หัวใจสั่นพริ้ว

หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial fibrillation เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง คือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีทั้งเต้นช้าและเต้นเร็ว ส่วนใหญ่เต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง Atrial Fibrillation (AF) เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่งภาวะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่น ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว

หัวใจเต้นมีการเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ (ปกติหัวใจจะมีอัตราเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาทีและมีจังหวะที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ) ดังนั้นภาวะ AF จะส่งผลให้หัวใจเกิดการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ และบางครั้งก็อาจจะมีชีพจรที่เต้นเร็วมากจนก่อให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ไปจนถึงบางรายอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือภาวะน้ำท่วมปอดได้

สาเหตุ หัวใจสั่นพริ้ว

สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในห้องบนนั้น ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นเพราะความเสื่อมของระบบไฟฟ้าหัวใจ แต่สำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่านั้นมาจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่บางรายอาจเป็นมาแต่กำเนิดคือมีสิ่งกีดขวางเกิดขึ้นภายในจนทำให้คลื่นไฟฟ้าไม่สามารถเดินทางได้เป็นปกติ

อาการของหัวใจเต้นสั่นพริ้ว

ส่วนใหญ่มักมีอาการชัดเจน ทำให้ไม่สบาย ตกใจกลัว และมีอาการต่างๆ ร่วมกัน ดังนี้

ท่านควรปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการดังกล่าว

การรักษา หัวใจสั่นพริ้ว

  1. การทานยาเพื่อป้องกันลิ่มเลือดในห้องหัวใจ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ประเมินว่าจำเป็นหรือไม่ โดยดูจากโรคประจำตัวของผู้ป่วย ไปจนถึงอายุของตัวผู้ป่วย การทานยานี้มีความสำคัญมาก เพราะโรคอัมพฤกษ์-อัมพาตมีไม่กี่สาเหตุที่พอจะป้องกันได้ ดังนั้นแล้วหากได้รับคำแนะนำว่าควรทานยากลุ่มนี้ ตัวผู้ป่วยก็ควรจะทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต
  2. การแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ AF ซึ่งปัจจุบันการแก้ไขภาวะนี้จะมีวิธีการไม่กี่อย่าง แนวทางแรกคือการกินยาควบคุมหัวใจเต้นผิดจังหวะ(โดยเฉลี่ยจะได้ผลประมาณ 50%) และแนวทางที่สองคือการจี้ทำลายวงจรของ AF ซึ่งมีโอกาสหายจากภาวะ AF ได้มากขึ้น (อัตราการควบคุมโรค อยู่ที่ประมาณ 70%)
[Total: 0 Average: 0]