การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ

การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการฉีดสารทึบรังสี เข้าทางหลอดเลือดดำ (Intravenous [yelogram; IVP or Excretory urography) เป็นการตรวจที่จำเป็นต้องให้สารทึบรังสีทางหลดเลือดดำ สารทึบรังสีนี้จะถูกขับออกจากร่างกายทางไต เข้าสู่ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเอกซเรย์หลังฉีดสารทึบรังสี จะทำให้เห็นภาพของ ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะไม่ชัดเจน การถ่ายภาพจะต้องถ่ายที่ละรูปเป็นระยะ ๆหลังจากที่ฉีดยาแล้ว ส่วนใหญ่จะเสร็จในเวลาประมาณ 30 นาที หลังจากฉีดยา แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติอาจจะต้องมีการติดตามถ่ายภาพเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง หรือ 3 ชั่วโมง หรือ 6 ชั่วโมง แล้วแต่รังสีแพทย์จะเห็นสมควร

วัตถุประสงค์

1.เพื่อตรวจดูโครงสร้างและการทำงานของไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ
2.เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยแยกโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดจากหลอดเลือดที่ไต

การเตรียมผู้ป่วย

  1. บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ช่วยประเมินโครงสร้างและหน้าที่ของทางเดินปัสสาวะ
  2. รับประทานยาระบาย (น้ำมันระหุ่ง 30 มิลลิลตร) ที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ รับประทานให้หมดเวลา 20.00 น. คืนวันก่อนตรวจ โดยอาจผสมน้ำหวานหรือมะนาว เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติและรับประทานง่ายขึ้น
  3. รับประทานอาหารอ่อนที่ไม่มีกาก เช่นโจ๊ก ข้าวต้ม ก่อนวันตรวจ 1 วัน
  4. งดน้ำ  อาหาร  และเครื่องดื่ม  ตั้งแต่หลังเที่ยงคืน  ของคืนวันก่อนตรวจหรือ 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  5. การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที (ยกเว้นรายที่ผิดปกติ)
  6. หากผู้ป่วยแพ้อาหารทะเล ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย
  7. สำหรับผู้ป่วยนอก ควรมีญาติมาพร้อมกับผู้ป่วย
  8. ให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาให้เรียบร้อยก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.ให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงเอกซเรย์
2.ถ่ายภาพรังสี ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ บริเวณที่ผิดปกติในภาพจะไม่เห็นสารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไป (ปริมาณปรับเปลี่ยนไปตามอายุ) และผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสัญญาณของอาการ แพ้สารทึบรังสี เช่น หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจไม่สะดวก เป็นต้น
3.สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปจะช่วยให้มองเห็นเซลล์เนื้อไต 1 นาทีหลังฉีด  หากทำ tomography หรือการสร้างภาพโดยการตัดวัตถุออกเป็นส่วน ๆ อาจเห็นเป็นช่องว่าง ๆ ที่ไม่ติดสี เช่น ถุงน้ำ เนื้องอก
4.ถ่านภาพเป็นระยะ ๆ  อย่างสม่ำเสมอคือ 5, 10 และ 15  นาที  หรือ 20 นาทีหลังฉีด
5.เห็นท่อไตหลังจาก 5 นาที
6.หลังจาก 10  นาที จะถ่ายภาพสารรังสีผ่านไปยังส่วนล่างของทางเดินปัสสาวะ ถ่ายภาพอีกภาพหนึ่งบริเวณครึ่งล่างของท่อไตทั้งสองข้าง แล้วถ่ายภาพ กระเพาะปัสสาวะอีกภาพเป็นภาพสุดท้าย
7.เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจ ให้ผู้ป่วยปัสสาวะ และถ่ายภาพอีกภาพหนึ่งทันทีเพื่อดูว่ามีปัสสาวะหลงเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไตเท่าไร
8.หากมีรอยฟกช้ำบริเวณที่แดให้ประคบด้วยน้ำอุ่น
9.สังเกตปฏิกิริยาของสารรังสีที่เหลือค้างอยู่
10.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง หรือให้ดื่มน้ำเพื่อขับเอาสารทึบรังสี รับประทานยาตามแผนการรักษา

ข้อควรระวัง

  • หากให้ยานำก่อนตรวจเป็นคอร์คิโคสเยรอยด์ (corticosteroids) อาจต้องระวังสำหรับผู้ป่วยหอบหือรุนแรง หรือมีประวัติแพ้สารทึบรังสี
  • การตรวจนี้ห้ามทำในผู้ป่วยที่มีหน้าที่ไตผิดปกติ  เช่น มีค่า Creatinine และ Blood urea nitrogen สูง รวมทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุที่ขาดน้ำ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการฉีดสารทึบรังสี  เช่น สตรีมีครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารที่มีผลต่อการทำงานของไต  เช่น NSAIDS ยาขับปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสีในระดับปานกลางถึงรุนแรง เป็นต้น

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ไม่พบรอยโรคใด ๆ  ที่ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ มองเห็นสารทึบรังสีในเนื้อไตทั้งสองข้าง และในอุ้งเชิงกรานเป็นปกติหลังจากถ่ายปัสสาวะพบว่ามีปัสสาวะค้างอยู่เล็กน้อย ไม่พบเยื่อบุภายในทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติใด ๆ

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
พบการขับปัสสาวะผิดปกติ  รวมทั้งนิ่วในไตและท่อไต  ขนาด รูปร่าง  หรือโครงสร้างของไต ท่อไต หรือกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เช่น โรคถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ร่วมกับผนังกล้ามเนื้อไตหนาขึ้น (Renal hypertrophy) พบรอยโรค (space  occupying lesion) กรวยไตอักเสบ (Pyelonephrosis) วัณโรคไต (Renal tuberculosis) ไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) และความดันโลหิตสูงเนื่องจากหลอดเลือด ทีไตตีบแคบ (Renovascular hypertension)

[Total: 1 Average: 5]