ภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (อังกฤษ: Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการที่ภายในของหลอดเลือดแดงแคบลงเนื่องจากมีการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ (อังกฤษ: plaque) ในขั้นต้นมักจะไม่มีอาการเมื่อรุนแรงขึ้นอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือปัญหาเกี่ยวกับไต ขึ้นอยู่กับหลอดเลือดแดงที่ได้รับผลกระทบ อาการที่เกิดขึ้นนี้มักไม่ปรากฏจนกว่าจะถึงวัยกลางคน

ภาวะหลอดเลือดแข็งมักจะเริ่มต้นเมื่อเป็นหนุ่มสาวและกำเริบขึ้นตามอายุ เกือบทุกคนจะได้รับผลกระทบเมื่ออายุ 65 ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการในประเทศพัฒนาแล้ว ภาวะหลอดเลือดแข็งมีการอธิบายเป็นครั้งแรกว้ใน 1575 อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นกับคนมาแล้วมากกว่า 5,000 ปีก่อน

สาเหตุ ภาวะหลอดเลือดแข็ง

  1. การอุดตันหรือตีบแคบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
  2. เกิดการสร้างคราบตะกอนไขมันขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ
  3. ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจลดลงหรือเลือดไปเลี้ยงไม่ได้
  4. ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้

อาการ ภาวะหลอดเลือดแข็ง

เนื่องจากผนังหลอดเลือดไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยง โรคหลอดเลือดแดงตีบแข็งจึงไม่มีอาการอะไร อาการที่แสดงเป็นอาการของอวัยวะสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากหลอดเลือดตีบ ตัน หรือแตก

อาการต่างๆ ของท่านที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบแข็งนั้น ย่อมขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือด หรือหลอดเลือดที่เป็นปัญหา ซึ่งเส้นเลือดแดงส่วนใหญ่จะมีขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยในระยะแรกๆของโรคเส้นเลือดแข็งตัวขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ และอาการจะปรากฏขึ้นเมื่อ โรคได้เปลี่ยนแปลงจนถึงขั้นเกิดตีบแข็งขึ้นแล้ว

ถ้าเส้นเลือดแดงตีบต้นนั้นเกิดขึ้นที่หลองเลือดแดงของสมอง จะทำให้ท่านผู้นั้นมีอาการจากน้อยไม่หามาก มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ, เป็นอัมพาตด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ,มีอาการเลอะเลือน, มีปัญหาด้านสายตา, เขาอาจหมดสติ, หายใจไม่สะดวก...หอบทันทีทันใด, ปวดศีรษะอย่างรุนแรง

การป้องกัน ภาวะหลอดเลือดแข็ง

การป้องกันโดยปกติจะทำโดยกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, รักษาน้ำหนักตัวให้ปกติ การรักษาโรคอาจรวมถึงการใช้ยาสำหรับลดคอเลสเตอรอลเช่น statins ยาความดันโลหิตสูง หรือยาที่ลดการแข็งตัวเช่น แอสไพริน ในบางขั้นตอนอาจจะต้องดำเนินการเช่น การสวนสายเข้าหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, หรือการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง

การรักษา ภาวะหลอดเลือดแข็ง

การรักษาโรคนี้มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการของโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดไขมันในหลอดเลือดแดง ขยายหลอดเลือดแดงที่ได้รับผลกระทบจากไขมัน และป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจาก Atherosclerosis ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

การใช้ยา

  • ยาลดไขมัน เช่น ยาในกลุ่มสแตติน ซึ่งจะช่วยลดการก่อตัวของไขมันชนิดที่ไม่ดีในหลอดเลือดแดง และช่วยกระตุ้นให้คอเลสเตอรอลชนิดที่ดีให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยาแอสไพริน เพื่อลดการก่อตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดแดงที่อาจเป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตันในอนาคต
  • ยาสลายลิ่มเลือด ในกรณีที่ลิ่มเลือดเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดง
  • ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เช่น ยาอะซีบูโทลอล ยาอะทีโนลอล หรือยาโพรพราโนลอล ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจขาดเลือดและหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภท
  • ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ เช่น ยาเบนาซีพริล ยาแคปโตพริล หรือยาอีนาลาพริล ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต เป็นประโยชน์ต่อหลอดเลือดหัวใจ และลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจขาดเลือด
  • ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เช่น ยาแอมโลดิปีน ยาดิลไทอะเซม หรือยาฟีโลดิปีน เพื่อป้องกันแคลเซียมเข้าสู่เซลล์หัวใจและผนังหลอดเลือด ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง และอาจใช้บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ด้วยเช่นกัน
  • ยาขับปัสสาวะ เช่น ยาคลอโรไทอะไซด์ ยาบูมีทาไนด์ หรือยาอะมิโลไรด์ เพื่อกำจัดโซเดียมและของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ความดันของผนังหลอดเลือดลดลง

การผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การผ่าตัดขยายหลอดเลือด โดยใช้ท่อ บอลลูน หรือลวดตาข่าย เพื่อขยายหลอดเลือดที่เกิดการตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ และบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะหัวใจขาดเลือด
  • การทำบายพาส เป็นการผ่าตัดเพื่อทำทางเบี่ยงหลอดเลือดที่แข็งหรือเกิดการอุดตัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก และป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด
  • การผ่าตัดเปิดหลอดเลือด เพื่อกำจัดตะกรันไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดที่คอ ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่สมองได้ตามปกติ และช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วย

การดูแลตนเอง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองมากขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เลิกสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]