วัณโรคไต

วัณโรคไต ส่วนมากมักพบว่าเป็นข้างเดียวร้อยละ 80 แต่จากการตรวจศพพบว่าเป็นสองข้างร้อยละ 50 (สัมพันธ์ตันติวงศ์และคณะ 2525:119) คนที่เป็นวัณโรคของระบบนี้จะมีแหล่งต้นตออยู่ที่อื่นมาก่อน ซึ่งส่วนมากเป็นที่ปอดแต่อาจเป็นที่ต่อมนํ้าเหลือง ทางเดินอาหาร หรือกระดูก สำหรับในทางเดินปัสสาวะและทางเดินอวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะที่จะเริ่มเป็นวัณโรค เกือบทั้งหมดเป็นที่ไตก่อน

ส่วนมากพบในชายมากกว่าหญิง มักเป็นในคนวัยหนุ่มสาวร้อยละ 60 เกิดในคนอายุระหว่าง 20-40 ปี เกิดจากเชื้อวัณโรคพวก ไมโคแบคทีเรียม (Mycobacterium Tuberculosis) เชื่อว่าไตเป็นตำแหน่งแรกที่เชื้อวัณโรคเข้าทำให้เกิดโรค แล้วแพร่ไปสู่ทางเดินนํ้าปัสสาวะ และส่วนอื่นๆ ได้ทางกระแสเลือด

เมื่อเชื้อวัณโรคเข้ามาสู่ไตนั้น โดยปกติจะเข้ามาที่เนื้อไตชั้นนอก (Cortex) ก่อน เชื้อโรคจำนวนหนึ่งจะถูกทำลายในเนื้อเยื่อของไตในบริเวณนั้น ทำให้ไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้นเลย ทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นเพียงแผลเป็นเล็กๆ แต่ในรายที่เชื้อวัณโรคเข้ามาที่ไตรุนแรงหรือมีจำนวนมากพอ ก็จะทำให้เกิดโรคที่เนื้อไตได้

การดำเนินโรคของวัณโรคไต มักจะเป็นไปอย่างช้าๆ มีลักษณะทำลาย และซ่อมแซมตามกันไปแล้วแต่ความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคดีกว่า โรคจะทำลายไตให้เสียหมดได้อาจกินเวลานานถึง 15-20 ปี ดังนั้นในระยะแรกของโรคจึงมักไม่มีอาการจน กระทั่งโรคได้ลุกลามถึงกรวยไตแล้ว จึงอาจตรวจพบเม็ดเลือดขาวและเชื้อวัณโรคในนํ้าปัสสาวะได้ หลังจากนี้วัณโรคก็จะกระจายลงไปที่ท่อไต

อาการ วัณโรคไต

ถ้าพยาธิสภาพจากวัณโรคเป็นเฉพาะที่เนื้อไต จะไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ อาจเป็นเพียงมีอาการปวดเอว ปวดหลังด้านที่เป็น ปัญหาอื่นๆ ที่มักพบได้แก่ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีไข้ตํ่าๆ ที่หาสาเหตุไม่ได้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ถ้าโรคลุกลามไปถึงกระเพาะปัสสาวะอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะขัด ขุ่น หรือปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งอาจมีอาการปวดแบบบีบรัด (Colicky pain) เนื่องจากลิ่มเลือดหรือเศษเนื้อตายอุดอยู่ที่กรวยไตหรือท่อไต

การรักษา วัณโรคไต

โดยทั่วไป การรักษาวัณโรคของระบบทางเดินปัสสาวะก็เหมือนกับการรักษาวัณโรคปอด หรือที่อวัยวะอื่นๆ คือ

  1. การพักผ่อนและบำรุงรักษา ในระยะแรกๆ ต้องให้พักผ่อนอย่างจริงจังจนกว่าอาการจะดีขึ้น นํ้าหนักตัวเริ่มขึ้นจึงอาจให้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ได้ แต่ต้องทำอย่างจำกัด อย่างน้อยต้องนาน 18-24 เดือน ขึ้นอยู่กับผลของการบำบัดรักษา ข้อสำคัญคือต้องใช้อาหาร วิตามิน และแร่ธาตุบำรุงรักษาอย่างเพียงพอ
  2. การให้ยาต่อต้านเชื้อวัณโรค หลักในการให้ยาก็คือ ต้องให้ยา 2 หรือ 3 อย่างพร้อมกันไป และต้องให้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 12-24 เดือน ติดตามตรวจผู้ป่วยเป็นระยะจนกว่าจะไม่พบเชื้อวัณโรค ยาที่นิยมใช้มีดังนี้
  3. การผ่าตัด
    • ตัดไตออก (Nephrectomy) พิจารณาทำในกรณี ต่อไปนี้
      1. เมื่อไตไม่ทำงานเป็นเวลานานพอสมควร และตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะอยู่เสมอ
      2. ไตบวมน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก (Hydronephrosis)
      3. มีเลือดออกมากและควบคุมไม่ได้
      4. มีอาการแสดงว่ามีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันเกิดขึ้นอีก หาการติดเชื้อในแหล่งอื่นไม่ได้ เช่น มีอาการไข้ ผอม ซีด
      5. ผู้ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่สะดวกในการที่ต้องมารับการรักษานานๆ และขัดต่อการครองชีพอาจพิจารณาตัดไตทิ้งแต่เนิ่นๆ สำหรับกรณีที่เป็นวัณโรคไตข้างเดียว
    • ตัดไตออกครึ่งหนึ่ง (Heminephrectomy) การผ่าตัดไตออกเพียงครึ่งหนึ่ง ทำในรายที่มีโพรงวัณโรคจำกัดอยู่ที่ปลายใดปลายหนึ่ง ซึ่งเกิดเพราะมีการอุดกั้นที่กรวยไตน้อย

[Total: 1 Average: 5]