โรคไม่พูดบางสถานการณ์

ไม่พูดบางสถานการณ์ (Selective Mutism) คือ การที่ไม่ยอมพูดในสถานการณ์บางอย่าง ทั้งๆที่สามารถพูดได้ปกติในสถานการณ์อื่น แต่ถึงแม้ว่าจะไม่พูด ก็มักจะมีการสื่อสารโดยวิธีอื่น เช่น ภาษาท่าทาง วาดรูป พยักหน้า ส่ายหัว เป็นต้น

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่เด็กกลุ่มนี้ไม่พูดเพราะโกรธที่ถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ เมื่อบังคับให้พูด ก็ดูเหมือนเด็กยิ่งไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งๆที่การไม่พูด ก็เป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งที่เด็กใช้เพื่อลดความเขินอายและความวิตกกังวลในการเข้าสังคม

พบค่อนข้างน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้มารับบริการคลินิกสุขภาพจิต) พบในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย และพบว่าส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่า มักเริ่มมีอาการในช่วงที่เข้าโรงเรียน พบบ่อยช่วงอายุ 3-8 ปี และถ้าอายุ 12 ปีขึ้นไป แล้วยังมีอาการอยู่เหมือนเดิม มักมีการพยากรณ์โรคไม่ค่อยดีนัก

สาเหตุ โรคไม่พูดบางสถานการณ์

มีความเชื่อใน 2 แนวทาง คือ มองว่าเป็นปัญหาความล่าช้าของพัฒนาการ หรือเป็นปัญหาด้านจิตใจ ในเรื่องของความวิตกกังวล ซึ่งมีลักษณะคล้ายอาการกลัวกิจกรรมทางสังคม (Social Phobia) ในผู้ใหญ่

ปัจจัยทางด้านร่างกาย และระบบประสาท จากผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาพัฒนาการร่วมด้วย และตรวจพบมีคลื่นไฟฟ้าสมองแบบที่ยังไม่พัฒนาตามวัย (Electroencephalogram Immaturity)

ส่วนปัจจัยทางด้านจิตสังคม มีความเกี่ยวข้องด้วย เช่น

  • พบว่ามีปัญหาทางจิตเวชในครอบครัวสูงขึ้น
  • มีพลวัตครอบครัวที่ผิดปกติ
  • ครอบครัวแตกแยก
  • ต้องแยกจากครอบครัวหรือสิ่งแวดล้อมเดิม
  • ถูกทำร้ายร่างกาย โดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณปาก

อาการ โรคไม่พูดบางสถานการณ์

อาการที่พบส่วนใหญ่คือ ไม่ยอมพูดเลยที่โรงเรียน (โรคกลัวโรงเรียน) หรือไม่ยอมพูดเมื่ออยู่นอกบ้าน โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ คนที่ไม่คุ้นเคย แต่พออยู่ที่บ้านสามารถพูดกับพี่น้อง และพ่อแม่ได้ปกติ พบว่าเด็กมักมีลักษณะขี้อาย กลัวทำเรื่องน่าอายต่อหน้าคนอื่น มีพฤติกรรมเก็บกด (Behavioral Inhibition) อาจมีความบกพร่องในการสื่อสารอื่นๆร่วมด้วย เช่น พูดติดอ่าง พูดไม่ชัด ปัญหาการเข้าใจภาษา

ประเภทของ โรคไม่พูดบางสถานการณ์

selective mutism มี 4 ประเภท ได้แก่ 

  1. transient mutism (ไม่พูดชั่วคราว) คือ เด็กไม่พูดในสัปดาห์แรกๆ (หรือเดือนแรกๆ) เมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ โรงเรียน แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆลดลง และหายไปเองในที่สุด
  2. migrant children (เด็กย้ายที่อยู่อาศัยใหม่) คือ เด็กที่ใช้ 2 ภาษา (bilingual children) มักจะขาดความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆลดลงเมื่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กย้ายที่อยู่อาศัยใหม่บางคน อาการอาจจะพัฒนาไปเป็น persistent mutism (ไม่พูดอย่างถาวร)ได้ ด้วยอัตราที่อาจจะสูงถึง 7.9 ต่อ 1000 ซึ่งสูงกว่าในคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เกือบ 8 เท่าตัว ไม่ได้ใส่ใจในอุบัติการณ์ข้างต้นนัก แต่กังวลว่าในเด็กที่พัฒนามาเป็น persistent mutism (ไม่พูดอย่างถาวร) อาจจะปลีกตัวออกจากสังคมเพราะเครียดและจิตใจบอบช้ำ
  3. secondary to other conditions (เป็นอาการรองลงมา ซึ่งเป็นร่วมกับกลุ่มอาการอื่น) คือ เด็ก selective mutism ร้อยละ 20 – 30 จะเป็นร่วมกับกลุ่มอาการอื่น เช่น Asperger syndrome การหลีกเลี่ยงการพูด ทำให้เด็กรู้ตัวว่าตนเองมีปัญหาในการเข้าสังคม
  4. persistent mutism (ไม่พูดอย่างถาวร) คือ เด็กกลุ่มนี้ มักไม่พูดเลยอย่างน้อย 3 ปี ในเด็กอายุ 7 ปี อัตราอยู่ที่ประมาณ 0.8 ต่อ 1000 และจะลดลง ในเด็กที่อายุมากขึ้น แม้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะพบได้น้อย เมื่อเทียบกับเด็กกลุ่ม transient mutism (ไม่พูดชั่วคราว) แต่เด็กกลุ่มนี้มักจะวิตกกังวลมากกว่าปกติอยู่ตลอดเวลา (มากกว่าปกติเมื่อต้องเข้าสังคม) และมักจะไม่ยอมออกห่างจากพ่อแม่เลย แต่อย่างไรก็ตาม เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีผลการเรียนที่ดี แม้ว่าครูมักจะตีตราไปก่อนว่าเขามีความสามารถต่ำ

การรักษา โรคไม่พูดบางสถานการณ์

  • แนะนำให้เด็กมารับการประเมิน
  • เลือกงานให้เหมาะสมกับเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการให้รางวัล/การลงโทษ
  • พาเด็กออกจากจุดสนใจของผู้คน
  • ใช้การสนทนาทางอ้อม
  • อนุญาตให้เด็กรักษาภาษาท้องถิ่นของตัวเองได้
  • ให้เด็กลองคิดวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
  • การให้คำปรึกษา

cr. happyhomeclinic.com, rajanukul.go.th


[Total: 1 Average: 4]