฆ่าซ้ำ เจ็บซ้อน ความรุนแรงในครอบครัวพุ่ง เกินตั้งรับ” นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยรวบรวมจากข่าวหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ในรอบปี 61 พบว่า เกิดข่าวความรุนแรงในครอบครัว สูงถึง 623 ข่าว สูงกว่าปี 2559 ร้อยละ 35.4 ในจำนวนนี้มีปัจจัยกระตุ้นที่เชื่อมโยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 108 ข่าว หรือประมาณร้อยละ 17.3″เปิดสถิติข่าวความรุนแรง“เปิดสถิติข่าวความรุนแรง คดีฆ่ากันตายสูงร้อยละ 70 กรุงเทพครองแชมป์” 계속 읽기

กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน: ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รณรงค์ให้รู้จักป้องกัน

สถิติโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในอันดับที่ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพก ซึ่งผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกร้อยละ 17% และสัดส่วน 80% ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม รวมทั้งจากข้อมูลมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ พบว่าประชากรไทยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 80 – 90% ยังไม่ได้รับการประเมินและรักษา ศ.นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่ร่างกายมีความแข็งแกร่งของกระดูกลดน้อยลง ส่งผลให้กระดูกหักเกิดง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ เมื่อผู้ป่วยหกล้มจะมีความเสี่ยงกระดูกหักง่าย ไม่ว่าจะเป็นการหกล้มในท่ายืนจากชีวิตประจำวัน หรือบางรายอาจจะมีกระดูกสันหลังยุบจากการที่นั่งกระแทกก้นแรง หรือยกของหนักที่เฉียบพลันเกินไป โดยรวมภาวะกระดูกหักจากสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เราเรียกว่า ภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ทางราชวิทยาลัยฯ ในกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคกระดูกพรุน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปให้รู้จักโรคกระดูกพรุน และแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้เข้ารับการประเมินและตรวจรักษาอย่างเหมะสม ในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ที่เข้าใจง่าย พันเอก รศ.นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ประธานจัดงานประชุมวิชาการประจำปีราชวิทยาลัย แพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 กล่าวว่า งานประชุมวิชาการของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย จัดเป็นประจำทุกปี ซึ่งวันนี้ตรงกับวันกระดูกพรุนโลก ทางราชวิทยาลัยฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันความรู้แก่ประชาชน”กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน:“กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน: ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รณรงค์ให้รู้จักป้องกัน” 계속 읽기

โรคลมพิษ: แพทย์ศิริราช แนะสิ่งที่ควรปฏิบัติหากรู้ว่าตนเองเป็น

“โรคลมพิษ” (Urticaria) ภัยใกล้ตัวที่เราทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นโรคที่ไม่มีความร้ายแรงมากนัก แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก ทั้งในด้านบุคลิกภาพ การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าตนเองนั้นแพ้อะไร อีกทั้งด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในยุคปัจจุบัน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของ“โรคลมพิษ” ได้เช่นกัน ดังนั้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมพิษอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่คนไทยไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับคุณหรือคนใกล้ชิดก็เป็นได้ ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เนื่องด้วยในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันโรคลมพิษโลก โรงพยาบาลศิริราชจึงได้สานต่อจัดกิจกรรม “ศิริราชห่วงใย ชวนใส่ใจโรคลมพิษ ครั้งที่ 4” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคลมพิษ ซึ่งถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย รวมไปถึงการเข้าถึงการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ในงานนี้ผู้ป่วยจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการรักษา ภายในงานได้มีกลุ่มผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคลากรทางแพทย์เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 100 คน และมีสถานีที่จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษ จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีที่ 1 – ยาที่ใช้การรักษาโรคลมพิษ สถานีที่ 2 – แบบประเมินอาการผู้ป่วยโรคลมพิษ สถานีที่”โรคลมพิษ:“โรคลมพิษ: แพทย์ศิริราช แนะสิ่งที่ควรปฏิบัติหากรู้ว่าตนเองเป็น” 계속 읽기

ไทยแชมป์อาเซียนอุบัติเหตุทางถนน ชวนสร้างวัฒนธรรมงานเลี้ยงใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์

สสส.จับมือ ภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเตือนสติ ฮาโลวีน หยุดผีซิ่ง ดื่ม-แล้วขับ สลดคนไทยยืนหนึ่งแชมป์อาเซียนสังเวยอุบัติเหตุบนท้องถนน วัยโจ๋เสี่ยงสุด ชวนสร้างวัฒนธรรมงานเลี้ยงใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์ ด้านพ่อผู้สูญเสียวอนเพิ่มโทษโชว์เฟอร์ดื่มขับ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ลานกิจกรรมเกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายเยาวชนพัฒนาคุณภาพชีวิต เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมรณรงค์รับวันฮาโลวีน ภายใต้แนวคิด Halloween 2019 NO AL Party #หยุดผีซิ่ง ภายในงานมีกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนตลอดทั้งวัน อาทิ แต่งกายเป็นผี กิจกรรมหยุดผีซิ่ง บูธรณรงค์ ส่วนช่วงเย็นมีเวทีการแสดงจากเครือข่ายเยาวชน อาทิ น้องมิกซ์ เดอะแรปเปอร์ ซิน เดอะวอยซ์ แดเนียล ไมค์ทองคำ วง PENTATONIC และ DS.RU Band น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส.กล่าวว่า การเฉลิมฉลองฮาโลวีนมักมาพร้อมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำไปสู่พฤติกรรมการดื่มแล้วขับ”ไทยแชมป์อาเซียนอุบัติเหตุทางถนน“ไทยแชมป์อาเซียนอุบัติเหตุทางถนน ชวนสร้างวัฒนธรรมงานเลี้ยงใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์” 계속 읽기