ไอเรื้อรัง

ไอเรื้อรัง คือ การไอที่มีระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ภาวะไอเรื้อรังมีสาเหตุหลากหลาย อาจเกิดจากภาวะติดเชื้อ หรือภาวะที่ไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ เช่น ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ หอบหืด บางกรณีภาวะไอเรื้อรังอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เช่น กรดไหลย้อน ภาวะหัวใจวาย ดังนั้นการหาสาเหตุของไอเรื้อรังอาจไม่ได้คำตอบในการพบแพทย์ครั้งแรก การวางแผนการวินิจฉัยและติดตามการรักษาจึงต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

สาเหตุ ไอเรื้อรัง

ถ้าไม่นับผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ซึ่งมักจะมีอาการไอเรื้อรัง เนื่องจากมีหลอดลมอักเสบเรื้อรังแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการไอที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการไอเรื้อรังหลังเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยพวกนี้อาจมีอาการไอเรื้อรังได้ โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และมีการใช้เสียงมากในระยะเริ่มแรกของโรค ทำให้มีอาการหลอดลมอักเสบตามมา นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า หลังการติดเชื้อไวรัสอาจทำให้หลอดลมมีความไวต่อการถูกกระตุ้น (Bronchial Hyperresponsiveness หรือ BHR) แล้วจะมีการไอเกิดขึ้น ซึ่งอาจกินเวลายาวนานถึง 3 – 4 สัปดาห์ได้โดยเฉพาะถ้าพักผ่อนไม่พอหรือใช้เสียงมากอยู่

ไอเรื้อรัง เพราะเป็นโรคเหล่านี้!

  • วัณโรคปอด – ในระยะแรกอาจจะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น จะมีอาการไอเรื้อรัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางรายอาจไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย
  • มะเร็งปอด – จะมีอาการไอเรื้อรังเมื่อโรคเป็นมากขึ้น บางรายอาจไอออกมาเป็นเลือดสดๆ บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย
  • ถุงลมโป่งพอง – มักพบในผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัด หรืออยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่จัดมานาน มักไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง หอบเหนื่อยง่าย มีหายใจเสียงดัง
  • โรคหอบหืด – มักมีอาการไอ โดยเฉพาะเวลากลางคืนเมื่ออากาศเย็น เหนื่อยง่ายและหายใจมีเสียงวี๊ด แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่เป็นโรคหอบหืดชนิดที่ไม่รุนแรง และไม่เคยมีอาการหืดจับหรือเหนื่อยง่ายเลย มีเพียงไอเรื้อรังเท่านั้น
  • โรคภูมิแพ้อากาศ – ผู้ป่วยมักจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล และมี น้ำมูกไหลลงคอ เวลานอน ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น
  • ไซนัสอักเสบ – มัก เป็นหวัดคัดจมูก หรือโรคภูมิแพ้อากาศนำมาก่อน บางรายอาการหวัดอาจดีขึ้นในช่วงแรก แล้วทรุดลงในภายหลัง มักไอเวลากลางคืนเพราะ น้ำมูกไหลลงคอ
  • กรดไหลย้อน – ผู้ป่วยที่มี กรดในกระเพาะ และกรดไหลย้อนกลับเข้ามาในหลอดอาหาร หรือ GERD อาจมีอาการไอเรื้อรังได้ มักไอแห้งๆ โดยเฉพาะหลังอาหาร หรือเวลาล้มตัวลงนอน อาจมีอาการแสบร้อนในอก หรือเรอเปรี้ยว ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  • ภาวะทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น – มักพบต่อเนื่องจากการเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ คือ เป็นหวัดคัดจมูก และหายแล้ว แต่ยังมีอาการไออยู่ มักจะไอมากในช่วงกลางคืน หรือเวลาที่อากาศเย็น ๆ ถูกลม เป็นต้น
  • ภาวะทางจิตใจมีปัญหา – มีคนเป็นจำนวนมากที่ไอ หรือกระแอม โดยที่ร่างกายต่างก็ปกติดี ไม่มีโรคใด ๆ อาการนี้เรียกกันว่า Psychogenic หรือ Habit Cough หรือก็คือ การไอจนติดเป็นนิสัย เมื่อเข้ารับการวินิจฉัย มักไม่พบว่ามีโรคที่เป็นสาเหตุของอาการไอ และมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาการไอเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากเหตุผลทางจิตใจ

อาการ ไอเรื้อรัง

อาการไอเรื้อรัง อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ นอกเหนือจากอาการไอแล้ว อาจมีอาการต่าง ๆ ได้แก่

การรักษา ไอเรื้อรัง

การรักษาอาการไอเรื้อรังที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอ และรักษาตามสาเหตุนั้นๆ นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวในขณะที่มีอาการไออย่างถูกต้อง ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น หรือไม่แย่ลง โดยสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติในขณะที่มีอาการไอ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ไอมากขึ้น เช่น สารก่ออาการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
  • ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอขณะนอน เช่น นอนห่มผ้า
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่
  • ถ้าหากอาการไอมีไม่มาก อาจให้การรักษาเบื้องต้นโดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการไอ กรณีที่มีเสมหะร่วมด้วย ควรได้รับยาละลายเสมหะ เพื่อให้เสมหะที่เหนียวข้นมากขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น แต่หากผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ
[Total: 0 Average: 0]